วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซสอนบทเรียนให้เราหลายประการ
ที่สำคัญคือ
เมื่อใกล้เส้นตายวันชำระหนี้เข้ามาทุกที
เราก็ได้เห็นคนกรีซเข้าแถวเรียงคิวยาวขึ้นทุกทีเช่นกัน
ทั้งแถวที่ปั๊มน้ำมัน
ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต
และที่สำคัญและน่าหวาดเสียวคือ
แถวที่เครื่องเอทีเอ็มและเคาเตอร์ธนาคาร
แม้ว่าชาวกรีซที่ฉลาดๆ
และมีวิสัยทัศน์
หรือไม่ก็ได้รับข้อมูลภายใน
จะทยอยถอนเงินออกจากธนาคารมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว
ทว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
ที่ไม่ได้มีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินอย่างเพียงพอ
แต่เชื่อถือในคำพูดของนักการเมืองและคำมั่นของรัฐบาล
ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
พวกเขายังคงฝากเงินออมส่วนใหญ่ของพวกเขาไว้กับธนาคาร
แต่เมื่อข่าวลือเริ่มแพร่สะพัดว่าเงินออมของพวกเขาจะมีค่าลดลงมาก
หากรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้จะไม่ต่อเวลาให้อีก
โดยรัฐบาลอาจจะต้องประกาศเลิกใช้เงินยูโร
แล้วกลับมาพิมพ์เงินแดรกม่าใช้เหมือนเดิม
ซึ่งจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
และเงินยูโรที่พวกเขาถืออยู่ในปัจจุบันนั้น
คงจะแลกเงินแดรกม่าได้น้อยลงมาก
เพราะรัฐบาลจะต้องบังคับให้ทุกคนแลกเงินในอัตราที่แย่ลง
หรือถ้าเป็นอัตราที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ตลาดมืดก็ย่อมจะเกิดขึ้นทั่วไป
อีกทั้งวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น
อาจทำให้สถาบันการเงินล้มครืนลงด้วย
ฯลฯ...นับว่าเป็นความไม่แน่นอนอย่างยิ่ง
ดังนั้น
พวกเขาจึงเริ่มเฮโลกันไปถอนเงิน
อุปมาดั่งเวลาไฟไหม้โรงภาพยนตร์
คนที่เริ่มได้กลิ่นควันไฟบางคนที่ฉลาดและตัดสินใจไว
ก็จะเริ่มลุกขึ้นแล้วเดินช้าๆ
ไปที่ประตู แล้วก็ค่อยๆ
มุดออกไป คนส่วนใหญ่ย่อมไม่รู้สึกตกใจ
เพราะดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แต่ถ้าคนสามคนเกิดวิ่งกรูไปที่ประตูพร้อมกัน
คนส่วนใหญ่ในนั้นย่อมตกใจ
แล้วสถานการณ์ Panic
ก็จะตามมา
ทีนี้
เพื่อไม่ให้ผู้คนเหยีบกันตาย
เพราะประตูย่อมเล็กและมีไม่พอให้คนออกไปพร้อมกัน
เจ้าของโรงหนังย่อมต้องยื่นมือเข้ามาจัดระเบียบ
ให้คนต่อแถวกันออกไปอย่างเท่าที่จะทำได้
ถ้าคนในนั้นยอมเชื่อฟัง
ลองนึกถึงหัวอกของคนที่อยู่ท้ายๆ
แถว
รัฐบาลกรีกเองก็ตัดสินใจเล่นบทเดียวกับเจ้าของโรงหนัง
โดยประกาศใช้มาตรการจำกัดการถอนเงิน
ให้ถอนได้เพียงวันละ 60
ยูโรต่อคนต่อวัน
(ประมาณ
2,000 บาท)
และใช้มาตรการ
Capital Control
สำทับอีกชั้นหนึ่ง
คือไม่อนุญาตให้เคลื่นย้ายเงินออกนอกประเทศ
แม้กระนั้น
สถานการณ์ Panic
ก็ใช่ว่าจะเอาอยู่
ร้านค้า
ร้านอาหาร
และปั๊มน้ำมันหลายแห่งเริ่มปฏิเสธลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิต
เพราะเกรงว่าธนาคารจะเจ๊งแล้วพวกเขาขึ้นเงินไม่ได้
ลูกหนี้เริ่มผิดนัดชำระหนี้
และพ่อค้าไม่มีเงินจ่ายซัพพลายเออร์
เจ้าของภัตราคารจำนวนมากออกมาให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ว่า
พวกเขาอาจต้องปลดพนักงานออก
เพราะพวกเขาไม่มีเงินสดไปจ่ายซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหารให้ลูกค้า
ส่วนลูกค้าก็ไม่สามารถใช้บัตรเครดิตได้
เพราะถูกจำกัดวงเงินเช่นกัน
ในขณะที่ภัตราคารเองก็งดรับบัตรเครดิตเพราะกลัวธนาคารผู้ออกบัตรนั้นๆ
ล้มละลาย ทุกอย่างต้องซื้อขายเป็นเงินสด
แต่ปัญหาคือลูกค้าเองก็ไม่มีเงินสดจะจับจ่ายเช่นกัน
“ผมมีเงิน
ไม่ใช่ไม่มีเงิน แต่เงินผมอยู่ในธนาคาร
ซึ่งเบิกออกมาไม่ได้ ทั้งๆ
ที่มันเป็นเงินของผมเอง"
บางคนกล่าวเชิงอึดอัดกับมาตราการของรัฐบาลอันนี้
แน่นอน
เงินในมือกับเงินที่อยู่ในธนาคารย่อมมีค่าแตกต่างกันมากในสถานการณ์วิกฤติแบบนี้
แม้เงินในมือเอง
ก็ใช่ว่าจะมั่นคง
เพราะไม่รู้ว่ามันจะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษที่มีค่าน้อยลงหรือไม่มีค่าเมื่อไหร่ก็ได้
หากมีการเปลี่ยนสกุลเงิน
หรือวิกฤติการณ์ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นจลาจลและโกลาหลจนกฎเกณฑ์เดิมของสังคมเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ
หนังสือพิมพ์และทีวีช่วงนี้ที่ลงข่าวกรีซ
ล้วนเสนอภาพที่ผู้คนเข้าแถวยาวเหยียดหน้าธนาคาร
หรือเครื่องเอทีเอ็ม ปั๊มน้ำมัน
หรือซูปเปอร์มาร์เก็ต
เว็บไซต์แห่งหนึ่งนำเสนอภาพของชายวัยเกษียณที่ทรุดลงนั่งร้องไห้อย่างผิดหวังตรงหน้าธนาคารที่เขาไม่สามารถเข้าไปเบิกเงินของตัวเองที่สู้อุตส่าห์ออมมาทั้งชีวิตได้
เอทีเอ็มจำนวนมาก
เงินเกลี้ยงตู้
อาหารและของใช้จำเป็นถูกกว้านซื้อ
ปั๊มไม่มีน้ำมันให้เติม
ประธานหอการค้าฯ
(Chamber of
Commerce) ยังออกมาแสดงความกังวลให้เห็นเลยว่า
"soon, even
basic goods will not be available”
เตรียมตัวรับวันสิ้นโลก
บทเรียนจากกรีซคงทำให้หลายคนเริ่มตระหนักว่า
ชีวิตคนเรานั้น
ควรเตรียมการณ์เพื่อรับมือกับวันคืนแบบนี้ไว้บ้าง
สมัยเด็กๆ
ผมชอบนิยายกำลังภายในเรื่อง
"เพชรฆาตดาวตก"
มาก
(ต่อมารู้จักกันดีในนาม
"ดาวตก
ผีเสื้อ กระบี่")
จำได้ว่า
ตัวเองอ่านซ้ำถึง 4
เที่ยวในรอบไม่กี่ปี
นอกจากตื่นเต้นเร้าใจไปกับการวางพล็อตที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนทว่าค่อยๆ
เผยโฉมออกมาอย่างชาญฉลาดของโกวเล้งผู้เขียนแล้ว
ผมยังประทับใจกับบุคคลิกของตัวละครเอก
เจ้าพ่อผู้ชาญฉลาด คิดละเอียดรอบคอบ สุขุม และมองการณ์ไกล อย่าง
"เล่าแป๊ะ"
ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ก็ต้องบอกว่า
เล่าแป๊ะ นั้นเป็นพวก “Preppers”
นั่นเอง
เล่าแป๊ะเป็นคนทำธุรกิจหลากหลายและมีศัตรูมาก
เขาจึงเตรียมทางหนีทีไล่ไว้อย่างลับๆ
ว่าถ้าวันหนึ่งเกิดเหตุวิกฤติกับตัว
