Rene
Descartes เคยแสดงความเห็นไว้ว่า
“ความจริงส่วนใหญ่ มักถูกค้นพบโดยคนๆ
หนึ่ง มากกว่า (ที่จะถูกพบโดย)
ชนชาติ”
(1)
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เคยตรัสไว้ว่า
มนุษย์เราส่วนใหญ่นั้นเป็น
"เวไนยสัตว์"
คือสามารถที่จะอบรมสั่งสอนให้เปลี่ยนแปลงพัฒนาได้
Emanuel
Kant
เป็นฝรั่งคนแรกที่กล่าวว่ามนุษย์เราไม่สามารถรับรู้โลกที่นอกเหนือจากประสบการณ์ของเราได้เลย...โลก "อย่างที่มันเป็น"
จึงไม่สำคัญ
คือเรารับรู้โลกได้เพราะใจของเราปรุงแต่งโลกให้เราได้รับรู้
ความจริงของโลกจึงขึ้นอยู่กับใจเรา
การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและกระบวนทัศน์ใหม่ที่
Kant
นำเสนอและฝรั่งชั้นนำพากันเชื่อตามนี้
ทำให้การมองโลกของฝรั่งเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนั้น
และเมื่อมนุษย์เป็นตัวกำหนดและเป็นศูนย์กลางของธรรมชาติ
อะไรต่อมิอะไรย่อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ต้นไม้จึงมีไว้ตัด
โค่น เพื่ออุตสาหกรรม
ป่าไม้ถูกถาง
หลีกทางให้กับเส้นทางรถไฟและรถยนต์
แร่ธาตุมีไว้ขุดขึ้นมาถลุง
กระเทาะ แยกธาติ หรือกลั่น
เพื่อป้อนโรงงาน
ทะเลมีไว้เพื่อเป็นเส้นทางค้าขาย
ล่าอาณานิคม และทิ้งของเสีย
ฯลฯ
แนวคิดเปลี่ยน
คนจึงเปลี่ยน แล้วโลกก็เปลี่ยนตาม
เพราะนวัตกรรมจำนวนมาก
หลั่งไหลมาจากสังคมตะวันตกนับจากนั้น
เพื่อรับใช้ชีวิตมนุษย์
พร้อมกับราคาที่ต้องจ่าย
Modern
Lifestyle จึงเกิดขึ้น
และพัฒนาต่อยอดมาจนกระทั่งบัดนี้
ชุดบทความต่อไปนี้
จะว่าด้วย “คนๆ
หนึ่ง”
ที่นำ "การเปลี่ยนแปลง”
มาให้กับเรา
ซึ่งถือเป็นชุดต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว
ที่ว่าด้วย "คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง"
หรือการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคที่มากระทบกับตัวเราและสังคมและองค์กรของเรา
โดยได้แสดงให้เห็นถึงที่มาของ
"จิตสำนึกที่เหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง"
เป็นกรณีศึกษาประกอบคือ
กรณีซูสีไทเฮากับการเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปทว่าก็สายเกินไป
และ
สไตล์การเปลี่ยนแปลงในวินาทีสุดท้ายกรณีการยอมแพ้สงครามของญี่ปุ่น
ใจเปลี่ยน
คนเปลี่ยน:
การเปลี่ยนแปลงใดๆ
ย่อมเริ่มจาก "ความคิด"
ก่อนหน้า
Thomas
Edison การจะสร้าง
“ไฟ” มนุษย์จำต้อง “เผา”
อะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขี้ผึ้ง
กระดาษ ไต้ น้ำมันสน ก๊าส
ฯลฯ
