หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร
เทวกุล หรือ "หม่อมอุ๋ย"
เป็นสมาชิกของราชวงศ์จักรีเพียงคนเดียวที่ออกหน้าอยู่กับ
คสช.
ในฐานะที่ปรึกษาใหญ่ทางเศรษฐกิจ
และอาจได้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลของ
พลเอกประยุทธ์ จันโอชา
ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ซึ่งถ้าได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจริง เขาก็จะมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจภาพรวม
การค้าระหว่างประเทศ
การจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน การลงทุน
ตลาดเงินตลาดทุน
และทรัพย์สินทั้งมวลของรัฐ
เรียกว่าเป็น
"ซาร์เศรษฐกิจ"
ผู้ที่จะขึ้นมากุมหางเสือของนโยบายและความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยนับแต่นี้
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง
ก็น่าจะนับได้ว่าเขาเป็นสมาชิกของราชวงศ์จักรีคนแรก
ที่สามารถไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจทางเศรษฐกิจถึงขั้นนี้ได้
นับแต่หลัง พ.ศ.
2475 เป็นต้นมา
แต่ไหนแต่ไรมา
แม้ในหมู่สมาชิกของราชวงศ์จักรี
จะมีผู้ปรีชาสามารถในด้านต่างๆ
จำนวนมาก ทว่า ยากจะหาผู้ชำนาญทางด้านเศรษฐกิจ
แน่นอน
วรรณะกษัตริย์ย่อมไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการค้าขายและหมุนเงินหมุนทอง
ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
จึงอยู่ในมือขุนนาง
โดยเฉพาะตระกูลบุนนาค
และในยุคปฏิรูปใหญ่สมัยรัชกาลที่
5
เป็นต้นมา
แม้เสนาบดีกระทรวงเศรษฐกิจจะเป็นเจ้านายหรือขุนนาง
ทว่า การตัดสินใจสำคัญๆ
ย่อมขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาฝรั่งเสียเป็นส่วนใหญ่
เป็นแบบนั้นมาจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่
7
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเคยมีพระดำริว่า
เสนาบดีกระทรวงพระคลังนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ขอเพียงให้ไว้วางพระทัย
(และพระราชหฤทัย)
ได้เป็นพอ
นั่นน่าจะสะท้อนความเห็นของสมาชิกราชวงศ์ชั้นสูงที่ปกครองบ้านเมืองนับแต่สมัยรัชกาลที่
5
เป็นต้นมา
สมาชิกที่โดดเด่นและทรงมีผลงานทางด้านนี้ค่อนข้างมากมีอยู่เพียงพระองค์เดียวคือกรมพระจันทบุรีนฤนาถ
ซึ่งรัชกาลที่ 5
เคยตรัสว่าเหมาะกับงานด้านนี้
เพราะ "เป็นลูกเจ๊ก"
แต่ก็ทรงขัดแย้งกับรัชกาลที่
6
อย่างแรง
จนต้องทรงลาออกจากราชการกลางคัน
ส่วนกรมหมึ่นสรรควิสัยนรบดี
ซึ่งเป็นคนไทยที่สำเร็จปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์จากเยอรมนีเป็นคนแรก
แต่ก็มิได้ทรงงานทางด้านนี้โดยตรง
และทรงปลิดชีพพระองค์เองตั้งแต่พระชนมายุเพียง
28
พรรษาเท่านั้นเอง
สมัยรัชกาลที่
7
ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่
ราคาข้าวและดีบุกตกต่ำ
ส่งออกได้น้อยลงเพราะเศรษฐกิจโลกวิกฤติ
จนรัฐบาลอังกฤษต้องประกาศถอนตัวออกจากมาตราฐานทองคำ
ทำให้เงินบาทแข็งค่า
(เพราะไทยตัดสินใจอยู่กับข้อตกลงมาตรฐานทองคำต่อไป)
และเกิดปัญหาขาดดุลงบประมาณในที่สุด
เพราะจัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า
รัชกาลที่
7
ทรงเชื่อที่ปรึกษาฝรั่งว่าต้องตรึงค่าเงินบาท
ไม่ควรลด และไม่ควรใช้นโยบายขาดดุลแบบเคนส์
(ผมหมายถึง
John
Maynard Keynes) แต่ให้จัดเก็บภาษีชนิดใหม่ๆ
เพิ่มเติม
