หลายปีมานี้
Policy
Makers ของประเทศพี่เบิ้มทางทุนนิยม
ได้พากันออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงมหภาคหลายประการที่ไม่เคยตราไว้ในตำราเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก
ทั้งสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร
และประเทศยุโรปตะวันตกชั้นนำอีกหลายประเทศ
เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก
และอิตาลี เป็นต้น
(แม้กระทั่งจีนเองก็ยังทำตามในบางนโยบาย)
นโยบายพิลึกนอกตำราเหล่านี้
มีตั้งแต่นโยบาย Cheap
Credit โดยกดดอกเบี้ยให้ต่ำติดดินแบบยาวนานอย่างตั้งใจ
(คือฝืนกลไกราคาของตลาดเสรี)
ที่เรียกกันว่า
ZIRP
หรือ
Zero
interest-rate policy ไปจนถึง
Quantitative
Easing หรือ
QE
โดยการเพิ่มปริมาณเงินอย่างมหาศาลแล้วนำมากว้านซื้อพันธบัตรและ
Mortgage-Backed
Securities ในตลาดรอง
และ/หรือซื้อพันธบัตรผนวกกับการลงทุนซื้อกองทุน
ETF
ในตลาดหุ้นอย่างโจ้งครึ้ม
(แบบที่ญี่ปุ่นใช้อยู่)
(พร้อมกันนี้
รัฐบาลเองก็ได้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยวิธีในตำรา
ด้วยการก่อหนี้จำนวนมากเพื่อไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและ
Welfare
Scheme และอุดหนุนภาคเอกชนต่างๆ
อย่างมากมายมหาศาลจนอัตราหนี้สินภาครัฐเพิ่มสูงอย่างเป็นประวัติการณ์)...ไปจนถึงนโยบายกดดอกเบี้ยให้ติดลบอย่างตั้งใจ
NIRP
หรือ
Negative
interest-rate policy
ได้ผลบ้าง
ไม่ได้ผลบ้าง ตามแต่ใครจะคิด
ใครจะประเมิน
แต่ถ้าดูโดยภาพรวมแล้ว
แม้นโยบายการเงินทำนองนี้จะสามารถพยุงราคาสินทรัพย์สำคัญๆ
เช่นหุ้น พันธบัตร บ้าน ที่ดิน
ทองคำ ตลอดจนของสะสมต่างๆ
ไว้ได้ ไม่ให้ดิ่งเหวจนผู้คนรู้สึกว่าตัวเองจนลงกระทันหัน
และสถาบันการเงินที่รับจำนองสินทรัพย์เหล่านั้นไว้ต้องพากันย่ำแย่
ตลอดจนยังช่วยธำรงสภาพคล่องให้กับธุรกิจจำนวนมาก
ที่โดยปกติ (ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด)
ต้องปลาสนาการไปหากว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่านี้หรือสภาพคล่องในระบบหดหายไปแล้ว...ทว่ามันก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนจักรกลเศรษฐกิจที่แท้จริงให้เดินหน้าไปได้ดังที่หวังไว้
ตัวเลขการจ้างงาน
การลงทุนและผลิตภาพ
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน
รายได้ครัวเรือนและบุลคล
และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศพี่เบิ้มเหล่านั้น
ยังไม่แสดงให้มั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจพ้นขีดอันตรายแล้ว
และเนื่องเพราะประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับ
"หัวขบวน"
ของโลก
การชะลอตัวของพวกเขาย่อมทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักงันไปด้วย
นั่นเป็นประเด็นที่เราต้องปวดหัวไปด้วย
เพราะปากท้องและความรู้สึกว่าตัวเองรวยจนของพวกเราต้องพึ่งพา
หรือต้องพัวพันกับความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกอยู่ไม่น้อย
ยิ่งมาก็ยิ่งพึ่งพาและพัวพันมากขึ้นๆ
(เช่น
การที่ประเทศพี่เบิ้มใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ
ย่อมทำให้ดอกเบี้ยในบ้านเราไม่สามารถสูงได้
เพราะย่อมทำให้เงินทุนไหลเข้า
ราคาสินทรัพย์เช่นหุ้นและที่ดินถูกเก็งกำไร
และค่าเงินแข็งโดยใช่เหตุ
เป็นต้น)
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า
เมื่อไหร่บรรดาพี่เบิ้มหัวขบวนเหล่านี้จะรู้สึกว่ามั่นใจว่าตัวเองดีขึ้นจริงๆ
จังๆ จนสามารถกลับมาเป็นหัวรถจักรที่ทรงพลัง
ช่วยลากโยงขบวนเศรษฐกิจโลกได้ดังก่อนๆ
มา
พวกเราย่อมเฝ้าลุ้นด้วยความหวังเจือกังวลว่านโยบายพิลึกพิลั่นนอกตำราของพวกเขาจะออกดอกผลจริงๆ
จังๆ เสียที
แต่เท่าที่
Observe
กันมาหลายปี
ก็ยังไม่เห็นว่าจะมั่นใจอะไรได้
เพราะบางเวลาดูเหมือนจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ริบหรี่ๆ แต่อีกสักพักก็กลับหรี่ลงหรือดับแสงไปเฉยๆ
เอาเป็นว่า
เราพักประเด็นนี้ไว้ก่อน
เดี๋ยวค่อยมาว่ากันทีหลัง
ธุรกิจ
"กลับหางเป็นหัว"
หากย้อนกลับไปดูต้นตอของนโยบายนอกตำราเหล่านี้
เราจะเห็นได้ค่อนข้างชัดว่ามันถูกคิดค้นและนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้
โดยเหล่า Technocrats
ที่อยู่ตามสถาบันการเงินสำคัญๆ
ของประเทศพี่เบิ้มเหล่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารชาติ
(BOJ)
และกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น
(ผู้บุกเบิกและทดลองนำเอา
ZIRP
และ
QE
มาใช้ก่อนเพื่อน)
ธนาคารกลางสหรัฐฯ
(FED)
ธนาคารกลางของสหภาพยุโรป
(ECB)
เป็นต้น
(ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีนักเศรษฐศาสตร์ระดับปริญาเอกและหลังปริญญาเอกที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
ประจำการอยู่เป็นจำนวนมาก)
ไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปกี่ครั้ง
และไม่ว่านักการเมืองจากค่ายไหนฝั่งไหนจะสลับกันมาเป็นรัฐบาลก็ตาม
แนวนโยบายนอกตำราที่แต่ละรัฐบาลนำมาใช้
ก็หาได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
มีแต่จะเพิ่มดีกรีแรงขึ้นๆ
มาตามลำดับ แสดงว่ายุคที่ผ่านมาและยุคนี้
บรรดา Technocrats
ที่กล่าวมา
ได้มีอิทธิพลต่อแนวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลของประเทศพี่เบิ้มค่อนข้างมาก
โดยถ้าเราหมั่น
Observe
จากคำพูดของบรรดาหัวหน้าคนปัจจุบันของพวกเขา
อย่าง Janet
Yellen หรือ
Mario
Draghi และ
Haruhigo
Kuroda ย่อมเห็นได้ไม่ยากว่า
พวกเขายังจะไม่ละทิ้งนโยบายแนวนี้
ยังคงจะสานต่อไปอีก
เพียงแต่ละลดหรือเพิ่มดีกรีตามความเหมาะสมของสภาพเศรษฐกิจที่พวกเขาประเมินกันเป็นระยะๆ
ไป (แม้
FED
จะหยุดนโยบาย
QE
และเริ่มหันเหอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เป็นขาขึ้นไปแล้ว
แต่จากคำพูดของ Janet
Yellen ก็สามารถตีความได้ว่า
FED
อาจจะนำนโยบาย
QE
และนโยบายดอกเบี้ยต่ำติดดิน
(หรือแม้กระทั่งติดลบ)
กลับมาใช้ได้ทุกเมื่อ
ถ้าพวกเขาเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ
และเศรษฐกิจโลกทำท่าจะย่ำแย่ลง)
หากให้มองไปในอนาคต
จากปัจจัยลบต่างๆ ในโลก
เช่นโอกาสที่เศรษฐกิจจีนจะ
Burst
และเงินหยวนจะถูกกดดันให้ลดค่า
ในขณะที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ยังตกต่ำ
(ซึ่งหลายคนกังวลว่ายิ่งจะทำให้ภาวะ
Global