ทว่าเอดิสันเปลี่ยนแนวคิดเสียใหม่
โดยตั้งเป้าว่าจะสร้าง
“ไฟ” โดยไม่ต้อง “เผา”
อะไรเลย
นั่นจึงเป็นที่มาของ
“หลอดไฟ” ที่เขาคิดขึ้นจนสำเร็จ
แม้จะเป็นเรื่องยากเย็นสำหรับเอดิสันที่ต้องทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงหลายร้อยแนวทาง
แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นมันเริ่มจากความคิดแรกที่เขามองต่างจากที่เคยมีมานั่นเอง
ก่อนหน้า
กาลิเลโอ (Galileo
Galilei) ความเข้าใจในเรื่องฟิสิกส์ถูกครอบงำโดยความคิดของอริสโตเติล
(Aristotle)
อริสโตเติลพูดว่าความเร่งของวัตถุที่ตกถึงพื้นนั้นสม่ำเสมอ
แต่กาลิเลโอเห็นแย้ง
จึงหาทางพิสูจน์โดยคิดเครื่องมือทดลองแบบง่ายๆ
ที่เรียกว่า "Inclined
Plane” (ปัจจุบันอยู่ที่
Museo
Galileo เมืองฟลอเรนส์)
เพื่อลดความเร็วของวัตถุอันเนื่องมาแต่แรงโน้มถ่วงของโลก
เพราะสมัยนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูป
หรือคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือวัด
กาลิเลโอคิดว่าการจะพิสูจน์ด้วยสายตาคงเป็นไปไม่ได้
เพราะวัตถุจะตกเร็วมาก
เขาจึงคิดพิสูจน์ด้วยหู
โดยการนำกระดิ่งไปติดตั้งไว้เป็นช่วงๆ ห่างกันช่วงละเท่าๆ กัน
แล้วเขาก็ทดลองกลิ้งลูกกลิ้งลงมา
เมื่อลูกกลิ้งผ่านกระดิ่งก็จะส่งเสียงดัง
"กริ่ง
กริ้ง กริ๊ง กริ้ง"
เป็นอันว่าเสียงกระดิ่งช่วงสองสามสี่...นั้นสั้งลงเรื่อยๆ
แสดงว่าลูกเหล็กมันเร่งความเร็วขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมันใกล้ถึงพื้นดิน
ดังนั้น
เขาจึงเคลื่อนจุดวางกระดิ่งเสียใหม่
โดยใช้หูฟัง กะให้แต่ละระยะเท่ากัน
"กริ้ง
กริ้ง กริ้ง กริ้ง"
จึงทำให้รู้ว่า เมื่อนำไม้บรรทัดมาวัดระยะแล้ว ระยะของกระดิ่งที่สองกับกระดิ่งที่สาม
ยาวกว่าระยะระหว่างกระดิ่งที่หนึ่งถึงกระดิ่งที่สอง
และระหว่างกระดิ่งที่สามกับกระดิ่งที่สี่ก็ยาวกว่าระหว่างกระดิ่งที่สองถึงกระดิ่งที่สาม
ยิ่งลูกกลิ้งใกล้ถึงพื้น
มันยิ่งเร่งความเร็วให้เร็วขึ้น
โดยกาลิเลโอสามารถเสนอเป็นสูตรคณิตศาสตร์ออกมาได้
และหลังจากนั้น ความรู้ในเรื่องแรงโน้มถ่วง
ความเร่ง และการเดินทางของวัตถุ
ก็เปลี่ยนแปลงไป
ช่วยให้วิทยาศาสตร์หลังจากนั้นพลิกไปอีกทางหนึ่ง
มีคนคิดภาษาอังกฤษหลายคำเพื่อให้มีความหมายใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดแบบฉับพลันที่กล่าวมานี้
ทั้ง
Think
Different! และ
Change
Perception! Shift Paradigm! Reorganize Mind-Set! Revolutionized Idea!
Revolutionized Thought!