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ที่เก็บเอาจากผู้มีรายได้ประจำ
ซึ่งกระทบต่อบรรดาข้าราชการอย่างจัง
แถมยังให้รัดเข็มขัดทุกด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ
และที่แย่คือสั่งปลดข้าราชการออกเพื่อปรับให้งบประมาณ
"ได้ดุลย์"
ทำให้ข้าราชการไม่พอใจกันมาก
โดยเฉพาะพวกทหาร (เหตุการณ์ครั้งนั้น
ถูกกล่าวขานกันในเวลาต่อมาว่าเป็นการ
"ดุลย์ข้าราชการออก")
ว่ากันว่า
นโยบายเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการยึดอำนาจของคณะราษฎรในวันที่
24
มิถุนายน
2475
ก่อนหน้านั้นเพียง
4
เดือน
รัชกาลที่ 7
เคยทรงพระราชดำริถึงความไม่รู้ไม่เชี่ยวชาญของพระองค์เองไว้ว่า
"The
financial war is a very hard one indeed. Even expert contradict one
another until they become hoarse. Each offer a different suggestion.
I myself do not profess to know much about the matter and all I can
do is listen to the opinions of others and choose the best. I have
never experienced such a hardship; therefore if I have made a mistake
I really deserve to be excused by the officials and people of Siam.”
(อ้างจาก
“The
End of the Absolute Monarchy in Siam” Benjamin A. Batson
หน้า
187
Oxford University Press, 3rd. 1986)
โจทย์เศรษฐกิจของไทยวันนี้ที่หม่อมอุ๋ยจะต้องเข้ามาแก้
นับว่ายังไม่เลวร้ายเหมือนช่วงก่อน
2475
แต่ก็ไม่ง่ายนัก
การจัดเก็บรายได้เริ่มเป็นปัญหาใหญ่ในภาวะเช่นนี้
ทว่า บทเรียนของ 2475
ทำให้ไม่เคยมีรัฐบาลไหนอีกเลยที่กล้าปลดข้าราชการออก
หรือแม้แต่ลดเงินเดือนข้าราชการก็ยังไม่กล้าทำ
(นอกจากพลเอกประยุทธ์จะไม่ยอมลดเงินเดือนข้าราชการแล้ว
ยังประกาศเพิ่มเงินเดือนข้าราชการอีกด้วย)
ดังนั้น
รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์คงต้องจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม
ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีมรดก
และ ฯลฯ รวมทั้งการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยเหล่านี้
หม่อมอุ๋ยจะต้องเข้ามารับหน้าแบบเต็มๆ
ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่น่าหนักใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคายางพารา
ซึ่งในที่สุดรัฐบาลคงต้องเข้าไปแทรกแซงราคาหรือใช้มาตราการอื่นซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือ
นี่ยังไม่นับปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ส่วนบุคคล
ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้โดยเร็ว
ก็จะเหนี่ยวรั้งการเติบโตของระดับการบริโภคโดยรวมอย่างมิต้องสงสัย
การหดตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจภาพรวมก็เป็นปัญหาหนึ่งที่น่าเป็นห่วง
การถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีจากประเทศคู่ค้าสำคัญซึ่งไม่ยอมรับการรัฐประหาร
รวมถึงการสูญเสียความสามารถเชิงแข่งขันในเชิงการผลิตให้กับจีนและประเทศเพื่อนบ้าน
ที่ตอนหลังสามารถปรับตัวและวิ่งไล่กวดเรามาติดๆ
ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเชีย
ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม
หรือแม้กระทั่งพม่า
ปัญหานี้เป็นปัญหาโครงสร้างที่ส่งผลทั้งระยะสั้น
กลาง และยาว
