ผมเคยเป็นมาแล้ว
ทั้ง Investment
Banker และ
เจ้าของกิจการ
เคยทั้งระดมทุนให้กิจการของคนอื่น
และหาเงินก่อตั้ง ปลุกปั้น
ประกอบการ กิจการของตัวเอง
ผมจึงเข้าใจ
และเห็นใจ หัวอกของบรรดา Start-Ups ทั้งหลาย
ไม่ใช่ความเข้าใจที่เกิดจากการอ่าน
การพูดคุย หรือเก็งความจริง
แต่เป็นความเข้าใจจากการลงมือปฏิบัติ
ตรึกตรอง และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ตลอดจนหวนคิดตรึกตรองถึงบทเรียนเหล่านั้นอยู่เสมอ
ผมรู้และเข้าใจดีว่า
เจ้าของกิจการไทยต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านหลายมุม
ไหนจะเรื่องเงิน
เรื่องคน เรื่องการจัดการ
และเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้
เช่นภาวะเศรษฐกิจ การเมือง
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
หรือแม้กระทั่งดินฟ้าอากาศ
สารพัดสารพัน
ที่สำคัญคือองค์ความรู้ในสังคมไทย
โดยเฉพาะความรู้ทางด้านการผลิตนั้น
เป็นความรู้ที่ไปไม่ถึงแก่นแท้
เรายังขาดความรู้ในการสร้างเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องจักรที่จำเป็น
ความรู้ทางด้านวัสดุสมัยใหม่และองค์ประกอบในการผลิตทั้งในเชิง
Hardware และ
Software
ทำให้เมื่อจะลงมือ
“สร้าง” อะไรเป็นของตัวเอง
ที่คิดว่าจะไปแข่งขันกับใครเขาได้ในโลกนี้
มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
หรือถ้าได้ก็จะมีต้นทุนสูง
เพราะต้องพึ่งพาความรู้
(หรือที่เรียกในภาษาสมัยใหม่ว่า
“เทคโนโลยี”)
ของฝรั่ง
ของญี่ปุ่น (และตอนนี้ก็ของจีนเพิ่มเข้าไปอีกราย)
ทำให้ผู้ประกอบการของเรา
ต้องมีสถานะเป็นเพียงนายหน้าหรือลูกไล่หรือผู้รับจ้าง
และถูกกิจการที่เป็นเจ้าขององค์ความรู้เหล่านี้
บังคับให้ต้องวิ่งไล่กวด
เพื่อหาซื้อหรือเช่าความรู้ใหม่ๆ
ของเขา อยู่ตลอดเวลา
เสมือนต้องกินน้ำใต้ศอกของกิจการเหล่านั้นอีกทอดหนึ่ง
ซึ่งบางทีก็เหลือให้เรากินแต่เพียงเศษเนื้อเล็กๆ
น้อยๆ จนทำให้ผลตอบแทนในเชิงการลงทุนและการเงินต่ำ
เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่พวกเขา
ในฐานะเจ้าของความรู้เหล่านั้น
ได้รับไปในช่วงเวลาเดียวกัน
ทั้งๆ
ที่เราก็ตั้งใจประกอบการ
ลงทุน ลงแรง และลงเวลา
ไม่น้อยกว่าพวกเขา
และเราก็มีมหาวิทยาลัยชั้นนำ
ที่พร่ำสอนความรู้ในการผลิตเหล่านี้มาเป็นเวลานานแสนนาน
แต่ก็ไม่เห็นว่าจะสามารถผลิตบุคคลากรที่เข้าถึงความรู้ในระดับ
