อาชีพนักข่าวแบบผม
ถ้ายังคงสนุกกับการทำข่าวไปเรื่อยๆ
โดยไม่ยอมเกษียณ
วันหนึ่งก็จะพบว่าตัวเองแก่
เพราะแหล่งข่าวที่เราออกไปพบไปสัมภาษณ์จะเริ่มเด็กกว่าเรา
ครั้งแรกที่ผมเริ่มรู้สึกแก่
ก็คือตอนที่ผมสัมภาษณ์คุณยิ่งลักษณ์
ชินวัตร และนาวาตรีอนุดิษฐ์
นาครทรรพ
อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และพบว่าทั้งคู่อายุน้อยกว่าผม
นับแต่นั้นมาผมก็เลิกคิดว่าตัวเองยังคงเป็นคนหนุ่ม
และเริ่มฝึกวิธีคิดของตัวเองให้ชินกับสถานะทางความคิดที่ว่า
"ตัวเองเริ่มแก่แล้วน๊ะ"
อาจารย์สุลักษณ์
ศิวรักษ์ เคยบอกกับผมระหว่างสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า
"พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่าคนเรานั้น
เกิดรู้แต่ตายไม่รู้
ดังนั้นเราต้องพร้อมที่จะตายทุกเมื่อ
ทางธิเบตเขาก็มี
การเตรียมตัวตายอย่างมีสติ
อย่างที่ท่านพุทธทาสเคยพูดว่า
ตายเสียก่อนตาย
นั่นแหละ"
กระนั้นก็ตาม
ความเศร้าอย่างหนึ่งของคนแก่
นอกจากการสูญเสียเพื่อนฝูงที่ทะยอยตายจากไปแล้ว
ผมว่ามันคือการได้เห็นคนที่อายุน้อยกว่าเราตายจากไป
ผมเศร้าทุกครั้งที่ต้องเห็นลูกต้องมาตายจากไปก่อนพ่อแม่
ผมเศร้าใจแทนพ่อแม่เหล่านั้น
ผมเขียนเรื่องนี้
เพราะผมได้อ่านรายชื่อผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งทางการเมืองรอบนี้และพบว่าหลายคนในจำนวนนั้นอายุน้อยกว่าผมเสียอีก
ผมยิ่งเศร้าใจเพราะมันเป็นการสังหารกันเองระหว่างคนไทยด้วยกัน
จากความขัดแย้งที่บรรดาผู้นำมีส่วนสำคัญในการสร้างและขยายผลมันขึ้นมา
ผมเศร้าและผิดหวังกับบรรดาผู้ใหญ่ของบ้านนี้เมืองนี้
ว่าทำไมไม่สามารถจัดการกับความขัดแย้งด้วยวิธีสันติ
แบบที่ผู้คนในประเทศอารยะเขาทำกัน
ผมเห็นด้วยกับ
น.พ.ระเฑียร
ศรีมงคล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบัตรเครดิตกรุงไทยฯ
ที่บอกกับเราว่าตอนนี้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของเรามันได้กลายเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ค่อนข้างถาวรไปแล้ว
ซึ่งมันไม่เคยเกิดมาก่อน
ทำให้ต่างชาติเริ่มกังวลและมองว่าปัญหานี้คงจะอยู่คู่กับสังคมไทยไปอีกนาน
เพราะความขัดแย้งในสังคมมันร้าวลึกเข้าไปในใจคน
มีการแบ่งข้างอยู่ในทุกองค์กร
ทุกครอบครัว
และจำนวนมากพร้อมที่จะห่ำหั่นกันด้วยกำลัง
และด้วยความที่ผมได้ศึกษาประวัติของสงครามกลางเมืองที่เคยเกิดขึ้นในสังคมอื่นมาแล้วไม่น้อย
ผมจึงหวั่นใจอยู่ลึกๆ
ว่าความขัดแย้งของสังคมไทยในดีกรีขนาดนี้
อาจจะนำไปสู่สงครามกลางเมืองย่อมๆ
เข้าสักวันหนึ่ง
ประวัติศาสตร์สอนเราว่า
"ผู้นำ"