Deflation เป็นจริงยิ่งขึ้น)
และภาวะเศรษฐกิจที่จะยังไม่ดีขึ้นของญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป
ผมคิดว่าโอกาสที่เราจะได้เห็นนโยบายดอกเบี้ยติดลบถูกนำมาใช้อย่างเต็มสูบโดยรัฐบาลของประเทศพี่เบิ้ม
ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
(ขณะนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่น
ECB
เด็นมาร์ก
สวีเดน เพียงนำนโยบายดอกเบี้ยติดลบมาใช้เพียงบางส่วน
คือบังคับใช้กับบัญชี Reserve
Accounts
ของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเปิดไว้กับธนาคารชาติบางส่วนเท่านั้น
หรืออย่างสวิตเซอร์แลนด์ก็นำมาใช้กับบัญชีเงินฝากรายใหญ่เท่านั้น
และบางประเทศในสหภาพยุโรป
เช่นอิตาลี ก็เจาะจงไปที่
Yield
ของพันธบัตรรัฐบาลบางส่วนเท่านั้น)
อันที่จริง
ความหมายของนโยบายดอกเบี้ยติดลบ
ก็เสมือนว่าโลกนี้กลับตาลปัตรเสียแล้ว
แบบว่าเจ้าหนี้ต้องจ่ายให้กับลูกหนี้เพื่อตอบแทนที่ลูกหนี้อุตส่าห์มาขอกู้ยืมเงินจากตนไปใช้จ่ายหรือลงทุน
เช่น ถ้าเราซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ซึ่งรัฐบาลเป็นลูกหนี้เรา
แต่เราได้ผลตอบแทนเป็นลบ
ก็หมายความว่าเราต้องเอาเงินไปจ้างให้รัฐบาลมากู้เงินจากเราไปใช้นั่นเอง
แบบว่า
ถ้าเราซื้อพันธบัตรรัฐบาลวันนี้ มูลค่าตราไว้เท่ากับ 1000
บาท ณ Yield ติดลบ -1%
ก็หมายความว่าเงินต้นของเราจะหดหายไป
คงเหลือแค่ 990
บาทเท่านั้น
อุปมาอุปมัย
เหมือนเราเอาบ้านหรือคอนโดไปปล่อยให้คนอื่นเช่า
แล้วเรา (ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านหรือคอนโด)
ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับผู้เช่าทุกเดือนๆ
แทนที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายให้เรา
มันจะไม่ให้เรียกว่ากลับตาลปัตรหรือ
"พิลึกพิลั่น"
ได้อย่างไรเล่า
และถ้านโยบายแบบนี้
บังคับใช้กับบัญชีเงินฝากของลูกค้ารายย่อย
มันก็เท่ากับการเก็บภาษีเงินฝากนั่นเอง
เพราะแทนที่ผู้ฝากเงินจะได้รับดอกเบี้ย
แต่กลับต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อขอให้ธนาคารช่วยรับฝากเงินให้นั่นเอง
ในทางกลับกัน
ลูกหนี้หรือผู้กู้เงินจะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้
โดยไม่ต้องลงแรง ลงทุน
ไม่ต้องเสียหยาดเหงื่อแรงงาน
อะไรเลย
สมมติว่า สถาบันการเงิน ก.
คำนวณเสร็จสรรพมาแล้วว่่า
ตัวเองต้องใช้เงินปีละ
1,000,000
บาท
ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว
เขาเพียงแต่ไปขอรับเงินฝากมาตอนต้นปี
100,000,000
บาท
ในอัตราดอบเบี้ย -1%
เท่านี้ก็สบายแล้ว
เพราะสิ้นปี ตอนที่เขานำเงินต้นไปใช้คืน (เมื่อมีคนถอนเงิน) เขาจะต้องนำไปใช้คืนเพียง
99,000,000
บาทเท่านั้นเอง
ส่วนต่าง 1,000,000
บาทนั้น
ก็เท่ากับเขาได้มาฟรีๆ
ลองคิดดูว่า
หากกิจการธุรกิจพากันทำแบบนี้กันหมด
ผู้ออมจะเป็นอย่างไร
และวินัยการออมจะเป็นอย่างไร
ตลอดจนทัศนะคติต่อการทำงานและการลงทุน
(เพื่อให้ได้เงินและผลตอบแทน)
จะเปลี่ยนกลับตาลปัตรอย่างไร
เพราะ ผู้คนก็ไม่จำเป็นต้องไปทำงานแต่เช้าทุกๆ
วันอีกต่อไป เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย
ฯลฯ
"ดอกเบี้ย"
ที่ตลอดมา