“แก่นแท้” ซึ่งจะช่วยให้
“สร้าง” อะไรได้ด้วยตัวเอง
ในจำนวนมากพอ ซักกะที
แต่วันนี้ผมจะขอพูดแต่เพียงความท้าทายเดียว
คือเรื่องเงิน
เรื่องเงินมักเป็นเรื่องใหญ่ของผู้ริเริ่มทำกิจการ
โดยเฉพาะในช่วงแรกของธุรกิจ
ร้อยทั้งร้อย
ต้อง “ทำกันไป ระดมทุนกันไป”
Start-Ups ที่ต้องกลายเป็น
Finish-Down
ไปเสียกลางคัน
ก็เพราะปัญหาเรื่องเงินนี้แหล่ะ
แน่นอน
ในตอนแรกสุด พวกเราส่วนใหญ่ต้องใช้เงินเก็บ
และระดมเอาจากพี่น้องเพื่อนฝูง
หรือกู้ยืมมา
ดีหน่อย
ก็ได้โอกาสจากนักลงทุนมืออาชีพที่เขาถนัดและหากินทางนี้
เช่นพวกผู้ใหญ่ที่ชอบสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่
หรือ Venture
Capitalist หรือ
Angel Funds ทั้งหลาย
ภาษาทางการเงินสมัยใหม่มักเรียกการ
Financing
ช่วงนี้ว่า
“Angel” หรือ
“Pre-seed”
Round
โดยสถิติของสหรัฐอเมริกานั้น
บรรดา Start-Ups
ที่สามารถรอดมาจนตั้งตัวได้
ทั้ง Free
Cash Flow เป็นบวก
หรือไม่ก็สามารถระดมทุนโดยการออกหุ้นขายคนทั่วไป
(IPO = Initial
Public Offering) ได้
หรือไม่ก็ถูกกิจการขนาดใหญ่ที่ตั้งตัวได้แล้วซื้อหรือ
Takeover
ไปอยู่ในเครือข่าย
ฯลฯ เหล่านี้จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ
8-10 ปี
ใครผ่านช่วงนั้นได้
ถือว่ารอด !
ผมลอง Double
Check บรรดา
Venture Capitalist และ
Investment Bankers หลายคนดู
ส่วนใหญ่จะให้ค่าเฉลี่ยราวๆ
นี้ เช่นกัน
ในระยะแรกของชีวิตกิจการนี้แหล่ะ
ที่ผู้ประกอบการจะต้องหมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับการระดมทุน
ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ
กว่าจะตั้งตัวได้
ท่านผู้อ่านต้องเคยผ่านตากับคำว่า
“First Round”
“Second Round” "Series A" "Series B" หรือศัพท์แสงทางด้านการเงินสมัยใหม่อย่างแน่นอน
ไม่ต้องงงครับ
คำเหล่านี้มันเพียงแต่ใช้เรียกการระดมทุนแต่ละรอบ
จากบรรดา Venture
Capitalists หรือนักลงทุนที่เห็นดีเห็นงามกับธุรกิจของบรรดา
Start-Ups
เหล่านั้นในช่วงแรก
ที่ยังไม่สามารถระดมทุนในตลาดทุนขนาดใหญ่ได้
เท่านั้นเอง
คิดดูเอาเถอะ
ว่าผู้ประกอบการต้องหนักหนาสาหัสเพียงใด
และต้องยอมสละหุ้นของตัวเอง
ตัดขายที่ละก้อนๆ จนกว่าจะตั้งตัวได้
อาจเหลือไม่มากพอที่จะมีสิทธิมีเสียงแบบ
“สิทธิขาด” ได้อีกต่อไป
ตัวอย่างมีให้เห็นเยอะแยะในเรื่องนี้
Steve Jobs
เองก็เคยถูกไล่ออกจาก
Apple Inc.
