มีเรื่องเล่าในหมู่นักธุรกิจญี่ปุ่นที่มาลงทุนหรือมาทำงานกันในเมืองไทยว่า
เจ้าของ 7-11
นั้น
รักชอบเจ้าสัวธนินท์แห่งซีพีมากมายนัก
เพราะจู่ๆ
ก็ได้ช่วยกวาดต้อนเอาอุตสาหกรรมโชห่วยของไทย
มาประเคนให้อยู่ในมือของพวกเขา
แถมยังมีความซื่อสัตย์มั่นคง
ไม่เคยผิดสัญญา ใช่ว่าพอสอนให้ทำเป็นแล้ว
ก็ไปเปิดธุรกิจคล้ายคลึงกันขึ้นมาแข่ง
เหมือนที่เจ้าสัวรายอื่นของไทยเคยทำไว้กับคู่ค้าที่เป็นต่างชาติ
ซึ่งบางรายถึงกับฟ้องร้องกันในต่างประเทศจนเป็นเรื่องใหญ่โต
อันที่จริง
ความสำเร็จของ 7-11
ในเมืองไทยนั้น
ต้องให้เครดิตกับคุณก่อศักดิ์
ไชยรัศมีศักดิ์
แต่ทว่า
แม้ญี่ปุ่นจะรักชอบและพอใจในผลงานของซีพีสักเพียงใด
พวกเขาก็ยังไม่ยอมอนุญาติให้ซีพีขยายสิทธิแฟรนไชส์ไปสู่ประเทศอื่น
ทั้งๆ ที่ทางไทยเพียรขอร้องญี่ปุ่นตลอดมา
ว่าต้องการขยายสิทธิแฟรนไชส์
7-11
ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย
และไปสู่ประเทศจีน
โดยถ้าทางญี่ปุ่นยังไม่มั่นใจ
ก็จะขอเริ่มจากบางมณฑลก่อน
ไม่จำเป็นต้องได้สิทธิทั้งประเทศจีนก็ได้
แม้ผลงานในเมืองไทยจะน่าประทับใจ
ทว่าญี่ปุ่นก็ยังคงสงวนท่าที
ไม่ตอบรับแต่ก็ไม่ปฏิเสธ
ว่าจะยอมอนุญาติให้ซีพีขยายสิทธิแฟรนไชส์ออกนอกประเทศไทยหรือไม่อย่างไร
สไตล์ญี่ปุ่นก็เป็นแบบนี้แหล่ะ
แม้จะสนิทสนมกัน
แต่ก็ใช่ว่าจะอ่านพวกเขาออกง่ายๆ
ถึงตอนนี้
ท่านผู้อ่านหลายคนคงสงสัยว่า
ทำไมซีพีไม่ทำเองซะเลยหล่ะ
เพราะยังไงก็ทำเป็นอยู่แล้ว
เปิดเป็น Brand
ของตัวเองไปเลยสิ
คำตอบ
ถ้าให้เดา คือซีพีไม่แน่ใจว่าตัวเองจะทำสำเร็จ
ถ้าไม่มีชื่อและระบบของ
7-11
หนุนหลังอยู่
อีกอย่าง
หากซีพีเกิดบุกไปด้วย Brand
ตัวเอง
ก็จะทำให้ญี่ปุ่นมีข้ออ้างที่จะยกสิทธิแฟรนไชส์ให้คู่แข่งรายอื่น
ทำให้ตัวเองชวดโอกาส
หรือไม่ก็ต้องไปแข่งกับ
7-11
ในต่างประเทศ
ซึ่งคงจะเอาชนะได้ยาก
เพราะศิษย์หรือจะล้างครูได้
ซีพีต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของ
7-11
อยู่อย่างยากที่จะสลัดหลุด
เพราะ 7-11
ใช้วิธี Download
ระบบซอฟท์แวร์ที่ใช้บริหารจัดการเครือข่ายระบบค้าปลีกทั้งระบบแบบครบวงจร
ตั้งแต่ระบบ Supply
Chain ระบบหลังบ้าน
หน้าบ้าน สต๊อก Big
Data Analytic และ
CRM
ญี่ปุ่นใช้วิธีให้ซีพีต้องพึ่งพาโดยการ
Upgrade
Version ของระบบซอฟท์แวร์บ่อยๆ
เพื่อพันธนาการให้ซีพีต้องพึ่งพาตลอดไป
โดยญี่ปุ่นในฐานะเจ้าของความรู้และเจ้าของ
Brand
จะได้รับค่าตอบแทนตามสัญญาเป็นเงินเท่ากับ
1%
ของยอดขาย
ท่านผู้อ่านคิดว่า
1%
ของยอดขายนั้น
ดูเหมือนน้อย แต่ในความเป็นจริง
ธุรกิจค้าปลีกมีอัตรากำไรสุทธิหรือ
Profit
Margin ไม่มาก
ดังนั้น 1%
ของยอดขาย
อาจหมายถึง 40-50%
ของกำไร
ได้ง่ายๆ
ผมยกตัวอย่างว่า
ยอดขายของ CP-All ในประเทศไทยทั้งหมดในปี
2557
ที่ผ่านมา
เท่ากับ 326,410