จะซุกซ่อนตัวอย่างไรให้อยู่รอด
จะต้องเตรียมทรัพยากรและสินทรัพย์แบบไหนไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
สำหรับการฟื้นฟูกำลังและการโต้กลับ
เล่าแป๊ะเตรียมเส้นทางลับไว้หนีเมื่อภัยมา
เตรียมห้องใต้ดินพร้อมอาหาร
นำ้ และสิ่งของจำเป็นไว้
เพื่อการดำรงชีพในระยะยาวๆ
เก็บแก้วแหวนเงินทองแบบซอยออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
แบ่งเตรียมไว้จับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็นแทนเงินสดหรือตั๋วเงิน
(อุปมาราวกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เมื่อเราไม่สามารถใช้เอทีเอ็ม
สมุดเงินฝาก และบัตรเครดิตได้สะดวก)
และที่สำคัญ
เขาได้เก็บความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของครอบครัวไว้ในรูปสินทรัพย์ที่เขาคิดว่าสำคัญที่สุด
แต่คนนอกยากจะรู้ นั่นคือ
"โฉนดที่ดิน"
จำนวนมาก
โดยเก็บซ่อนไว้ในที่ลับที่สุด
ความคิดแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับแนวทางของพวก
“Preppers”
ในปัจจุบัน
พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากพอสมควร
(และมากขึ้นเรื่อยๆ)
ที่เชื่อว่าวันหนึ่งโลกจะต้องเกิดวิกฤติขั้นร้ายแรง
ไม่ว่าจะเป็นจากภัยธรรมชาติ
เช่นน้ำท่วมโลก แผ่นดินไหวรุนแรง
คลื่นความร้อนจากลมสุริยะ
(Solar Wind)
หรือวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินระดับโลก
ที่จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานทั้งหลายใช้การณ์ไม่ได้
โทรศัพท์
อินเทอร์เน็ต ไฟฟ้า น้ำประปา
และระบบการเงิน ล้วนล่มสลาย
เงินกลายเป็นกระดาษไร้ค่า
บัตรเครดิตกลายเป็นเพียงแค่บัตรพลาสติกธรรมดา
สมุดเงินฝากกลายเป็นสมุดที่ใส่ตัวเลขหลายหลักไว้เพื่อดูเล่น
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตต่อไปไม่ได้
เกิดการจราจลในเมือง
โจรผู้ร้ายชุกชุม คนดีกลายเป็นคนร้าย
เข้าปล้นสดมภ์
เพื่อขนเอาอาหารและของใช้จำเป็นสำหรับดำรงชีพ
โลกจะกลับไปสู่จุดที่ต้องเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง
โดยจะซื้อขายแลกเปลี่ยนกันด้วยวิธีเอาของแลกของหรือ
Barter System
คนเหล่านี้ล้วนมีแผนทางหนีทีไล่อย่างเป็นระบบ
และสร้าง "รังซ่อนตัว"
ของตัวเองไว้
เหมือนกับเล่าแป๊ะ
บางกลุ่มเจาะถ้ำไว้บนภูเขาสูงทางภาคเหนือ
บางกลุ่มหาเครือข่ายหมู่บ้านชาวเขาทางเขาค้อไว้เผื่อเหนียว
(โดยจ่ายเงินจ่ายทองช่วยเหลือความเป็นอยู่ของชาวเขาเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ)
เพื่อเตรียมว่าถ้าเกิดวิกฤติการณ์หรือภัยพิบัติขั้นร้ายแรง
ก็จะอพยพครอบครัวไปอยู่กับชาวเขาเหล่านั้น
แต่ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อฟาร์มไว้ต่างจังหวัด
ในพื้นที่ๆ ตัวเองคิดว่าปลอดภัย
เผื่อไว้ว่าต้องเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ในยามที่ระบบเศรษฐกิจล่มสลาย