กิจการที่ตัวเองก่อตั้งกับมือมาแล้ว
และรายล่าสุดคือ Travis
Kalanick แห่ง
UBER
ที่ก็เพิ่งถูกริดรอนอำนาจในกิจการที่ตัวเองก่อตั้งมากับมือ
ด้วยเช่นเดียวกัน
เหตุผลคือ
จำนวนหุ้นของเขาที่เคยสามารถโหวตได้อย่างตามใจชอบ
ถูก Dilute
ลง
เนื่องเพราะต้องตัดแบ่งให้กับผู้ลงทุนในการระดมทุนแต่ละรอบที่ผ่านมา
ปัญหานี้
เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องประสบพบเจอเหมือนกันหมด
คือต้องชั่งใจ
ระหว่างการถูก Dilute
และการเติบโตขององค์กร
เพราะเมื่อองค์กรเติบโต
มันต้องใช้เงินในการจ้างคน
จ้างวิศวกร ซื้อ Hardware
เช่าสถานที่
และขยายไปในพื้นที่อื่น
ฯลฯ
ภาษาทางการเงิน
เรียกปัญหานี้ว่า “Bootstrap
Problem” นั่นเอง
ที่ผมพูดมานี้
เป็นวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่
ที่บรรดา Start-Ups
ในระดับโลกต้องเผชิญ
และวัฒนธรรมแบบนี้
เริ่มถูกนำมาเผยแพร่ในเมืองไทยแล้ว
แต่คนรุ่นผมมันกลางเก่ากลางใหม่
จึงอยากจะขอพูดปัญหาเฉพาะของไทย
ที่เคยประสบพบมาให้ฟังด้วยว่า
เมื่อไม่นานมานี้เอง วัฒนธรรมแบบ
Venture Capital
ยังคงล้มเหลวในเมืองไทยอยู่
สถาบันการเงินที่รัฐบาลก่อนๆ
จงใจตั้งขึ้นมาสนับสนุนผู้ประกอบการหรือ
Start-Ups
ล้วนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
การนำเอา
Commercial Banker
มาบริหารกิจการเหล่านี้
ตลอดถึงกฎหมายต่างๆ
ที่ยังเป็นอุปสรรค
ทำให้พวกเขาไม่กล้าสนับสนุนทางการเงินกับผู้ประกอบการใหม่ๆ
ในมาตรฐานที่ต้องใช้กระแสเงินสดเป็นเกณฑ์
หรือ “Cash
Flow Financing” พวกเขายังอาศัยมาตรฐานเดิมคือ
ต้องการสินทรัพย์ถาวรมาวางค้ำประกัน
“Asset-Based
Financing” (หรือจดจำนอง)
ซึ่งยากที่บรรดา
Start-Ups จะมีได้
Cash
Flow Financing อาจมีบ้าง
แต่ก็ไม่เพียงพอกับการก่อร่างสร้างตัว
ให้เป็นปึกแผ่นได้จริงจัง
มีแบบเล็กๆ น้อยๆ เช่นที่
สสว.
ทำสำเร็จอยู่บ้าง
ทำให้กิจการธุรกิจสมัยใหม่
ที่อาศัยหรือครอบครองสินทรัพย์ถาวร
(ซึ่งจับต้องได้)
น้อย
ทว่าพึ่งพิงหรือดำเนินไปสู่การครอบครองความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมหรือสิทธิบัตร
(ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้)
ไม่สามารถตั้งตัวได้เท่าที่ควร
ยิ่งกว่านั้น
มันยังมีปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมองค์กรหรือ
Norm ของครอบครัว
เป็นปัญหาซ้อนอยู่ อีกชั้นหนึ่งด้วย
ผมเคยคุยกับ คุณเฉลียว
สุวรรณกิตติ หลายครั้งถึงเรื่องนี้
ก่อนท่านเสียชีวิต
คนส่วนใหญ่อาจรู้จักคุณเฉลียวในฐานะผู้บริหารระดับสูงของเครือเจริญโภคภัณฑ์
(ซีพี)
แต่จริงๆ
แล้วคุณเฉลียวเป็น Venture
Capitalist ยุคแรกของไทย
คือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทธนสถาปนา
ที่ลงขันถือหุ้นโดยธนาคารพาณิชย์เกือบทุกธนาคารในประเทศไทยสมัยโน้น
