มนุษย์เราส่วนใหญ่นับถือ
"ความกล้าหาญ"
เพราะความกล้าหาญเป็นคุณธรรมประการสำคัญที่หาอย่างอื่นแทนได้ยาก
แม้แต่ "ความดี" หรือ "ความเฉลียวฉลาด" ก็สู้ความกล้าหาญไม่ได้
ในสายตาคนรุ่นหลัง National
Hero จึงมักมีคุณสมบัติเป็น
"ผู้กล้า"
ดูอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เป็นตัวอย่าง
หรืออย่าง
"พระราม"
ฮีโร่ตลอดกาลของชาวอินเดียและชาวเอเชียที่รับเอาวัฒนธรรมอินเดียมาแต่เก่าก่อนนั้น
ก็แสดงออกถึงความกล้าหาญอย่างยิ่ง
แม้จะมีจุดอ่อนแยะก็ตามที
แม้แต่
"เจ็งกิสข่าน"
ฮีโร่อีกคนหนึ่งของชาวเอเชียก็หาใช่คนดีเด่อะไร
ยึดดินแดนไหนได้ก็มักปล้น
ฆ่า สังหารหมู่ และข่มขืน
ทว่า
เขาเป็นฮีโร่ได้เพราะคนรุ่นหลังนับถือใน
"ความกล้า"
ของเขานั่นเอง
ผมว่าที่นายพลประยุทธ์ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ก็เพราะผู้คนชื่นชมในความกล้าหาญของท่านที่ยอมเอาตัวเข้าเสี่ยงและรับปัญหาทุกอย่างเอาไว้
ดีแล้วครับ
เพราะการปฏิรูปให้ถึงกึ๋นนั้น
ต้องการความกล้าหาญเป็นอย่างสูง
อย่างแรกเลยคือต้องกล้าริดรอนผลประโยชน์ของเพื่อนข้าราชการที่โกงกิน
หรือที่ใช้ตำแหน่งหาเศษหาเลย
หรือเอื้อประโยชน์ให้พ่อค้า
และต้องกล้าริดรอนผลประโยชน์ของบรรดานักธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบ
อาศัยช่องทางพิเศษ
คอนเน็กชั่นกับนักการเมือง
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
หรือกับสถาบันระดับสูง
อาศัยข้อมูลภายใน
อาศัยโครงสร้างอันอยุติธรรม
ผูกขาดตัดตอน หรือใช้อำนาจเหนือตลาด
เอาเปรียบคู่ค้า
หรือผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า
และผู้บริโภค
ในกระบวนการนี้
ต้องปราบปรามมาเฟียทั้งระดับชาติ
(บางรายก็เป็นบรรษัทข้ามชาติหรือบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ)
และระดับท้องถิ่นซึ่งอาศัยความได้เปรียบจากสัญญาสัมปทานหรือความใกล้ชิดนักการเมือง
ที่เอื้อให้หากินและเก็บเกี่ยวเอาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนดินใต้ดินอยู่เยอะแยะไปหมด
นั่นคือแนวทางการปฏิรูปข้อแรก
ทำได้ง่ายๆ เลยครับ
ถ้ามีความกล้าหาญ
เพราะในกระบวนการนี้มันต้องขัดผลประโยชน์กับผู้ทรงอิทธิพลในสังคมไทยหลายกลุ่ม
ซึ่งบางกลุ่มในนั้นก็มีส่วนอุ้มชูคณะ
คสช.