บางกลุ่มก็นิยมหาที่ปลอดภัยในเมืองไว้เป็นทำนอง
Safe House
อย่างห้องใต้ดินบ้านตัวเอง
หรือในสวนหลังบ้าน
หรือหาซื้อบ้านธรรมดาที่ไม่มีใครสังเกตุ
แล้วสร้างห้องนริภัยสำหรับการณ์นี้
ปกปิดทางเข้าออกไว้อย่างเป็นความลับ
สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมไว้ใน
Safe House
หนีไม่พ้นต้องมีข้าวสาร
อาหารแห้ง เครื่องปรุงรสและ
Herb ต่างๆ
น้ำดื่ม น้ำใช้
(ส่วนใหญ่จะใช้ภาชนะที่เรียกว่า
Waterbob)
ยารักษาโรคและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
ถังอ๊อกซิเจน หน้ากาก แก๊ซหุงต้ม
ฟืน เทปกาวอย่างเหนียว
ถุงดำใส่ขยะ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย
แบตเตอรี่สำรอง ผ้าพลาสติก
และกระสอบทราย
(ไว้สำหรับทำเป็นส้วมในยามที่จำเป็นจริงๆ)
อุปกรณ์ช่าง
อาหารกระป๋อง น้ำตาล ถั่วกระป๋อง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส้กรอก
เตาสนาม เป้สนาม พลั่วสนาม
เต๊นท์ ฯลฯ
นอกจากนั้นก็ต้องมีอุปกรณ์สันทนาการและเอ็นเทอร์เทนเม้นต์ทั้งหลายไว้แก้เบื่อด้วย
นอกจากนั้นก็ต้องมีอุปกรณ์สันทนาการและเอ็นเทอร์เทนเม้นต์ทั้งหลายไว้แก้เบื่อด้วย
บางคนก็จะตุนน้ำมันไว้ด้วย
เพื่อเอาไว้หนีออกไปต่างจังหวัดในยามที่ต้องเคลื่อนย้าย
รถของพวกเขาทุกคันล้วนเติมน้ำมันไว้เต็มถังอยู่ตลอดเวลา
Safe
House ของพวกเขาอาจมีแผงโซล่าร์ติดตั้งไว้ที่ใดที่หนึ่ง
เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดย่อมใช้เอง
เมื่อการไฟฟ้าหยุดจ่ายไฟ
และที่ขาดไม่ได้ก็คืออาวุธสำหรับป้องกันตัว
ไล่ไปตั้งแต่มีดสนาม หน้าไม้
ไปจนถึงปืนสั้น ปืนยาว
และปืนกล พร้อมกระสุน ดีไม่ดี
บางคนถึงกับมีระเบิดด้วย
ทั้งระเบิดควัน ลูกเกลี้ยง
และน้อยหน่า
ทางด้านเงินทองยามจำเป็น
(หรือควรเรียกว่า
"Medium of
Exchange”) พวกเขามักนิยมเก็บเป็นทอง
เงิน (หมายถึงเหรียญเงินหรือสร้อยหรือกำไลเงินหรือแหวนเงินแท้)
และเครื่องประดับ
ชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ที่สามารถขนไปกับตัวและแบ่งใช้แทนเงินได้ในยามวิกฤติ
(ทองแท่งพกไปกับตัวยากเพราะหนัก
และใช้จ่ายยากด้วย
เพราะคู่ค้าไม่สามารถหาทองมาทอนให้ได้ในยามวิกฤติ)
สำหรับเงินสด
พวกเขาก็เก็บไว้กับตัวส่วนหนึ่ง
บางคนเก็บเงินไว้หลายสกุล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เงินยูโร
และเงินบาท บางคนซ่อนไว้ในท่อประปา
บางคนซ่อนไว้ในรางผ้าม่าน
หรือซุกไว้ในเบาะโซฟา
ตามแต่จินตนาการของแต่ละคน
ผมเคยคุยกับคนกลุ่มนี้บางคน
พวกเขาจะมีตารางทองคำติดตัวไว้
และสามารถคำนวณเทียบน้ำหนักทองคำกับทองคำผสมกลับไปกลับมาได้อย่างคล่องแคล่ว
ไม่ว่าจะคิดเป็นหน่วยออนซ์
(U.S. Ounce)
ทรอยออนซ์
(Troy Ounce) บาท
หรือ Pennyweight
หรือ กรัม
เช่น
ทองคำ 1
ออนซ์
มีค่าเท่ากับ 28.350
กรัม และ
ทองคำ 1
บาท
(ทองคำบริสุทธิ์
96.5%