ซึ่งต้องการที่จะสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ประกอบการที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
(คือ
Start-Up
ในความหมายปัจจุบันนั่นเอง...ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองศึกษากรณี
“ไข่ผง” ของ ดร.อาทิตย์
อุไรรัตน์ ดูก็ได้)
ผมถามคุณเฉลียวว่าทำไม
“ธนสถาปนา” ถึงล้มเหลว
และเราไม่สามารถลงหลักปักฐานวัฒนธรรมแบบ
Venture Capital
Financing ในสังคมไทยได้
คุณเฉลียวสรุปบทเรียนให้ผมฟังทุกครั้งเหมือนกันคือ
“เพราะนักธุรกิจส่วนใหญ่ในเมืองไทย
เป็นครอบครัวคนจีน
และพวกเขาไม่ชอบที่จะให้คนอื่นเข้ามาถือหุ้นร่วมกันในกิจการ
แม้รุ่นลูกจะเข้าใจว่า
Venture Capital
Funding เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
แต่พอไปถึงรุ่นพ่อ
ก็มักจะมีปัญหาเสมอ”
ผมไม่รู้ว่า
Start-Up
รุ่นปัจจุบัน
สลัดความคิดแบบนี้ได้หรือยัง
เราคงต้อง
Observe กันต่อไป
ICO
จะแก้ปัญหาที่ว่ามานี้ได้ในทันที
ผมเพิ่งมาเห็นนวัตกรรมใหม่เมื่อเร็วๆ
นี้ ที่จะสามารถแก้ปัญหาของผู้ประกอบการที่พูดมาทั้งหมดนี้ได้
นั่นคือ
“ICO”
(“Initial Coin Offering”)
ซึ่งเกิดขึ้นมาคู่กับกิจการที่มีส่วนพัฒนาเทคโนโลยี
Blockchains
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ
อย่างหลากหลาย
และกิจการที่ตั้งใจจะนำเทคโนโลยี
Blockchains
ไปใช้ในการให้บริการของตน
มันคือกระบวนการระดมทุนโดยออก
“เหรียญ” ขาย
มันตั้งชื่อล้อกับ
“IPO”
แต่มันช่วยให้ผู้ประกอบการไม่ต้องตัดหุ้นของตัวเองออกขายเลย
ทว่าก็ยังสามารถระดมทุนได้
โดยการออกเหรียญฯ (Token
หรือ
Utility Coin)
ขายให้กับคนทั่วไปแทน
“ICO”
ก็คือ
“IPO แนวใหม่”
นั่นเอง
พูดง่ายๆ
ว่า “ICO”
นี้
จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางการเงินในช่วงต้น
(หรือ
“Bootstrap
Problem”) ให้กับ
Start-Ups
และผู้ประกอบการ
ได้เลย
โดยกิจการผู้ออกเหรียญฯ
ขายนี้ ต้องนำเหรียญฯ
ไปขอจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง
(ที่ทำการซื้อขาย
Crypto Currencies)
เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับเหรียญฯ
และเป็นหนทางที่ผู้ลงทุนหรือผู้จับจองเหรียญฯ
สามารถนำเหรียญฯ ไปซื้อขายอีกทอดหนึ่งได้
เหมือนกับหุ้นทุกประการ
ผมว่ามันเป็นพัฒนาการขั้นสูงของระบบทุนนิยมสมัยใหม่
ที่พวกเรา นอกจากต้องจับตาอย่างใกล้ชิดแล้ว
ยังต้องหาทางเอามันมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจและภาครัฐในบ้านเราด้วย
คือภาครัฐเอง
ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก
ICO
ได้เช่นเดียวกัน
ในการระดมทุนโครงการต่างๆ
ของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
เช่น เราสามารถดีไซน์ให้เหรียญฯ
ที่จะออกขายโดยรัฐบาลไทย
ให้กับนักลงทุนนั้น
สามารถนำไปแลกใช้บริการต่างๆ