เท่านั้นที่จะช่วยให้สังคมที่มีความตึงเครียดระดับนี้เปลี่ยนผ่านไปได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อมากนัก
นับแต่นี้ไป Leadership
จึงสำคัญมาก
ผมหมายถึง
Leadership
แบบทั่วด้าน
หรือ "คณะผู้นำ"
คือมิได้จำกัดเฉพาะแต่การเมือง
ทว่าหมายรวมถึงผู้นำของทุกองค์กร
ทั้งภาคธุรกิจ ภาคเอกชน
ตุลาการ องค์กรอิสระ ข้าราชการ
รัฐวิสาหกิจ สถาบันพระมหากษัตริิย์และเครือข่าย
หรือแม้กระทั่งผู้นำครอบครัว
ผู้นำจะต้องทำตัวให้สมกับเป็นผู้นำ
ต้องทำในสิ่งที่ควรทำและหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะนำไปสู่หรือสนับสนุนให้เกิดสงครามกลางเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางการเมืองและผู้ที่มีส่วนกุมอำนาจรัฐทั้งอย่างเปิดเผยและในทางลับ
การเมืองในภาวะวิกฤติแบบนี้
ไม่ใช่การเมืองบนกระดานหมากรุก
ที่ต้องเอาชนะคะคานกันโดยไม่แคร์ว่าจะสูญเสียเบี้ยเพื่อรักษาโคน ยอมเสียโคนเพื่อรักษาขุน
หรือเป็นการเมืองแบบ "นี่พวกกู
นั่นพวกมึง"
แต่งตั้งแต่พวกตนเอง
แต่เป็นการเมืองที่ต้องหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ร่วมกันทำงานโดยเปิดโอกาสให้คนเก่งที่สุดได้แสดงฝีมือในแต่ละจุดที่เขาเชี่ยวชาญ ประนีประนอมกันเพื่อหา Solutions ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รักษาน้ำใจกัน เปิดใจพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและรู้จักจัดการกับความเปลี่ยนแปลงอย่างทรงประสิทธิภาพ
แต่เป็นการเมืองที่ต้องหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ร่วมกันทำงานโดยเปิดโอกาสให้คนเก่งที่สุดได้แสดงฝีมือในแต่ละจุดที่เขาเชี่ยวชาญ ประนีประนอมกันเพื่อหา Solutions ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รักษาน้ำใจกัน เปิดใจพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและรู้จักจัดการกับความเปลี่ยนแปลงอย่างทรงประสิทธิภาพ
ที่สำคัญคือต้องรู้จักเสียสละ
ยิ่งใหญ่
ยิ่งสูง ยิ่งต้องเสียสละ
และพร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลงอันสร้างสรรค์
ก่อนจะจบบทความนี้
ผมใคร่ขอยกเอาข้อความที่เคยเขียนไว้เมื่อ
28
มิถุนายน
2554
เมื่อรู้ว่าคุณยิ่งลักษณ์จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เพราะผมคิดว่ามันเหมาะกับการนำมาอ่านใหม่ในช่วงนี้
ในครั้งนั้น
ผมได้แสดงความกังวลแบบนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว
และได้เสนอแนะให้คุณยิ่งลักษณ์ทำ
4
ข้อ
ที่ผมคิดว่าจะช่วยแก้ไขความแตกแยกในใจคนไทยได้คือ 1. แสวงหาสิ่งที่หายไปให้กลับคืนมา 2. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดให้ใช้ได้อีก 3. รู้จักใช้คน 4. รู้จักใช้เงิน
และ....
และ....