ล้านบาท (รวมยอดขายของ Makro ด้วยแล้ว) แต่มีกำไรสุทธิเพียง 10,153
ล้านบาท
ดังนั้น 1%
ของยอดขาย
คือเท่ากับ 3,264
ล้านบาท
คิดเป็นเกือบ 35%
ของกำไรสุทธิ
(เห็นรึยังครับว่าทำไมซีพีถึงต้องพยายามเพิ่ม
items ของสินค้าที่เป็นของซีพีเอง
เข้าไปในร้าน 7-11
ให้มากขึ้นเรื่อยๆ)
คิดง่ายๆ
ว่าถ้าซีพีต้องจ่ายญี่ปุ่นต่อปีประมาณนี้ (สมมติเป็นกลมๆ เพราะความจริงส่วนของ Makro ไม่ต้องแบ่ง) ดังนั้น 10
ปีที่ผ่านมา
ก็เท่ากับซีพีจ่ายไปแล้วประมาณ
32,000
ล้านบาท
ยิ่ง
7-11
ในประเทศไทยขยายสาขามากขึ้น
และขายได้มากขึ้น
ยิ่งต้องจ่ายให้กับญี่ปุ่นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
เห็นรึยังครับว่า
ทำไมญี่ปุ่นถึงรักชอบเจ้าสัวธนินท์
มาถึงตอนนี้
ท่านผู้อ่านคงสงสัยเหมือนกับผมว่า
ทำไมซีพีซึ่งเป็นกิจการยักษ์ใหญ่
มีเงินทุนมหาศาล มีบุคลากรที่มีการศึกษาจำนวนมาก ทำไมถึงไม่คิดที่จะลงทุนเขียนซอฟท์แวร์ขึ้นมาใช้เอง
จะได้พึ่งพิงญี่ปุ่นให้น้อยลง
และในที่สุดจะสามารถสร้าง
Brand
ของตัวเองขึ้นมาได้
ผมคิดว่า
ซีพีคงอยากจะทำ
แต่เนื่องจากเงื่อนไขของสัญญาผูกมัดอยู่
และอีกข้อหนึ่งคือ
การที่จะเขียนซอฟท์แวร์ขึ้นมาเองนั้น
ทำได้ยากมาก เพราะในเมืองไทยเรา
ไม่มีบุคลากรที่จะทำได้ถึงเพียงนั้น
มันเป็นปัญหาของระบบการศึกษาและวิธีคิดของผู้ประกอบการไทยทั้งระบบ
คือผู้ประกอบการไทย
ถนัดแต่การซื้อมาขายไป Buy
Low/Sell High หรือไม่ก็ซื้อความรู้หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศมา
แล้วทำการ Monopoly
โดยลงทุนกับการเมืองในประเทศ
(เนื่องจาก
Profit
Margin ต่ำ
เพราะต้องจ่ายค่าเช่าความรู้หรือเช่าเทคโนโลยีให้กับเจ้าของซึ่งเป็นกิจการต่างชาติ)....แล้วก็พอใจแค่นั้น
ส่วนมหาวิทยาลัยของไทย
ก็ไม่สามารถผลิตวิศวกร
หรือโปรแกรมเมอร์ที่มีความรู้พอที่จะสร้างระบบซอฟท์แวร์ขนาดนี้ขึ้นมาได้
ในประเทศไทยเรา
มีการเรียนการสอนวิศวกรรมศาสตร์มาถึง
100
ปีแล้ว
แต่เราก็ไม่สามารถสร้างเครื่องจักรกลที่จำเป็นต้องใช้ได้เองเลย
ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ หรือแม้กระทั่งรถจักรยานยนต์ แทรกเตอร์ หรือระบบสื่อสาร หรือ Machine
Tools ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ (ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เช่นทุกวันนี้คนไทยนิยมดื่มกาแฟ แต่รู้ไหมว่าเครื่องชงกาแฟเกือบทั้งหมดต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ จำนวนไม่น้อย ราคาเกินแสนบาทต่อเครื่อง)
องค์ความรู้ของเรามีเพียงแค่ระดับ
6-7-8-9-10
แต่ในระดับ
0-1-2-3-4-5
นั้นยังขาดอยู่มาก
(อ่านว่า
"ศูนย์-หนึ่ง-สอง-สาม-สี่-ห้า”)
เช่น
เรามีคณะวิศวกรรมมาช้านาน
แต่พอจะคิดสร้างรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เอง
เราก็ต้องสั่งเครื่องจักรเข้ามา