ในประเทศไทยได้ นอกไปจากการนำเหรียญฯ
นั้นไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง
อีกทางหนึ่ง เพื่อให้นักลงทุนที่จับจองเหรียญฯ
ไปในเบื้องต้น
สามารถนำไปขายต่อได้เหมือนหุ้นหรือพันธบัตร
โดยการระดมทุนแนวนี้จะมีความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนน้อยกว่าการกู้เงินตราต่างประเทศหรือการออกพันธบัตรขายในตลาดต่างประเทศ
เราอาจจะสามารถนำเงินตรงนี้มาสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และโครงการสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างต้นทุนถูกและเป็นประโยชน์มาก
เราอาจจะสามารถนำเงินตรงนี้มาสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และโครงการสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างต้นทุนถูกและเป็นประโยชน์มาก
ตลาด
ICO
ในตอนนี้ไม่เล็กเลย
เฉพาะในสหรัฐฯ
เมื่อปีที่ผ่านจนถึงสิ้นเดือนตุลาที่ผ่านมา
มีการระดมทุนแบบ “ICO”
ไปแล้วถึง
175 ราย
โดยมูลค่าทุนที่ระดมไปทั้งหมดประมาณ
2.7 พันล้านเหรียญฯ
แถมกิจการที่ออก
“ICO” ขายนั้น
ยังกระจายตัวอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ
อย่างน่าสนใจ เช่น Iconomi
(เหรียญที่ออกขายชื่อ
ICN)
เป็นธุรกิจที่นำ
Blockchain
ไปใช้ในการบริหารสินทรัพย์
(Asset
Management), Blockchain Capital (เหรียญชื่อ
BCAP) เป็นกิจการ
Venture Capital,
Brave (เหรียญชื่อ
BAT)
เป็นเอเจนซี่โฆษณา,
SALT (เหรียญชื่อเดียวกัน)
เป็นธุรกิจให้กู้ยืมเงิน,
Patientory (เหรียญชื่อ
PTOY) เป็นธุรกิจ
Healthcare เป็นต้น
ในเมืองไทยเอง
ก็มีผู้ทำ ICO
ประสบผลสำเร็จไปแล้วหลายราย ที่รู้จักกันดีคือ OMESE GO
และได้ข่าวว่าจะมีรายอื่นตามมาอีกพอสมควร
กระบวนการทำ
ICO
นั้นยุ่งยากน้อยกว่า
IPO แยะ
เพราะยังไม่มีกฎหมายมาควบคุม
จึงไม่จำเป็นต้องยื่น Filing
ต่างๆ
กับสำนักงาน กลต.
และยังสามารถระดมทุนในตลาดโลก
คือเปิดให้นักลงทุนทั่วโลกเข้าจองซื้อกับเราได้โดยตรง
ไม่ต้องผ่านผู้รับประกันการจัดจำหน่าย
หรือโบรกเกอร์ ให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
ทั้งสิ้น
แต่ผมได้ยินว่า
มี Investment
Bank บูติกบางราย
เริ่มเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้กับการทำ
ICO ใหญ่ๆ
ในต่างประเทศบ้างแล้ว
ดังนั้น
จึงเป็นการง่ายเข้าไปอีกสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจ
หรือแม้แต่พวกที่คิดจะเริ่มธุรกิจ
และคิดจะระดมทุนโดยการออกเหรียญฯ
ขาย (ICO)
ก็สามารถแต่งตั้งให้
Investment Bank
เหล่านั้น
วางแผนการระดมทุนให้
ตั้งแต่การดีไซน์ลักษณะใช้งานของเหรียญฯ
ให้มันสมเหตุสมผลและน่าสนใจ
การจัดเตรียมซอฟท์แวร์ต่างๆ
ในเครือข่าย และการนำเหรียญฯ
ไปขอจดทะเบียนในตลาดสำคัญๆ
ของโลก
ผมเชื่อว่า
อีกไม่นาน สำนักงาน กลต.