"…..แน่นอน
หลายปีมานี้ Information
ที่ได้มา
ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดความไม่สงบใจและยากจะวางใจต่ออนาคต
(อันที่จริง
ผมได้ศึกษาเรื่องสงครามกลางเมืองครั้งสำคัญของต่างประเทศ
และเขียนคู่มือการดำรงชีวิตท่ามกลางสงครามกลางเมืองไว้แล้ว
ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เดือนพฤษภา
53
และผมว่าเนื้อหาก็ยังสมสมัยอยู่...ผู้สนใจคลิดอ่านได้จากบทความชื่อ
"อยู่ท่ามกลางสงครามกลางเมือง"
และ
"สงครามกลางเมือง...ใช่ว่าฆ่ากันแล้วจะจบ
ซะเมื่อไหร่"
ใน
www.mba-magazine.blogspot.com)
แต่ผมก็เหมือนกับนักเขียนเรื่องหนักๆ
จริงจังทั่วไปนั่นแหละครับ
ที่ชอบอ้างอิงข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี
พวกเราพอใจไปงานศพยิ่งกว่างานแต่งงาน
พวกเรามักเขียนอะไรที่มัน
Inspire
fear
ให้เกิดขึ้นในใจของผู้อ่านที่
respect
ข้อเขียนของพวกเรา
ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อให้เกิดสติและตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท
คนไทยช่วงนี้
มี Negative
Thought
อยู่ในใจแยะ
และต่างก็มี Low
Opinion
ต่อกันและกัน
ถ้าไม่ระวัง และได้ผู้นำที่แย่
สถานการณ์อาจถูกฉุดให้เลวร้ายลงจนแก้ไขไม่ได้
ระยะหลังมานี้
ผมอ่านเอกสารที่เกี่ยวกับ
American
Revolution
และศึกษาชีวประวัติของผู้นำอเมริกันยุคแรกมาจนยุค
Civil
War โดยผมตั้งคำถามว่า
ทำไมสังคมอเมริกันและผู้นำอเมริกันก่อนสงครามกลางเมือง
จึงปล่อยให้สถานการณ์ Drag
down the drain ลงเรื่อยๆ
จนสุดท้ายก็ต้องฆ่าแกงกันอย่างมโหฬาร
จนขมขื่นอยู่นาน กว่าจะเยียวยากันหาย
ผมประทับใจในปฏิปทาของผู้นำยุคแรก
โดยเฉพาะนายพลวอชิงตัน
ที่ช่วยกันประคับประคองระบอบใหม่ให้ดำเนินไปตามความคาดหวังและอุดมการณ์ของพวกเขา
และหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเข้าหักหาญเอาอำนาจ
สหรัฐอเมริกาโชคดีที่ได้ผู้นำรุ่นแรกเก่ง
พวกเขามาจากครอบครัวชนชั้นนำของแมสสาชูเซ็ตและเวอร์ยิเนีย
ฉลาด มีความเป็นปัญญาชน
และอ่านหนังสือหนังหากันมามาก
เรียกว่าตั้งแต่ Washington,
John Adam, Jefferson, Madison, Munroe, John Quincy Adam เหล่านี้
ล้วนมาจากชนชั้นสูง
เป็นนักอ่านและยึดมั่นหลักการประชาธิปไตยอย่างมั่นคง
นายพล
Jackson
เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากชนชั้น
“คนรวยใหม่”
แต่ก็ยึดปณิทานแน่วแน่และเป็นคนเฉียบขาด
แต่หลังจากนั้นก็เริ่มรวนเร
และไม่สามารถบริหารเศรษฐกิจให้ดีได้กับคนทั่วประเทศ
อีกทั้งยังไม่ aware
หรือไม่ยอมแก้ไขความขัดแย้งในสังคมอเมริกันโดยรวมได้
จนสุดท้ายความไม่พอใจและความเกลียดชังก็แผ่ออกทุกหย่อมหญ้าจนต้องจับอาวุธขึ้นประหัตประหารกัน
ท่านผู้อ่านที่สนใจ
ลองอ่านเอกสารที่เชื่อถือได้ของยุคนั้นดูก็ได้
ลองดูไล่มาตั้งแต่ Martin
Van Buren, Henry Clay, Daniel Webster, William Harrison, John Taylor,
James Polk, Zachary Taylor, Millard Fillmore, Franklin Pierce, และ
James
Buchanan โดยเฉพาะก็สองคนหลังนี้
ที่ไม่สามารถนำให้ราษฎรเลี่ยงการฆ่าฟันกันได้สำเร็จ
เพราะพวกเขามองเป็นเรื่องความขัดแย้งธรรมดา
ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
และยังเล่นการเมืองเชิงผลประโยชน์ของตัวและพวกใครพวกมันอยู่อย่างเดิม
ตอนที่
Lincoln
เข้ามา
ทุกอย่างก็สายเสียแล้ว
แต่ผมก็นับถือลิงคอนเมื่อศึกษางานของเขามากขึ้น