สองปีมาแล้วที่เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าอัตราเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจโลก
นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่เราถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
เราเคยเจ๋ง
เคยอยู่แนวหน้าในหมู่ประเทศ
Emerging
Market สถานการณ์ของโลกเคย
"Plays
on Strengths" ของเราเสมอมา
ทุกคนคิดว่าเราสงบ
มีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทรงประสิทธิภาพ
และคนงานมีทักษะ
ขยันขันแข็ง...แต่ปัจจุบัน
จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบทุกด้านที่กล่าวมานั้น
เผลอแป๊บเดียว
มันกลับกลายเป็นจุดอ่อนของเราไปเสียแล้ว
สังคมไทยไม่สงบ
โครงสร้างพื้นฐานเริ่มเก่าและติดขัดไปหมด
ทั้งถนนหนทาง ท่าเรือ
ท่าอากาศยาน และที่สำคัญคือรถไฟ
แรงงานก็ขาดแคลน เด็กเกิดใหม่น้อยลงมาก
สินค้าจากโรงงานที่เราเคยผลิตได้ด้วยต้นทุนถูกๆ
ก็กลายเป็นแพง
เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น...ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้พัฒนาการที่ประเทศคู่แข่งของเราปรับตัวดีขึ้นแยะ
ที่เคยจมอยู่กับสงครามกลางเมืองหรือระบบเผด็จการทหารอย่างล้าหลัง
ก็เลิกและหันมาค้าขายกับโลกและแข่งขันกับเราในเชิงของการแย่งชิงเงินลงทุนที่เป็น
Hard
Currencies
โลกทุกวันนี้
"Plays
on Weaknesses” ของเราไปเสียแล้ว
เหล่านี้
นอกจากจะรอคอยให้หม่อมอุ๋ยเข้ามาแก้ไขแล้ว
ยังรอคอยให้หม่อมอุ๋ยเข้ามาสร้างเสริมเพิ่มเติมและขึ้นเค้าโครงใหม่ให้กับประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจสำหรับอนาคตอีกด้วย
นับเป็นภาระกิจที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์และความสามารถในการมองการณ์ไกล
พ้นไปจากผลประโยชน์เชิงการเมืองเฉพาะหน้า
เฉกเช่นเดียวกับที่บรรดาสมาชิกของราชวงศ์ในสมัยรัชกาลที่
5
ซึ่งถือเป็นคนรุ่นปู่ของหม่อมอุ๋ย
เคยขึ้นเค้าโครงใหม่ให้กับประเทศมาแล้วในครั้งกระโน้น
หม่อมอุ๋ยเป็นบุตรของ หม่อมเจ้าปรีดีเทพย์พงษ์
เทวกุล
อดีตนายทหารคนสนิทของ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
กับชายาลำดับที่ 3
คือ หม่อมแตงไทย
เดชผล ประสูตรเมื่อพระบิดาทรงมีพระชนมายุได้
54
พรรษาแล้ว
เขาเป็นน้องชายต่างมารดาของ
มรว.หญิงสำอางวรรณ
มารดาของ บัณฑูร ล่ำซำ
เรียนจบเซนต์คาเบรียล
เป็นรุ่นน้องของ พลเอกประวิตร
วงศ์สุวรรณ เพียง 1
ปี
หลังจากนั้นเข้าศึกษาที่คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และโดยบารมีของ ดร.ป๋วย
อึ้งภากรณ์ ซึ่งนับเป็นญาติในสายล่ำซำ
เขาก็ได้ไปศึกษาต่อที่
Wharton
School of Business
ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกทางด้านเศรษฐกิจ
บริหารธุรกิจ และการเงิน
จนจบ MBA
เมื่อปี
2513
เขาร่วมสร้างธนาคารกสิกรไทยกับ
บัญชา ล่ำซำ พี่เขย
จนไต่เต้าขึ้นเป็นเบอร์สองของธนาคาร
สมัยโน้นเขาเป็นที่เกรงขามของพนักงานมาก
โดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ๆ
ที่หัวก้าวหน้า รวมทั้งนักเรียนทุน
ซึ่งแม้เมื่อเวลาทำงานจะเกรงกลัวเขาเอามากๆ
แต่เมื่อเวลาผ่านไปและหวนคิดกลับไปก็จะรักเขา
เพราะล้วนได้รับความรู้และการสอนงานอย่างเข้มข้นกันมาจากความเข้มงวดของเขาในสมัยนั้น
เขาต้องระเห็ดออกจากกสิกรเมื่อบัณฑูรขึ้นมากุมบังเหียนหลังจากมรณกรรมของบัญชา
แต่ก็เป็นเสมือน Blessing