(ซึ่งเจ้าของที่เป็นฝรั่งของต้องคิดราคาแพงอยู่แล้ว) ซื้อระบบจัดการการผลิตเข้ามา สั่งวัสดุที่ผสมแล้วเข้ามา
สั่ง Mold
เข้ามา
สั่งเครื่องยนต์เข้ามา นำที่ปรึกษาและวิศวกรต่างชาติเข้ามา แล้วค่อยประกอบเอง จึงยากที่จะเป็นเจ้าของอะไรที่พอจะไปแข่งกับใครเขาได้ เพราะพอจะทำโน่นนี่นั่นได้บ้าง เขาก็วิ่งไปไกลเสียแล้ว และเราก็ต้องมาเริ่มตั้งต้นวงจรใหม่ คือสั่งเครื่องจักรแบบใหม่เข้ามา ซื้อระบบจัดการการผลิตเวอร์ชั่นใหม่เข้ามา ฯลฯ
คนของเราอาจมีความรู้ในระดับที่ออกแบบรถยนต์ได้
รู้ทฤษฎีแอร์โรไดนามิก วางแผนการตลาดและขายรถยนต์เป็น รู้จัก Market
Segmentation รู้เรื่อง
Branding
ดีมาก
แต่เราไม่สามารถหล่อลูกสูบที่มีคุณภาพได้
สร้าง Mold ที่มีความละเอียดสูง และ
สร้างเครื่องยนต์เองเป็น ซึ่งเหล่านี้คือหัวใจ
หรือเรามีคณะเภษัชศาสตร์มาช้านาน
แต่ไม่มีใครสร้างยาที่เป็นของเราเองจริงๆ ได้
เพราะไม่มีองค์ความรู้ในระดับการผลิต
"สารตั้งต้น"
เป็นต้น (ทั้งๆ ที่แต่ละปี คนไทยเราบริโภคยาคิดเป็นมูลค่ามหาศาล)
เราผลิตเภษัชกรที่เป็นดีเทลขายยาหรือ Product Manager ตามบริษัทต่างชาติจำนวนมาก เป็นเจ้าของร้านขายยาก็ไม่น้อย แต่แทบจะไม่มีเลยที่คิดจะสร้างยาของตัวเองไปสู้ฝรั่งในตลาดโลก น่าแปลกใจว่าเวลาเกือบร้อยปีที่ผ่านมา เรายังไม่สามารถตั้งตัวได้เลย
มองไปทุกวงการที่สำคัญๆ ต่อชีวิตประจำวัน เราจะเห็น Pattern คล้ายๆ กันนี้...รถไฟ โทรศัพท์ โทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ ไฟฟ้า พลังงาน ฯลฯ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแทบทุกชนิดในเมืองไทย มีลักษณะเป็นแบบนั้น ซึ่งทำให้ต้นทุนสูง และไม่มีทางจะไปแข่งขันกับใครได้ในตลาดโลก
(หรือแม้แต่นอกวงวิศวกรรม เช่นวงการบันเทิงเอง พวกเรารู้ไหมว่ารายการวาไรตี้สุดฮิตที่ต้อง SMS เข้าไปโหวตทั้งหลายนั้น ก็ล้วนเป็นรายการที่เราต้องซื้อฟรังไชส์จากต่างประเทศทั้งสิ้น...เศร้าไหม)
เพราะเรารู้แต่เพียงเปลือกกระพี้ ส่วนใหญ่รู้แต่เพียง Concept หรือวิธีใช้งานและซ่อมบำรุง โดยมิได้เข้าถึงแก่นสารของความรู้ที่จะมาเป็นประโยชน์ หรือที่จะมา "สร้าง" ให้เกิด Material Wealth ที่มีคุณภาพได้จริง
ความรู้ของเรานั้นมี ไม่ใช่ไม่มี แต่มีไม่พอที่จะ "สร้าง" อะไรขึ้นมาเป็นของตัวเองได้ เราต้องพึ่ง (หรือซื้อ หรือเช่า) ความรู้ของคนอื่นในส่วนที่สำคัญหรือเป็น "หัวใจ" ของการสร้างสิ่งนั้นเกือบทุกอย่างไป จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราไม่สามารถไปแข่งในตลาดโลกได้ เพราะเรามิได้เป็นเจ้าของความรู้ (เรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ว่า "เทคโนโลยี") ในส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด
ขณะนี้ มีการโปรโมทให้คนรุ่นใหม่สร้างกิจการที่เรียกว่า Start-Up แต่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ของผู้รับผิดชอบเอง ส่วนใหญ่ก็เป็นแต่เพียงระดับ "บนกระดาษ" หาคนที่มีประสบการจริงน้อยมาก และที่มีประสบการณ์จริง ก็เป็นประสบการณ์ในระดับ 6-7-8-9-10 เสียเป็นส่วนมาก ดังนั้น การอนุญาตให้คนซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งมือสมัครเล่นเหล่านี้ มีสิทธินำเงินภาษีของส่วนรวมไปใช้กับเรื่อง Start-Up ย่อมเป็นเรื่องเสี่ยงมากๆ เพราะลำพังแต่ Start-Ups ก็เป็นธุรกิจอยู่ในประเภทที่เสี่ยงมากพออยู่แล้ว
เราผลิตเภษัชกรที่เป็นดีเทลขายยาหรือ Product Manager ตามบริษัทต่างชาติจำนวนมาก เป็นเจ้าของร้านขายยาก็ไม่น้อย แต่แทบจะไม่มีเลยที่คิดจะสร้างยาของตัวเองไปสู้ฝรั่งในตลาดโลก น่าแปลกใจว่าเวลาเกือบร้อยปีที่ผ่านมา เรายังไม่สามารถตั้งตัวได้เลย
มองไปทุกวงการที่สำคัญๆ ต่อชีวิตประจำวัน เราจะเห็น Pattern คล้ายๆ กันนี้...รถไฟ โทรศัพท์ โทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ ไฟฟ้า พลังงาน ฯลฯ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแทบทุกชนิดในเมืองไทย มีลักษณะเป็นแบบนั้น ซึ่งทำให้ต้นทุนสูง และไม่มีทางจะไปแข่งขันกับใครได้ในตลาดโลก
(หรือแม้แต่นอกวงวิศวกรรม เช่นวงการบันเทิงเอง พวกเรารู้ไหมว่ารายการวาไรตี้สุดฮิตที่ต้อง SMS เข้าไปโหวตทั้งหลายนั้น ก็ล้วนเป็นรายการที่เราต้องซื้อฟรังไชส์จากต่างประเทศทั้งสิ้น...เศร้าไหม)
เพราะเรารู้แต่เพียงเปลือกกระพี้ ส่วนใหญ่รู้แต่เพียง Concept หรือวิธีใช้งานและซ่อมบำรุง โดยมิได้เข้าถึงแก่นสารของความรู้ที่จะมาเป็นประโยชน์ หรือที่จะมา "สร้าง" ให้เกิด Material Wealth ที่มีคุณภาพได้จริง
ความรู้ของเรานั้นมี ไม่ใช่ไม่มี แต่มีไม่พอที่จะ "สร้าง" อะไรขึ้นมาเป็นของตัวเองได้ เราต้องพึ่ง (หรือซื้อ หรือเช่า) ความรู้ของคนอื่นในส่วนที่สำคัญหรือเป็น "หัวใจ" ของการสร้างสิ่งนั้นเกือบทุกอย่างไป จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราไม่สามารถไปแข่งในตลาดโลกได้ เพราะเรามิได้เป็นเจ้าของความรู้ (เรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ว่า "เทคโนโลยี") ในส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด
ขณะนี้ มีการโปรโมทให้คนรุ่นใหม่สร้างกิจการที่เรียกว่า Start-Up แต่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ของผู้รับผิดชอบเอง ส่วนใหญ่ก็เป็นแต่เพียงระดับ "บนกระดาษ" หาคนที่มีประสบการจริงน้อยมาก และที่มีประสบการณ์จริง ก็เป็นประสบการณ์ในระดับ 6-7-8-9-10 เสียเป็นส่วนมาก ดังนั้น การอนุญาตให้คนซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งมือสมัครเล่นเหล่านี้ มีสิทธินำเงินภาษีของส่วนรวมไปใช้กับเรื่อง Start-Up ย่อมเป็นเรื่องเสี่ยงมากๆ เพราะลำพังแต่ Start-Ups ก็เป็นธุรกิจอยู่ในประเภทที่เสี่ยงมากพออยู่แล้ว