ทว่าเมื่อลิงคอนตาย Andrew
Johnson
กลับทำลายสิ่งที่ลิงคอนอุตส่าห์สร้างมาด้วยเลือดและชีวิต
นโยบาย “ปรองดองและฟื้นฟู”
ของเขาล้มเหลวไม่เป็นท่า
(ลองอ่าน
“จดหมายจากอดีตทาส”
ที่ผมเคยนำมาตีพิมพ์ดูใน
www.mba-magazine.blogspot.com)
และคนต่อมา
วีรบุรุษสงคราม Ulysses
Grant
แม้จะเป็นนักการทหารที่เก่งแต่เป็นนักการเมืองที่แย่
เพราะนอกจากใช้คนแวดล้อมที่อ่อนแล้ว
ยังโกงอีกด้วย
นายกรัฐมนตรีไทยนับแต่นี้ไปต้องสำเหนียกเรื่องทำนองนี้ไว้ให้ดี
อย่าให้มัน drag
down จนลงหล่มโคลน
ผมอยากฝากแนวทางง่ายๆ
สำหรับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไว้
4
ข้อ
คือ 1.แสวงหาสิ่งที่หายไปให้กลับคืนมา
2.ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดให้ใช้ได้อีก
3.รู้จักใช้คน
4.รู้จักใช้เงิน
และต้องไม่เคลิ้มไปกับพวกประจบสอพลอ
ทั้งคนใกล้ชิด ข้าราชการ
นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ
และนักการเมือง เพราะมันจะทำให้เราถูก
Corrupt
โดยอำนาจได้ง่าย
ที่สำคัญ
ทั้งคุณอภิสิทธิ์และคุณยิ่งลักษณ์
ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นผู้นำ
ที่มีคนอื่นหรือกลุ่มผลประโยชน์อื่นซึ่งอยู่หลังม่าน
สามารถสั่งให้ซ้ายหันขวาหันได้ไม่ต่างกัน
ผมจึงขอให้พวกเขาแข็งขืน
ถ้าคำสั่งหรือการกดดันนั้นมันไม่ชอบมาพากล
หรือขัดกับมโนธรรมและหลักการประชาธิปไตย
นั่นคือ
Moral
Courage
วันหนึ่ง
คุณยิ่งลักษณ์อาจจะต้องพูดกับพี่ชายว่า
“อ้ายเจ้า..ฟั่งซุ่นข้าเจ้าเตื้อเน้อ
ถ้าอ้ายบะปอใจ๋ ก่อยไล่ข้าเจ้าออก
แต่ต๋อนนี้
ปล่อยฮื้อข้าเจ้าญะอะหยังต๋ามหลักก๋านและตี้มันควรจะเป๋นก่อนเน้อเจ้า...”
ถ้าคุณอภิสิทธิ์เผอิญเข้ามาอ่านเจอข้อความนี้
ผมอยากให้ลองแปลดูเอง"...
น่าเสียดายที่คุณยิ่งลักษณ์ไม่รู้จักใช้คนและใช้เงินไม่เป็น
แถมยังเล่นการเมืองเชิงผลประโยชน์ของครอบครัวตัวเองและพวกใครพวกมันอยู่อย่างเดิม
แถมยังไม่ใช่นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือเมื่อชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่ไปแล้วดันคิดว่าจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ และที่สำคัญคือไม่ Aware และไม่ยอมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างจริงจัง
แถมยังไม่ใช่นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือเมื่อชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่ไปแล้วดันคิดว่าจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ และที่สำคัญคือไม่ Aware และไม่ยอมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างจริงจัง
ผมจึงอยากจะฝากไปถึงผู้นำและคณะผู้นำที่กำลังจะขึ้นมาใหม่ว่าต้อง
"ยกขาจากหล่มโคลน"
ให้สำเร็จ
ผมรู้สึกดีขึ้นมาก
ที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณบุญทักษ์
หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารทหารไทย
ซึ่งบอกกับผมว่า
ตัวเองคิดว่าคนไทยจะต้องผ่านจุดนี้ไปได้อย่างแน่นอน
และเมื่อมองในแง่ดี
คนไทยก็จะได้เรียนรู้อะไรมากมายจากวิกฤติอันนี้
เพราะในที่สุด
"คนไทยจะ
Make
Sense”
ผมอยากหวังอย่างนั้นด้วยคน
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
30
มกราคม
2557
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนมกราคม 2557
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนมกราคม 2557