in Disguise
เพราะไม่นานเขาก็มาได้งานทางการเมืองครั้งแรกในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณ ซึ่งถือเป็นช่วง
"ขาขึ้นมากๆ"
ของเศรษฐกิจไทย
การได้งานครั้งนั้นเป็นผลมาจากการผลักดันของกลุ่มที่ปรึกษาหนุ่ม
"บ้านพิษณุโลก"
เพราะพวกเขาเหล่านั้นลงความเห็นกันว่าหม่อมอุ๋ยนี่แหละ
เป็นคนที่สามารถพูดเรื่องเศรษฐกิจยากๆ
ให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายๆ
ได้
ความสนิทสนมกับคณะที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลกในครั้งกระโน้น
จะเป็นที่มาของการได้ตำแหน่งใหญ่โตในเวลาต่อมา
คือตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในสมัยของรัฐบาลทักษิณ
1
ซึ่งมี
พันศักดิ์ วิญญรัตน์
เป็นที่ปรึกษาใหญ่
อย่างไรก็ตาม
สถานะความเป็นสมาชิกของราชวงศ์ก็นับเป็นจุดแข็งของหม่อมอุ๋ย
สังเกตุว่าหลังจากการยึดอำนาจของ
รสช.
ภายใต้การนำของ พลเอกสุจินดา
คราประยูร
เขาก็มีบทบาทอย่างมากต่อการตัดสินใจของพลเอกสุจินดาในการเลือกเอา
อานันท์ ปันยารชุน
มาเป็นนายกรัฐมนตรี
และเขาเองก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในรัฐบาลนั้นด้วย
ในทางการเมืองแล้วเขาเข้าได้ทุกฝ่าย
ว่ากันว่า
เขาเคยเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับ
เปลว สีเงิน ในระยะแรกที่เปลวออกจาก
ไทยรัฐ มาก่อตั้งหนังสือพิมพ์ของตัวเอง
และการที่เขาได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีคลังในรัฐบาลของ
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก็แสดงให้เห็นว่า พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์ และบุคคลระดับสูงสนับสนุนเขาเต็มที่
ทว่า
การที่เขาลาออกกลางคันแบบกระทันหัน
ย่อมแสดงให้คนทั่วไปเห็นว่าเขา
Sensitive
ต่อการที่พลเอกสุรยุทธ์ตั้ง
สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์
ให้เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
นั่นแสดงว่าเขาระแวงและมองสมคิดว่าเป็นคู่แข่งสำคัญของเขาทางด้านการเมือง
ด้วยชาติกำเนิดแล้ว
สมคิดเทียบกับเขาไม่ได้
แต่ด้วยชาติกำเนิดอีกเช่นกัน
ที่ทำให้สมคิดสนิทสนมกับพ่อค้าเชื้อสายจีน
และได้รับการสนับสนุนจากพวกเขาในฐานะ
“Power
Broker” ทั้งจากสมาคมหอการค้า
สมาคมอุตสาหกรรม และสมาคมธนาคารไทย
ซึ่งถือเป็นตัวแทนของนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนที่กุมอำนาจเศรษฐกิจไทยอยู่อย่างเบ็ดเสร็จ
นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ส่งให้ชื่อของสมคิดเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาของ
คสช.
เช่นเดียวกัน
ในฐานะคนรุ่นหลังที่นับถือในฝีมือเชิงเศรษฐกิจของทั้งคู่
ผมคิดว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์มาก
หากบุคคลทั้งสองสามารถทำงานร่วมกันได้
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
27
สิงหาคม
2557
หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นก่อนจะมีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรี
ภาพประกอบจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยของแก่น
หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นก่อนจะมีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรี
ภาพประกอบจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยของแก่น