Steve
Jobs เป็นฝรั่งซึ่งคนรุ่นเรารู้จักกันดีอีกคนหนึ่ง
ที่ได้สร้างนวัตกรรมสำคัญๆ
ไว้ให้กับโลก
ในระดับที่สามารถเปลี่ยนแปลงไลฟสไตล์ของมนุษย์ทั่วทั้งโลกได้
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือการคิดต่าง
ต้องอาศัย "ความคิดสร้างสรรค์"
(Creativity) ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวเราทุกคน
แม่บ้านชาวไทยใหญ่ของผมคนหนึ่ง
เมื่ออยู่กับเรามาได้สักระยะ
ก็สามารถคิดค้นวิธีและกระบวนการทำความสะอาด
พร้อมกับเก็บของเล่น (ที่ลูกๆ
ผมทำรกไว้)
พร้อมกับซักผ้า
พร้อมกับถูบ้าน พร้อมกับรดน้ำต้นไม้
ก่อนที่จะหันมาทำกับข้าว
ได้อย่างเรียบร้อย ในเวลาที่ลดลงๆ
จนเธอสามารถมีเวลาว่างในแต่ละวันเพิ่มขึ้นๆ
ส่งผลให้เธอว่างเรียนรู้ภาษาไทย
อังกฤษ
แถมยังมีเวลาดูรายการทีวีที่เธอชอบและออกอากาศในเวลาต่างๆ
กัน ซึ่งเธอได้คำนวณไว้ก่อนแล้วอีกด้วย
สิ่งนั้นจะเรียกเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
นอกจาก "ความคิดสร้างสรรค์"
ฝรั่งเชื่อว่ามนุษย์เราเป็นผลผลิตของ
"พระเจ้า"
ซึ่งเป็นที่สุดของความจริง
ความงาม ความดี ความรัก
ความยุติธรรม และทุกสิ่งทั้งปวง
และในเมื่อพระเจ้าทรงมีพลานุภาพและเป็นที่สุดของการสร้างสรรค์
(ฝรั่งเรียกพระเจ้าอีกชื่อหนึ่งว่า
“Creator”)
ดังนั้นมนุษย์ย่อมได้รับ
"พรสวรรค์"
(Gift) อันนั้นมาด้วยอยู่แล้ว
แต่การจะให้ความคิดสร้างสรรค์สำแดงตนออกมานั้น
บางทีมันจำต้องอาศัยความเชื่อ
บางทีมันอาจต้องอาศัยความลำบาก
บางทีก็ความกลัวและความกล้าที่จะเอาชนะความกลัว
หรือแม้แต่ความเกลียดเองก็สามารถกระตุ้นให้
"ความคิดสร้างสรรค์"
สำแดงออกมาได้เช่นกัน
พระพุทธเจ้าเริ่มจาก
"ความทุกข์"
แล้วพระองค์ก็ทุ่มเทชีวิตแสวงหาทางดับทุกข์
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นการสำแดงตนของความคิดสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่
เพราะทำให้วิธีมองโลกหลังจากนั้นเปลี่ยนแปลงไป
(อย่างน้อยในหมู่คนฉลาดๆ
ของเอเชีย
ซึ่งต่อมายอมตนลงเป็นสาวกของพระพุทธเจ้ากันหมด
แม้ปัจจุบันสถาบันสงฆ์จะเสื่อมไปมากแล้ว
ทว่าก็ยังมีคนฉลาดอยู่เป็นจำนวนมาก....อ่านเพิ่มเติมใน "ความเป็นเช่นนั้นเอง" ของนวัตกรรม คือปัญหาของสังคมพุทธ)
J.S. Bach
เริ่มจาก
"ศรัทธา"
ดนตรีของเขาเกิดจากความศรัทธาอันยิ่งยวดและแน่นแฟ้นต่อพระเจ้า
ในชีวิตเขาแต่งเพลงไว้มากมาย
เขาแต่งเพลงทุกวัน
และคิดถึงดนตรีเกือบจะตลอด
มีเวลาก็นำมาขัดเกลา
เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศ
สำหรับพระผู้เป็นเจ้า
เพราะเขาเชื่อว่าคีตกรรมคือหนทางที่จะโน้มนำจิตวิญญาณมนุษย์ให้เข้าใกล้พระเจ้า
เดี๋ยวนี้
เมื่อเราฟังดนตรีในโบสถ์แถวยุโรปที่มีระบบเสียงชั้นดี
เราจะพบว่าดนตรีมีส่วนหนุนใจให้สัมผัสกับความงามและความไพเราะ
หรือบางทีก็ความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์บางอย่างที่อธิบายไม่ถูก...และนั่นคือคุณูปการของ
Johan
Sebastien Bach
Ludwig
Van Beethoven
มีความทุกข์และความกลัวจากการหูหนวกและโรคอื่นที่รุมเร้า
ความคิดสร้างสรรค์อันยิ่งยวดของเขา
ส่วนหนึ่งมาจากความกล้า
กล้าที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับโชคชะตา
อย่างไม่ยอมแพ้ ไม่ย่อท้อ
