วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

แผนถล่มจีนของ Krugman


ข้อเขียนชุด "แนะนำ Blog การเงิน" ลำดับที่ 4



เมื่อฉบับที่แล้ว Blogger เขียนถึง Paul Krugman ว่าตอนนี้เธอทำตัวเป็น "สายล่อฟ้า" ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ และสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจแบบ "เจ้าบุญทุ่ม" สุดจิตสุดใจ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลอัดฉีดเพิ่มเข้าไปอย่างเต็มเหนี่ยวและต่อเนื่อง อย่าทำแบบครึ่งๆ กลางๆ โดยเด็ดขาด

Blogger ยังเขียนอีกว่า Agenda สำคัญล่าสุดของเขาในฐานะ "สายล่อฟ้า" คือการเล่นงานรัฐบาลจีน โดยกดดันให้จีนเลิกแทรกแซงค่าเงินหยวน ต้องให้ค่าเงินหยวนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ เพื่อแก้ปัญหา Imbalance ให้เบาบางลง

มีผู้อ่านท่านหนึ่งที่ไม่ได้ตาม Krugman มาแต่ต้น มาถาม Blogger นอกรอบ ว่าเรื่องนี้มันมีรายละเอียดยังไง อยากให้อธิบายให้ฟังละเอียดหน่อย เพราะผู้อ่านท่านนั้น ท่านทำกิจการค้าระหว่างประเทศ และต้องถือเงินตราต่างประเทศหลายสกุลอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งเพื่อความสะดวกในเชิงการค้าและเพื่อลงทุน

Blogger จึงใคร่ขอขยายความในฉบับนี้ เผื่อว่าผู้อ่านท่านอื่นจะได้ประโยชน์ด้วย เพราะประเด็นนี้กำลังเป็น International Economic Issue ที่สำคัญมาก ณ ขณะปัจจุบัน

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา Paul Krugman เขียนบทความใน New York Times เรื่อง "Taking on China" ต่อว่ารัฐบาลจีนอย่างแรง หาว่าจีนแทรกแซงค่าเงินหยวนให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Undervalued) ประมาณ 20-40% โดย Krugman ว่าการที่จีนทำแบบนี้มันทำให้ดุลการชำระเงินของประเทศคู่ค้าปั่นป่วนเสียดุลมากอย่างต่อเนื่องด้วการเอาเปรียบเชิงการค้า เขาว่า "for purposes of preventing effective balance of payments adjustments and gaining unfair competitive advantage in international trade."

เขาจึงเสนอให้รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับจีนโดยขู่จะเก็บ Surcharge สำหรับสินค้านำเข้าจากจีนทุกรายการ 25% อย่างไม่ต้องหวั่นเกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม และไม่ต้องกลัวว่าจีนจะตอบโต้ด้วยการขายสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปดอลล่าร์ (เช่นทุนสำรองที่ประกอบด้วยเงินดอลล่าร์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พันธบัตรเอกชน ตั๋วเงินคลัง ฯลฯ) เพราะมันจะยิ่งทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ตกลงซึ่งจะเป็นผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันมันก็จะทำให้จีนจนลงไปด้วย เปรีบเหมือนการมีลูกแต่เอามาฝากให้อเมริกาเลี้ยง นั่นแหละ (MBA เตือนเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว)

เขาเขียนว่า "In 1971 the United States dealt with a similar but much less severe problem of foreign undervaluation by imposing a temporary 10 percent surcharge on imports, which was removed a few months later after Germany, Japan and other nations raised the dollar value of their currencies. At this point, it's hard to see China changing its policies unless faced with the threat of similar action--except that this time the surcharge would have to be much larger, say 25 percent."

ดูแนวโน้มแล้วจีนคงจะไม่มีทางเลือก นั่นก็หมายความว่าค่าเงินดอลล่าร์คงจะตกต่ำลงไปอีก

ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของผู้อ่านแต่ละท่านแล้วว่าจะตีความ Investment Implications ต่อพอร์ตและผลประโยชน์ของแต่ละท่านยังไงกันบ้าง

ข้อเขียนนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ภายใต้นามปากกา Blogger


***โปรดคลิกอ่านแนะนำบล็อกของ Paul Krugman ได้ตามลิงก์ข้างล่างครับ


***บล็อกสายล่อฟ้าของ Paul Krugman



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น