นั่นคือสถานะของสังคมการผลิตไทยในปัจจุบัน
จึงไม่แปลกที่เราเป็นได้แต่เพียงผู้รับจ้างทำของ
จึงไม่แปลกที่เราเป็นได้แต่เพียงผู้รับจ้างทำของ
แม้กระทั่งกิจการขนาดยักษ์ใหญ่ที่สุดของเรา
ก้าวหน้าที่สุดของเรา
ร่ำรวยที่สุดของเรา อย่าง
ปตท.
ซีพี
เอสซีจี เหล่านี้ยังขาดแคลนความรู้ในระดับ
0-1-2-3-4-5
อยู่มาก (R&D ส่วนใหญ่ในบ้านเรา ก็ยังไม่ใช่ R&D ในระดับที่จะ "สร้าง" อะไรเป็นของตัวเองเพื่อไปแข่งในตลาดโลกได้)
นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า
"เทคโนโลยี"
หรือ
"นวัตกรรม"
หรือ
"R&D”
หรือ
"ต่อยอด" "โนว์ฮาว" สุดแท้แต่จะเรียก
การจะปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศเสียใหม่
เราจำเป็นต้องมี "0-1-2-3-4-5” ในทุกๆ วงการ มิใช่เฉพาะเพียงวงการวิทยาศาตร์หรือเทคโนโลยีหรือวงการออกแบบเท่านั้น เพราะมันจะสร้างมูลค่าเพิ่ม
สร้างให้สินค้าของพวกเราแตกต่าง
และจะช่วยให้เราไต่ Value
Chain ได้
ไม่ว่าคุณเกี่ยวข้องกับความรู้ด้านไหน
คุณต้องรู้ 0-1-2-3-4-5
ให้ได้
เช่นถ้าคุณเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลที่ไปเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
คุณก็จำเป็นต้องนำ 0-1-2-3-4-5
กลับมาสอนคนของเรา
อย่าเอามาแต่เพียง 6-7-8-9-10
อย่างถ้าคุณเป็นอาจารย์สอนทางด้านบริหารธุรกิจหรือวิศวกรรม คุณต้องทำความเข้าใจให้ได้ตั้งแต่ Industrial Revolution และ Industrial Revolution ว่าฝรั่งสร้างตัว สร้างความมั่งคั่ง ต่อยอดการผลิตกันมาอย่างไร หัวใจที่ทำให้พวกเขาสร้างความมั่งคั่งได้คืออะไร พวกเขาขุดแผ่นดิน ตัดต้นไม้ ระเบิดภูเขา ดำลงไปในทะเล เจาะ กระเทาะ ตักขึ้นมา ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทองแดง ทองเหลือง เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ หิน ดิน ทราย พืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ หยิบคลื่นในอากาศ แล้วนำมาบด มาต้ม มาหลอม มาปรุง มาผสม มาแต่งเติม แล้วผลิตเป็นสิ่งของและบริการเพื่อรับใช้มนุษย์ กันได้อย่างไร
และความรู้มันพัฒนามาอย่างไร เขาจัดองค์กรและสังคมและระบบการศึกษาเขาให้คนของเขาไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร ผู้ประกอบการและผู้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ของเขามี Mind Set และผ่านการพยายามขนขวายหา 0-1-2-3-4-5 อย่างไรกันแน่ในเชิงลึก จูงใจคนเก่งๆ ในระดับ 0-1-2-3-4-5 ของแต่ละด้านมารวมกันอย่างไร ลองผิดลองถูก ท้อแท้สิ้นหวัง และปรับตัวผ่านพ้น จนสำเร็จได้อย่างไรกันแน่...รัฐบาลของเขาสนับสนุนไหม และสนับสนุนอย่างไร ฯลฯ