แม้จะหูหนวกสนิทแล้วก็ยังคงแต่งเพลง
(เขาเริ่มมีปัญหากับหูเมื่ออายุเพียง
27
และหลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงประหลาดพิกลต่างๆ
ตลอดเวลาจนเครียดและเป็นโรคอื่นตามมา)
เพื่อพิสูจน์ว่าอัจฉริยะของตัวเองนั้นยิ่งใหญ่เท่าเทียมกับพระเจ้า
(ผมเคยอ่านบันทึกของเพื่อนเขา
ซึ่งมองว่าเบโธเฟนคิดเสมอว่าศิลปินที่อัจฉริยะแบบเขานั้นถูกแต่งตั้งโดยพระเจ้า
มีสถานะเป็นตัวกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
และเขาคิดกับพระเจ้าด้วยความเท่าเทียม)
เขาต้องสู้
ต้องเอาชนะ ต้องพิสูจน์ว่าอัจฉริยะของเขาต้องทำได้
ต้องสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นอมตะให้กับมนุษยชาติได้
โดยเขาสามารถได้ยินเสียงในใจ
โดยไม่ต้องพึ่งหู
เขาจึงมุ่งมั่นแต่งเพลงในแบบที่ยากขึ้น
ยิ่งใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น
จนมาถึงจุดสุดยอดที่ Symphony
No. 9 ซึ่งสำหรับผมแล้ว
เป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดที่มนุษย์ได้เคยสร้างสรรค์ขึ้นมา
Beethoven
น่าจะเป็นศิลปินอัจฉริยะคนแรกที่แสดงบุคลิกแบบ
(ที่เรียกในสมัยนี้ว่า)
“เซอร์"
ทั้งในเชิงการแต่งตัว
ในเชิงการพูดจา และในเชิงกริยาท่าทาง
เขามักแต่งเพลงตอนเดิน
นึกจะตะโกนก็ตะโกน
นึกจะเห่าใส่หมาก็เห่า
นึกจะกระทืบเท้าใส่เป็นเชิงขู่วัวก็ทำ
ครั้งหนึ่งมีคนเห็นเขายืนทำไม้ทำมือที่หน้าต่าง
ทำท่าครุ่นคิด และโบกไม้โบกมือเป็นจังหวะเพลง
แต่ลืมใส่กางเกง เป็นต้น
แต่กระนั้น ผู้คนในเวียนนา
นับตั้งแต่กษัตริย์และราชินีลงมา
ก็ยกย่องในอัจฉริยะของเขา
ว่านั่นแหละคือบุคลิกที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะคั้นเอาพลังแห่งความสร้างสรรค์อันยิ่งยวด
และหาใครเปรียบได้ยาก
ในตัวเขาออกมาให้โลกได้รับรู้
กระบวนการสำแดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์มันคงยากเย็นแสนเข็ญ หนักหนา หนักหน่วง กดทับ ขึงตึง
เครียดเขม็ง แต่ในขณะเดียวกันก็ตื่นเต้น
เร้าใจ มีเสน่ห์ ใจเพรียกหา
เข้าใจยาก และพูดไม่ออก
เบโธเฟนเป็นตัวแทนของศิลปินหรือนักสร้างสรรค์และอัจฉริยะโรแมนติก
ที่ออกเซอร์ ออกบ้าๆ บอๆ
ไม่ค่อยมีเหตุมีผล แต่ฉลาด
อ่อนไหว อัจฉริยะ
และมีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก ...
เขาคือ
Role
Model ของศิลปินนักสร้างสรรค์ยุคหลัง
โดยตอนหลัง
บรรดานักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์แกมธุรกิจที่มองตัวเองว่ากำลังสร้างสรรค์งานระดับพลิกโลกและมองตัวเองว่ามีพรสวรรค์หรือความเป็นอัจฉริยะเหนือคนอื่น
อย่าง Einstein
หรือ
Edison
หรือแม้กระทั่ง
Steve
Jobs ก็พยายามเลียนแบบบุคลิกแบบนั้น...แบบที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า
"Divine
Madness” นั่นเอง
“ความรัก" ก็เป็นแรงกระตุ้นสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
พระเยซูทรงรักมนุษย์เป็นพื้นฐาน
และคำสอนของพระองค์ล้วนโฟกัสไปที่ความรักและการให้อภัย
ศรีปราชญ์และเจ้าฟ้ากุ้ง
รวมตลอดถึงสุนทรภู่
ล้วนประพันธ์โคลงกลอนอันสุดยอดของพวกท่าน
ระหว่างที่ท่านมีความรัก
หรือย้อนระลึกถึงสภาวะแห่งรักและประสบการณ์เชิงอารมณ์ในห้วงรัก
เป็นฉากหลังในการประพันธ์บทกวีอันไพเราะเพราะพริ้งเหล่านั้น....