มีความหมายว่าเป็นราคาที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพื่อครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดในอนาคต
(เช่นความเสี่ยงที่เขาจะตายหรือหายหน้าไปโดยไม่จ่ายคืน
หรือความเสี่ยงว่ากิจการของเขาจะพินาศ
ฯลฯ)
ก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป
เพราะมันกลับตาลปัตรว่าอนาคตมีความมั่นคงกว่าปัจจุบัน
และเมื่อ
"ความเสี่ยง"
ไม่มีความหมายเสียแล้ว
อะไรๆ (เช่นการเก็งกำไรในระดับสุดโต่ง)
ก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่ายดาย
คนธรรมดารที่ทำงานกินเงินเดือนสุจริต
อาศัยหยาดเหงื่อแรงงานและแรงสมอง
จะแย่ลง ผู้ออม ที่รวมถึงผู้ออมรายย่อย
รายใหญ่ และกองทุนต่างๆ
เช่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จะพบว่าตัวเองแย่ลง ทว่า
นักเก็งกำไร นักการเงินหรือนักธุรกิจขนาดใหญ่
หรือนักการเมืองและ Insiders
ทั้งหลาย
ที่เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายๆ
จะทำกำไรได้แบบสบายๆ
ถ้าไม่เชื่อ...เรามารอดูกัน
นโยบายรังเกียจเงินสด
อันที่จริงความต้องการของ
Policy
Makers เกือบทั่วโลกยุคนี้
รวมทั้งผู้กุมนโยบายในไทยด้วย
ล้วนต้องการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุน
ไม่อยากเห็นผู้คนเก็บเงินไว้ในธนาคารเฉยๆ
นโยบายประเภท
ลด-แลก-แจก-แถม
“0%
10 เดือน"
บ้าง
“0%
20 เดือน"
บ้าง
ตลอดจน “Everyday
Low Prices” หรือแม้กระทั่ง
"Everyday
Lower Prices” ถูกนำออกมาใช้ตลอดเวลา
ทว่า
เศรษฐกิจก็ยังทรงๆ ทรุดๆ
อยู่อย่างนี้
ดังนั้น
โอกาสที่ผู้กุมนโยบายจะนำนโยบายที่มีดีกรี
Aggressive
มากกว่าเดิมมาใช้
ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
ที่ว่า
Aggressive
กว่าเดิมนั้น
คือนอกจากจะกดดอกเบี้ยให้ติดลบยิ่งกว่าเดิมแล้ว
พวกเขาก็อาจจะขยายปริมณฑลให้ครอบคลุมถึงบัญชีเงินออมของประชาชนทั่วไปด้วย
(ความหมายของคำว่า
"อัตราดอกเบี้ย
-1%
ต่อปี”
คือหากคุณฝากเงินไว้ในบัญชี
1,000
บาท
เมื่อต้นปี พอถึงปลายปี
คุณจะเหลือยอดเงินในบัญชีเพียง
990
บาท
ดังนั้นถ้าคุณมีเงินออม
1,000,000
บาท
เงินออมคุณจะลดลง 10,000
บาทตอนสิ้นปีแรก
และลดลงไปตามสัดส่วนทุกปี)
และเพื่อบังคับทางอ้อมไม่ให้ผู้คนถอนเงินสดออกมากอดไว้ในเซฟที่บ้าน
(ช่วงนี้ตู้เซฟในญี่ปุ่นขายดีขึ้นมาก
เพราะผู้คนกลัวว่า BOJ
จะขยายมาตรการดอกเบี้ยติดลบมาสู่บัญชีออมทรัพย์ของประชาชนทั่วไปด้วย)
พวกเขาเหล่านั้น
อาจผลักดันให้รัฐบาลของตน
ยกเลิกการใช้เงินสด
หรือไม่ก็ออกกฎเกณฑ์ให้การทำธุรกรรมด้วยเงินสดยากเย็นขึ้น
(อย่าลืมว่าเงินสดที่เราฝากไว้ที่ธนาคารนั้น
เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเฉยๆ
หากรัฐบาลจะกักไว้
หรืออนุญาติให้เบิกได้ในจำนวนจำกัดในแต่ละวัน
ก็ย่อมทำได้..เช่นที่รัฐบาลกรีซทำมาแล้วในช่วงวิกฤติก่อนหน้านี้)
แนวโน้มอันนี้กำลังเกิดขึ้นในโลกตะวันตก
เด็นมาร์ก
สวีเดน นอรเวย์ ทำไปแล้ว
และฝรั่งเศสเอง
ก็ออกกฎหมายห้ามมิให้ประชาชนทำธุรกรรมที่มีมูลค่าเกิน
1,000
ยูโร
เป็นเงินสดแล้ว
โดยรัฐมนตรีคลังและข้าราชการระดับสูงในประเทศสำคัญๆ
อย่าง จีน อินเดีย อิสราเอล
หรือแม้กระทั่งรัฐมนตรีคลังและข้าราชการระดับสูงในกระทรวงการคลังของไทยเอง