คงต้องเข้ามากำกับดูแล
ICO อย่างแน่นอน
เพราะเหรียญฯ เหล่านี้
มันเข้าข่ายเป็น “หลักทรัพย์”
แต่ก็เป็นการยากที่จะห้ามกระบวนการนี้โดยเด็ดขาด
เพราะมันเป็นตลาดโลก
ดูอย่างรัฐบาลจีนที่ห้ามทำ
ICO
และยังสั่งแบนตลาดซื้อขาย
Crypto Currencies
ด้วยนั้น
ก็ทำให้นักลงทุนจีน
หันไปซื้อขายในตลาดนอกประเทศจีน
หรือ Start-Ups
ที่ต้องการระดมทุน
ก็ยังสามารถขายเหรียญฯ
ให้กับนักลงทุนต่างชาติได้
การจะแบน
Crypto Currencies
(เช่น
BITCOIN)
เป็นเรื่องยากเสียแล้ว
ยกเว้นว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องร่วมมือกัน
และจะต้องปิดระบบอินเทอร์เน็ต
(เพราะ
Block ทุกบล็อกใน
Blockchain
มันถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ของสมาชิกเครือข่ายที่กระจายกันอยู่ทั่วโลก)
ซึ่งต้องกระทบกับธุรกิจอื่นอย่างมโหฬาร
การเข้ามาของ
กลต. หรือ
SEC อาจจะดีก็ได้
เพราะจะช่วยยับยั้งไม่ให้พวกโกง
หรือพวกแชร์ลูกโซ่
หรือพวกตีหัวเข้าบ้าน
และพวกชอบลอกคราบ เข้ามาหากินในตลาด
ICO นี้
หรือเข้ามาหากินได้ยากขึ้น
ถึงกระนั้น
ปัจจุบันก็มีตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญ
Crypto Currencies
และเหรียญ
Utility Coins
ที่ได้รับการรับรองหรือได้รับใบอนุญาตจาก
SEC แล้ว
ในอนาคตเชื่อว่า
ตลาดในระดับนี้คงเกิดขึ้นในหลายประเทศ
รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ด้วยความจำกัดของหน้ากระดาษ
ผมจึงขอจบเรื่อง ICO
ไว้เพียงเท่านี้ก่อน
เป็นธรรมดาอยู่เองที่สิ่งเกิดใหม่จากระบบทุนนิยมย่อมมีดีมีด้อย ผมอยากให้ทุกคนศึกษามันให้ถ่องแท้ และเอาประโยชน์จากมัน เพราะมันมีคุณมหันต์ ถ้าใช้เป็นและถูกทาง
Cryptocurrencies ก็เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งอุบัติขึ้นและถูกนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจของโลกสมัยใหม่ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ตก็อุบัติขึ้นและถูกนำมาใช้เมื่อหลายสิบปีก่อน
อย่าเพิ่งไปตั้งข้อรังเกียจกับมันเลย
เป็นธรรมดาอยู่เองที่สิ่งเกิดใหม่จากระบบทุนนิยมย่อมมีดีมีด้อย ผมอยากให้ทุกคนศึกษามันให้ถ่องแท้ และเอาประโยชน์จากมัน เพราะมันมีคุณมหันต์ ถ้าใช้เป็นและถูกทาง
Cryptocurrencies ก็เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งอุบัติขึ้นและถูกนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจของโลกสมัยใหม่ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ตก็อุบัติขึ้นและถูกนำมาใช้เมื่อหลายสิบปีก่อน
อย่าเพิ่งไปตั้งข้อรังเกียจกับมันเลย
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับพิเศษ พ.ย. 2560