นี่ยังไม่นับ
Shakespeare
หรือ
Goethe
หรือ
Byron
หรือ
Homer
หรือกวีอัจฉริยะของโลกผู้เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์อันยิ่งยวด
(Creative
Fecundity) อีกเป็นจำนวนมาก
“ความเกลียด"
ก็เป็นแหล่งที่มาอันหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์สัมแดงออก
Karl
Marx เป็นปราชญ์อัจฉริยะคนสำคัญของโลก
เขาเกลียดระบบทุนนิยมอย่างเข้าไส้
เขาจึงอุทิศชีวิตไปกับการปฏิวัติและครุ่นคิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการล้มล้างระบบทุนนิยม
จนเป็นที่มาของระบบคอมมิวนิสต์
ซึ่งต่อมามีอิทธิพลทางความคิดต่อคนฉลาดๆ
ในโลกจำนวนมาก
และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงและมีพลวัตอย่างที่เป็นในศัตวรรษที่
20
และยังส่งผลต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน
(การล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ
80
มีส่วนเร่งกระบวนการโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นพื้นฐานของปัจจุบัน...แม้กระนั้นก็ตาม
เดี๋ยวนี้ก็ยังคงมีประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์อยู่อีก
5
ประเทศคือ
จีน เกาหลีเหนือ ลาว เวียดนาม
และคิวบา)
“ความลำบาก”
"อัตคัต"
และ
"ข้อจำกัด"
ก็เป็นอุปสรรคหนึ่งที่กระตุ้นให้ความคิดสร้างสรรค์สำแดงออก
Ravel
ประพันธ์
Piano
Concerto for the Left Hand ให้กับนักเปียโนที่เหลือแขนข้างเดียว
และเราก็มีเรื่องรวมทำนองนี้อีกมาก
เช่นนักดนตรีแจ๊สผิวดำผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงอันยอดเยี่ยมจำนวนมากด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจที่ถูกเหยียดผิว
(Autobiography
ของ
Miles
Davis เขียนถึงเรื่องนี้ไว้แยะ)
หรือนักดนตรีระดับโลกที่พิการ
และสามารถแต่งเพลงอันงดงามอย่าง
Stevie
Wonder ก็เป็นตัวอย่างของการเอาชนะข้อจำกัด
หรืออย่างศิลปะ
Impressionist
และหลังจากนั้น
ก็พัฒนามาจากข้อจำกัดที่โลกเริ่มมีกล้องถ่ายรูป
ทำให้บรรดาศิลปินต้องแสวงหาแนวทางใหม่ในการสร้างงานศิลปะ
เพราะการเลียนแบบธรรมชาติตรงๆ
ย่อมทำได้ด้อยกว่ากล้องถ่ายรูป
เปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นนวัตกรรม:
แม้นว่าการเปลี่ยนวิธีคิดหรือจะสำคัญมาก
เพราะเป็นการเปลี่ยนแนวการมองโลก
มองชีวิต มองธรรมชาติ
มองความจริง ความงาม ความดี
ความยุติธรรม ฯลฯ
และที่สำคัญคือมองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหล่านั้น
ทว่า
การจะก่อเกิดนวัตกรรม
ที่จะงอกจากฐานความคิดใหม่นั้น
ยังต้องอาศัยเวลา
และอาศัยการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นด้วย
ที่สำคัญ
มันต้องอาศัยคนกล้าเสี่ยง
กล้าทดลอง การจัดองค์กร
การเงินที่เข้มแข็ง และการจัดการ
โดยถ้าพิจารณาในบริบทของธุรกิจ
เรามักใช้คำว่า "จิตใจแบบผู้ประกอบการ"
(Entrepreneurial Spirit)
นวัตกรรม
ต้องการงบประมาณ ต้องการการวางแผน
ต้องการกลยุทธ์ โปรแกรมการทำงาน
ต้องการทีมงาน และการบริหารจัดการ
ยกตัวอย่าง
Thomas
Edison ที่ยกมาข้างต้น
แม้เขาจะเปลี่ยนวิธีคิดแล้ว
(ว่าจะสร้างไฟโดยไม่เผาอะไร)
แต่กว่าที่เขาจะผลิตหลอดไฟฟ้าออกมาสำเร็จ
เขาต้องผ่านกระบวนการลองผิดลองถูกอย่างลำบากแสนเข็ญ
และกว่าที่สิ่งประดิษฐ์ของเขาจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายได้
และมาช่วยเพิ่มความสะดวกสะบายให้กับมนุษย์ได้ทั่วโลกนั้น
มันยังจะต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน
โดยเขาต้องหาผู้ร่วมทุน