ก็เพิ่งออกมาพูดเร็วๆ นี้ว่า
ในอนาคต ธุรกรรมที่เป็นเงินสดและการพิมพ์ธนบัตรจะต้องลดลง
และอาจต้องเลิกผลิตเหรียญกษาปณ์
ตามลำดับ (ดร.วีรพงษ์
รามางกูร อดีตรัฐมนตรีคลัง
ก็ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ใน
"มติชนสุดสัปดาห์"
เมื่อไม่นานมานี้ด้วย)
ยิ่งยุคนี้เป็นยุคของการก่อการร้ายและอาชกรรมข้ามชาติ
ตลอดจนการคอรัปชั่นโดยคนในรัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนากับบริษัทข้ามชาติ
การยกเลิกธุรกรรมเงินสด
ย่อมเป็นการป้องกันการฟอกเงินไปในตัว
(อย่างน้อย
Technocrats
ที่เชื่อและผลักดันนโยบายแนวนี้ก็อ้างกันแบบนั้น)
สอดคล้องกับทัศนะของ
Lawrence
Summers อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ
และหัวหน้าที่ปรึกษาของประธานาธิบดี
ที่เพ่ิงออกมาเขียนบทความเรื่อง
"It's
time to kill the $100 bill” ลงพิมพ์ใน
The
Washington Post เมื่อไม่กี่วันก่อน ว่า "Illicit activities are facilitated when a million dollars weighs 2.2 pounds as with the 500 euro note rather than more than 50 pounds, as would be the case if the $20 bill was the high denomination note."
เขาจึงเสนอให้เรื่องนี้เป็นประเด็นเร่งด่วนในระดับโลก "a global agreement to stop issuing notes worth more than say $50 or $100. Such an agreement would be as significant as anything else the G7 or G20 has done in years."
เขาจึงเสนอให้เรื่องนี้เป็นประเด็นเร่งด่วนในระดับโลก "a global agreement to stop issuing notes worth more than say $50 or $100. Such an agreement would be as significant as anything else the G7 or G20 has done in years."
ทีนี้
ถามว่าผลของมันจะได้อย่างที่หวังไหม?
เราอาจจะยังตอบไม่ได้
แต่เราคิดว่าสำหรับโจร
อาชญากร ผู้ก่อการร้าย
โสเภณี หรือนักติดสินบน
คงไม่เป็นปัญหาสำหรับพวกเขามากนัก
เพราะพวกเขาก็สามารถหลีกเลี่ยงไปจ่ายกันโดยใช้
ทองคำ เพชร เงินตราต่างประเทศ
หุ้น พันธบัตร หรือแม้กระทั่ง
Bitcoin
เป็นสื่อกลางแทน
ก็คงจะได้อยู่
แต่สำหรับภาวะการบริโภคที่พวก Policy Makers อยากให้มันเพิ่มขึ้น
จากการบังคับทางอ้อมให้ผู้ออมถอนเงินออกมาใช้แทนการฝากไว้กับธนาคารนั้น
(เพราะเงินฝากต้องมีค่าธรรมเนียม
ตามแนวนโยบาย "ดอกเบี้ยติดลบ")
เรายังมิอาจฟันธงไปได้
ว่ามันจะเพิ่มขึ้นจริง
เพราะยิ่งผู้คนรู้สึกว่าตัวเองจนลง เงินออมน้อยลง พวกเขาอาจจะยิ่งออมในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการชดเชยก็ได้
เพราะยิ่งผู้คนรู้สึกว่าตัวเองจนลง เงินออมน้อยลง พวกเขาอาจจะยิ่งออมในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการชดเชยก็ได้
ไม่มีใครฟันธงไปได้ชัดเจนว่า
ถ้ารัฐบาลจัดเก็บภาษีเงินออมพวกเขาจนเข้าเนื้อแล้ว
เขาจะบริโภคเพิ่มขึ้น
ในตำราก็ไม่ได้บอกไว้
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
5
มีนาคม
2559
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBAคลิกอ่านบทความเกี่ยวข้อง:
จะอยู่ยังไงเมื่อดอกเบี้ยติดดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น