และท่านประยุทธ์อยู่ด้วย
กล่าวโดยสรุปคือต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดความเท่าเทียมและความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
ให้ได้เสียก่อน
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จำนวนมากจะมีโอกาสเกิดและเติบโตแข็งแกร่งขึ้นได้ในหลายอุตสาหกรรม
หากพลังผูกขาดตัดตอนถูกจำกัดริดรอน
และเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
(ตามแต่ความสามารถและสิทธิในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตเท่าเทียมกัน)
ซึ่งในระยะยาวแล้ว
สิ่งที่คนบางกลุ่มเรียกว่า
"ทุนสามานย์"
จะถูกทัดทานโดยพลังของตลาดและความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น
และระบบเศรษฐกิจไทยจะเข้มแข็งหลากหลายขึ้นในระยะยาว
โดยผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกในชีวิตมากขึ้นด้วย
ในขณะเดียวกัน
อุตสาหกรรมหรือบริการใหม่ๆ
หรือพื้นที่ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ
ที่เกิดและเติบโตขึ้นและพอจะเป็นความหวังหรือโอกาสให้กับคนเล็กคนน้อยและลูกหลานได้บ้าง
ก็จะไม่ถูกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าไปผูกขาดตัดตอนได้โดยง่าย
ข้อต่อมาคือการปฏิรูประบบยุติธรรม
ควรมุ่งที่การบังคับใช้กฎหมายให้เฉียบขาด
เอาคนผิดมาลงโทษ
และใช้เวลาในการดำเนินคดีความและตัดสินความให้สั้น
ไม่ใช่ยาวนานแบบที่ผ่านมา
การปฏิรูประบบยุติธรรมไม่ใช่การเขียนกฎหมายเพิ่ม
แต่ต้องปรับปรุงให้กฎหมายที่มีอยู่เข้าใจง่าย
ไม่ซับซ้อน ทันสมัย และ
Practical
และต้องรับใช้เป้าหมาย
"ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ"
ที่กล่าวมาข้างต้นด้วย
ข้อสุดท้ายคือปฏิรูปการเมือง
โดยผมคิดว่านอกจากจะต้องนำนักการเมืองที่โกงกินและทำความผิดมาลงโทษให้ได้
และแก้ไขวิธีการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมและป้องกันมิให้เกิดเผด็จการรัฐสภาดังที่แล้วมา
ควรถือโอกาสนี้วางกรอบและแนวทางเพื่อจำกัดบทบาทหน้าที่และกิจกรรมของรัฐบาลให้ลดน้อยถอยลงในอนาคต
ด้วยอีกโสตหนึ่ง
ในระยะยาวแล้ว
รัฐบาลไม่ควรเข้ามาเป็น
Player
ในระบบเศรษฐกิจเสียเอง
ควรเป็นแต่เพียงผู้คุ้มกฎ
โดยปล่อยให้เอกชนแข่งขันกันเองภายใต้กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมนั้น
ยิ่งรัฐบาลเข้าไปเป็น
"เจ้ามือ"
ในหลายๆ
เรื่องด้วยแล้ว
ในระยะยาวย่อมเกิดปัญหาทางการคลัง
ดังสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างที่สุดขั้วอยู่ในขณะนี้
รัฐบาลควรตั้งใจทำ 5 เรื่องหลักเท่านั้นคือ
- การป้องกันประเทศ
- ความมั่นคงภายใน (ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน)
- การรักษาค่าเงินบาทให้มั่นคงน่าเชื่อถือ ไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดและค่าเงินบาทหมดความน่าเชื่อถือในสายตานานาชาติ
- บริการสาธารณะพื้นฐาน (รวมถึงการสร้างและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้วย) โดยรัฐบาลต้องหลีกเลี่ยงการเป็นเจ้ามือเอง แต่เน้นการกำกับดูแลให้มีจำนวนเพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาสมเหตุสมผล
- ป้องกันหายนภัยอันจะเกิดจากธรรมชาติ
แค่ห้าเรื่องนี้ก็ยากแล้วครับ
ถ้าจะทำให้ Perfect
แต่ถ้าทำได้ตามนี้
การคอรัปชั่นในอนาคตก็น่าจะลดน้อยลงไปเอง
เพราะรัฐวิสาหกิจจะลดอิทธิพลลงและอาจจะแปรสภาพไปโดยมาก
และอำนาจในการให้สัมปทานของรัฐบาลก็จะจำกัด
ตรวจสอบได้ง่าย
รัฐบาลก็ไม่ต้องมีหน้าที่ไปปกป้องใคร
(แม้แต่สหภาพแรงงาน)
เอื้อให้ใครได้เปรียบเสียเปรียบ
ปล่อยให้เอกชนเขาตกลงต่อรองกันไปเอง
หากเราศึกษาประวัติศาสตร์
เรามักเห็นว่านโยบายของรัฐบาลที่สำเร็จและได้รับความสนับสนุนจากราษฎรส่วนใหญ่โดยมากนั้น
มักเป็นนโยบายที่ไม่ซับซ้อน
และสามารถสรุปรวบยอดออกมาให้เป็นแนวคิดหรือคำพูดง่ายๆ
เพียงไม่กี่ข้อ
คล้ายๆ
กับที่ผมสรุปมาข้างต้นนั่นแหละ
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
27
มิถุนายน
2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น