เพื่อสร้างธุรกิจ หาผู้บริหารที่เก่ง
ฯลฯ
แต่ในที่สุดเขาก็ทำสำเร็จ
ด้วยการก่อตั้งโรงงานและกิจการอันหลากหลาย
และพัฒนามาเป็น General
Electric ซึ่งยังคงเป็นกิจการยักษ์ใหญ่ของโลกในปัจจุบัน
แต่จะมีนักประดิษฐ์
หรือนักสร้างสรรค์ที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างยิ่งยวด
(คือสามารถเปลี่ยนวิธีคิดหรือแนวการมองสิ่งต่างๆ
แบบหักมุมอย่างยิ่งใหญ่)
ที่จะสามารถเป็นได้แบบ
Edison
ส่วนใหญ่คิดแล้วจบ ไม่สามารถนำความคิดใหม่นั้นมา
"ต่อยอด"
สร้างให้เกิดเป็น
"นวัตกรรม"
(Innovation) ใหม่ของโลกได้
"นวัตกรรม"
ยังต้องรอให้คนอื่นซึ่งมี
"จิตใจแบบผู้ประกอบการ"
มาสร้างให้เกิดขึ้น
Steve
Jobs หรือ
Jeff
Bezos คือคนในแบบที่จะมาเติมเต็มช่องว่างอันนั้น
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่จะก่อเกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่
ย่อมต้องเกิดเป็นสองขั้นตอน
คือเปลี่ยนแนวคิด
และต่อยอดจากแนวคิดที่เปลี่ยนนั้นให้เป็นนวัตกรรม
ขั้นตอนแรกต้องอาศัย
"ความคิดสร้างสรรค์"
สูง
แต่ขั้นตอนที่สองต้องอาศัย
“จิตใจแบบผู้ประกอบการ”
และ "ความสามารถในการจัดการ"
นวัตกรรม
ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องดีหรือถูกทำนองคลองธรรมเสมอไป
เฮโรอิน
วิสกี้ ไวอากร้า เซ็กทอย
คาสิโน ระเบิดปรมาณู
หรือแม้กระทั่งการโฆษณาชวนเชื่อ
(ที่ต้องอาศัยการโกหก
หลอกลวง)
ล้วนเป็นนวัตกรรมสำคัญของโลก
หรือแม้กระทั่ง
"ตำรวจลับ"
หรือ
"รัฐตำรวจ"
ในแบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบันก็ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญทางการปกครอง
(แบบเผด็จการ)
เช่นกัน
ตำรวจลับสมัยใหม่ในแบบที่เรารู้จักกันในบัดนี้
แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีต้นแบบมาจากตำรวจลับของจักรพรรดินโปเลียน
(Napoleon
Bonaparte) ภายใต้การสร้างสรรค์และบริหารจัดการโดย
Joseph
Fouche
โดยหลังจากปี
1799
หรือ
พ.ศ.
2342 ราวปลายรัชกาลที่
1
เมื่อนโปเลียนทำรัฐประหารแล้ว
เขาก็จัดตั้งหน่วยงานตำรวจลับทันที
ด้วยมีเป้าหมายกำจัดฝ่ายตรงข้าม
คือไม่ต้องการให้เกิดพรรคฝ่ายค้าน
หรือกลุ่มคัดค้านการปกครองของเขาอย่างเปิดเผย
Fouche
ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงตำรวจ
(ต่อมาเป็นกระทรวงมหาดไทย)
จึงจัดตั้งสายลับ
(Agents
Provocateur) นอกเครื่องแบบจำนวนมาก
ให้ทำตัวปะปนกับฝูงชนหรือเป้าหมาย
คอยสืบข่าว สะกดรอย หลอกล่อ
(ให้ฝ่ายตรงข้ามเผยตัวเพื่อจะได้ยัดข้อหาถนัด)
จัดทำรายงาน
หรือแม้กระทั่งล่าสังหาร
ศัตรูทางการเมืองของนโปเลียน
และเมื่อนโปเลียนทำสงครามขยายอาณาจักร
บุกยึดและเข้าไปปกครองเพื่อนบ้าน
หน่วยงานนี้ก็ตามไปทุกที่
อีกทั้งยังขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบไปจนถึงการใช้จารชน
การสืบข่าวเพื่อประโยชน์ในเชิงการสงครามและทางการทูต
จึงกลายเป็นต้นแบบของ Spy
ระดับชาติในเวลาต่อมา
ตำรวจลับภายใต้
Fouche
มีชื่อเสียงในทางน่ากลัวและทรงประสิทธิภาพมาก
ช่วยให้นโปเลียนเผด็จอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จได้ตลอดรัชสมัย
จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้เผด็จการในยุคต่อมา
เมื่อขึ้นสู่อำนาจได้แล้ว
เป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานตำรวจลับของตัวเองขึ้น
ตามแบบอย่างของฟูเช่
เลนิน
จึงมี Cheka
และ
OGPU
ภายใต้
Felix
Dzerzhinsky
ฮิตเลอร์
ก็มีหน่วย SS
(Schutzstaffel)
และ
Gestapo
ภายใต้
Heinrich