มาตรฐานประเทศไทย)
จะหนัก
15.16 กรัม
สำหรับทองรูปพรรณ และหนัก
15.244 กรัม
สำหรับทองแท่ง เป็นต้น
ดังนั้น การแปลงราคาทองคำจากราคาตลาดโลกมาเป็นราคาเงินบาทจะต้อง นำราคา Spot ในตลาดโลกมาคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลล่าร์ เพราะทองคำในตลาดโลกซื้อขายกันเป็นเงินดอลล่าร์) ณ วันนั้นๆ แล้วคูณด้วย 0.4723 ซึ่งเป็นตัวแปรค่าคงที่สำหรับแปลงหน่วยออนซ์เป็นหน่วยบาท)
ดังนั้น การแปลงราคาทองคำจากราคาตลาดโลกมาเป็นราคาเงินบาทจะต้อง นำราคา Spot ในตลาดโลกมาคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลล่าร์ เพราะทองคำในตลาดโลกซื้อขายกันเป็นเงินดอลล่าร์) ณ วันนั้นๆ แล้วคูณด้วย 0.4723 ซึ่งเป็นตัวแปรค่าคงที่สำหรับแปลงหน่วยออนซ์เป็นหน่วยบาท)
สำหรับทองคำผสมนั้น
24K หรือ
24 กะรัต
(Karat)
มีค่าเท่ากับทองคำบริสุทธิ์
100% (หรือ
99.99%
แบบที่ใช้ในต่างประเทศ)
ดังนั้น
ทองคำ 18K
(18 กะรัต)
ย่อมหมายความว่าทองคำชิ้นนั้นเป็นทองคำผสมที่มีเนื้อทองบริสุทธิ์อยู่
75%
และเป็นโลหะอื่นอีก
25%
(คือมีทองบริสุทธิ์อยู่
18 ส่วน
จาก 24 ส่วน)
นั่นเอง
และถ้าเป็น
14K หรือ
10K
ก็สามารถคำนวณทอนลงไปได้โดยใช้หลักการเดียวกัน
ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถคิดและเทียบมูลค่าของทองคำทุกชนิดได้ว่ามันควรมีค่าในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นเท่าใด
ทองคำจึงเหมาะอย่างยิ่ง
ที่จะใช้เป็น "เงินตรา"
ในยามวิกฤติ
ในสายตาของคนกลุ่มนี้
แน่นอน
มาตรการเหล่านี้ย่อมมีมูลเหตุและแรงจูงใจมาจากความกลัว
จะว่าพวกเขาเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายก็ได้
แต่โลกปัจจุบันก็เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
มากเหลือเกิน
ภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โลกร้อน โรคติดต่อร้ายแรงชนิดใหม่ๆ
ความอดอยากหิวโหย
การก่อการร้ายที่โหดร้าย
รุนแรง และขยายขอบเขตกว้างขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
อีกทั้งชีวิตคนเมืองในปัจจุบัน
ยังต้องขึ้นและพึ่งพิงอยู่กับส่ิงที่จับต้องไม่ได้เสียเป็นส่วนใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า นำ้ประปา
พลังงาน ระบบการเงิน ระบบเครดิต
ระบบธนาคาร ระบบสื่อสาร
หรือแม้กระทั่งอินเทอร์เน็ต
ซึ่งสามารถล้มคลืนลงได้ทุกเมื่อ
ผมได้แต่หวังว่า
วิกฤติใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จะไม่ถึงขั้นที่อารยธรรมต้องล่มสลาย
จนมนุษย์ที่เหลือรอดอยู่ต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบก้อนหินขว้างปากันแบบที่ไอซไตน์ว่าไว้
หรือเป็น
"มิคคสัญญียุค"
ที่ต้องร้อนถึงพระศรีอาริยเมตไตรยและบรรดา
Messiah
ทั้งมวล
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
4
กรกฎาคม
2558
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น