Himmler และสตาลินก็มี
NKVD
ภายใต้
Lavrentiy
Beria
ซึ่งต่อมาเยอรมนีตะวันออกในยุคสงครามเย็นเลียนแบบมาเป็นหน่วย
Stasi
อันโด่งดัง
เหมาเจ๋อตง มีคังเซิน
และจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
ก็มีหน่วยสันติบาล
ภายใต้การบริหารจัดการของ
พลตำรวจเองเผ่า ศรียานนท์
เหล่านี้ล้วนเลียนแบบมาจากนวัตกรรมของฟูเช่ทั้งสิ้น
รวมพลังเพื่อเปลี่ยน:
การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังจึงต้องเกิดจากการร่วมกันของคนสองแบบ
คือนักสร้างสรรค์ที่เด่นทางด้านการคิดสร้างสรรค์
หรือคิดต่าง คิดแหวกกรอบ
สร้างกระบวนทัศน์ แนวคิด
หรือไอเดียใหม่
คือคิดถึงระบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
ผนวกกับนักสร้างนวัตกรรม
ที่นำความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้น
มา ต่อยอด บด ผสม เคี้ยว เสริม
เติม แต่ง และบริหาร จัดการ
ให้ไอเดียนั้นก่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือระบบการผลิตหรือสถาบันทางสังคม/การเมือง ฯลฯ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
นิสัยสองแบบนี้อาจอยู่ในตัวคนๆ เดียวก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มันมักจะไม่ไปด้วยกัน
ดังนั้น
ถ้าท่านรู้ตัวเองว่า
ท่านเป็นคนแบบแรก
ท่านต้องหาคู่หูที่เป็นแบบหลัง
และถ้าท่านถนัดแบบหลัง
ท่านต้องหาคู่หูเป็นคนแบบแรก
มันถึงจะเกิด "พลังผนึก"
หรือ
Synergy
อย่าลืมว่า
แบบแรกท่านเก่งคนเดียวได้
แต่แบบหลังท่านต้องทำงานเป็นทีม
ท่านเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องเป็น
Hewlett-Packard,
Ernst & Young, Goldman Sachs, Morgan Stanley, Roll-Royce, Pratt &
Whitney, Bang & Olufsen หรือแม้แต่
TCC
ของเจริญ
สิริวัฒนภักดี
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
15
พ.ค.
57
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือน พ.ค. 2557
(1)
Descartes เขียนประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจในบทที่สอง
ย่อหน้าที่สี่ของ Discourse
on the Method of Rightly Conducting and Seeking for Truth in the
Sciences ว่า
“I
also considered how very different the self-same man, identical in
mind and spirit, may become, according as he is brought up from
childhood amongst the French or Germans, or has passed his whole life
amongst Chinese or cannibals. I likewise noticed how even in the
fashions of one's clothing the same thing that pleased us ten years
ago, and which will perhaps please us once again before ten years are
passed, seems at the present time extravagant and ridiculous. I thus
concluded that it is much more custom and example that persuade us
than any certain knowledge, and yet in spite of this the voice of the
majority does not afford a proof of any value in truths a little
difficult to discover, because such truths
are much more likely to have been discovered by one man than by a
nation.
I could not, however, put my finger on a single person whose opinions
seemed preferable to those of others, and I found that I was, so to
speak, constrained myself to undertake the direction of my
procedure.” ผู้สนใจอ่านฉบับเต็มได้ที่
www.marxists.org/reference/subject/philosophy/works/fr/descarte.htm