หรือถ้าคุณเป็นผู้คุมกฎ คุณก็ต้องกล้าสนับสนุนหรือจูงใจให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนทดลอง ลองผิดลองถูก ลงทุน และมุ่งหน้าไปสู่การผลิตที่ต้องใช้ 0-1-2-3-4-5
ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ คุณต้องมีจิตใจแบบโตโยต้า โซนี่ ซัมซุง ฯลฯ ต้องเริ่มคิดที่จะ "สร้าง" อะไรสักอย่างหนึ่งที่เป็นของคุณเอง ไว้ส่งทอดให้กับลูกหลาน (เหมือนกับที่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้สร้างกิจการไว้ให้ลูกหลานได้สร้างความมั่งคั่งมาจนบัดนี้) แม้การ "สร้าง" นั้น มันจะยากกว่าการไปหาซื้อหรือเช่าความรู้หรือเทคโนโลยีและการซื้อมาขายไป และการสร้างนั้นอาจจะถูกกีดกันจากฝรั่งหรือญี่ปุ่นหรือเจ้าของความรู้หรือเทคโนโลยี (ซึ่งเป็นความลับของเขา) คุณก็ต้องอดทน และพยายามอย่างไม่ยอมแพ้ หาหนทางให้ได้มาซึ่งความรู้ในระดับ 0-1-2-3-4-5 เหมือนกับที่ญี่ปุ่นเคยสู้และต่อรองกับฝรั่งจนสำเร็จมาแล้ว
อย่างถ้าคุณเป็นอาจารย์สอนทางด้านบริหารธุรกิจหรือวิศวกรรม คุณต้องทำความเข้าใจให้ได้ตั้งแต่ Industrial Revolution และ Industrial Revolution ว่าฝรั่งสร้างตัว สร้างความมั่งคั่ง ต่อยอดการผลิตกันมาอย่างไร หัวใจที่ทำให้พวกเขาสร้างความมั่งคั่งได้คืออะไร พวกเขาขุดแผ่นดิน ตัดต้นไม้ ระเบิดภูเขา ดำลงไปในทะเล เจาะ กระเทาะ ตักขึ้นมา ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทองแดง ทองเหลือง เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ หิน ดิน ทราย พืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ หยิบคลื่นในอากาศ แล้วนำมาบด มาต้ม มาหลอม มาปรุง มาผสม มาแต่งเติม แล้วผลิตเป็นสิ่งของและบริการเพื่อรับใช้มนุษย์ กันได้อย่างไร
และความรู้มันพัฒนามาอย่างไร เขาจัดองค์กรและสังคมและระบบการศึกษาเขาให้คนของเขาไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร ผู้ประกอบการและผู้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ของเขามี Mind Set และผ่านการพยายามขนขวายหา 0-1-2-3-4-5 อย่างไรกันแน่ในเชิงลึก จูงใจคนเก่งๆ ในระดับ 0-1-2-3-4-5 ของแต่ละด้านมารวมกันอย่างไร ลองผิดลองถูก ท้อแท้สิ้นหวัง และปรับตัวผ่านพ้น จนสำเร็จได้อย่างไรกันแน่...รัฐบาลของเขาสนับสนุนไหม และสนับสนุนอย่างไร ฯลฯ
หรือถ้าคุณเป็นผู้คุมกฎ คุณก็ต้องกล้าสนับสนุนหรือจูงใจให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนทดลอง ลองผิดลองถูก ลงทุน และมุ่งหน้าไปสู่การผลิตที่ต้องใช้ 0-1-2-3-4-5
ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ คุณต้องมีจิตใจแบบโตโยต้า โซนี่ ซัมซุง ฯลฯ ต้องเริ่มคิดที่จะ "สร้าง" อะไรสักอย่างหนึ่งที่เป็นของคุณเอง ไว้ส่งทอดให้กับลูกหลาน (เหมือนกับที่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้สร้างกิจการไว้ให้ลูกหลานได้สร้างความมั่งคั่งมาจนบัดนี้) แม้การ "สร้าง" นั้น มันจะยากกว่าการไปหาซื้อหรือเช่าความรู้หรือเทคโนโลยีและการซื้อมาขายไป และการสร้างนั้นอาจจะถูกกีดกันจากฝรั่งหรือญี่ปุ่นหรือเจ้าของความรู้หรือเทคโนโลยี (ซึ่งเป็นความลับของเขา) คุณก็ต้องอดทน และพยายามอย่างไม่ยอมแพ้ หาหนทางให้ได้มาซึ่งความรู้ในระดับ 0-1-2-3-4-5 เหมือนกับที่ญี่ปุ่นเคยสู้และต่อรองกับฝรั่งจนสำเร็จมาแล้ว
และถ้าคุณเป็นผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่
คุณก็ต้องเริ่มที่จะลงทุนใน
0-1-2-3-4-5
เสียที
จะได้ลดการพึ่งพิงความรู้หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศลง
เพราะมันแพง และคุณจะไม่มีวันได้ผุดได้เกิด
นอกเสียจาก ต้อง Monopoly
ตลาด
เหมือนกับ 7-11
โลกยุคใหม่
เป็นโลกของ 0-1-2-3-4-5
กิจการที่เราเขียนถึงในเล่มนี้
เช่น UBER,
airbnb, wework หรือ
TripAdvisor
เป็นต้น
เหล่านี้
พวกเขาล้วนเป็นเจ้าของ
“0-1-2-3-4-5”
UBER
ให้บริการแท็กซี่
แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของแท็กซี่แม้แต่คันเดียว
airbnb
ให้บริการจองและเช่าที่พัก
แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงแรม
อพาร์ตเม้นต์ ห้องเช่า
เกสต์เฮ้าส์ หรือแม้แต่โฮมสเตย์
แม้แต่ห้องเดียว
wework
ให้บริการเช่าสำนักงานพร้อมเครื่องใช้สำนักงานที่เรียกว่า
co-working
space ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของอาคารสำนักงานเลยแม้แต่น้อย
TripAdvisor
เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและประเมิน
Rating
สำหรับบริการท่องเที่ยวต่างๆ
ทั่วโลก ก็มิได้มีนักวิจารณ์ที่คอยให้
Rating
เป็นของตัวเองแม้แต่คนเดียว
ถ้าอย่างนั้น
พวกเขามีอะไรเป็น Core
Asset เล่า?
Business Model ใหม่หรือเปล่า?
เปล่าเลย...แท็กซี่
โรงแรม ห้องพัก และการให้เช่าสำนักงาน
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
“กึ๋น"
ของพวกเขา
คือ คอมพิวเตอร์ ระบบซอฟท์แวร์
และแอพพลิเคชั่นต่างๆ
ที่ใช้บริหารจัดการระบบเครือข่ายการให้บริการของพวกเขา
รุ่นพี่ของพวกเขาอย่าง Amazon.com เอง ถ้าดูให้ดีตั้งแต่แรก เขาก็ไม่ได้เป็นเจ้าของหนังสือที่เขาขาย และไม่ได้เป็นเจ้าของระบบ Supply Chain (ในทีนี้คือไปรษณีย์) หรือระบบอินเทอร์เน็ต และไม่ได้มีแวร์เฮ้าส์ใหญ่โต (ของเหล่านี้ล้วนมีมาก่อนที่ Amazon.com จะเกิดแล้ว) แต่เขามีระบบซอฟท์แวร์ ที่จัดการกับการซื้อขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ต จัดโชว์หนังสือให้คนคลิกดูได้ง่ายๆ แถมจัดโชว์ได้ในจำนวนเล่มที่ไม่จำกัดมากมายมหาศาล จัดส่งหนังสือ รีวิว ชำระเงิน และติดตามพฤติกรรมการบริโภค (เช่นความชอบและไม่ชอบหนังสือประเภทใด) ของสมาชิกแต่ละคน และบริหารระบบสมาชิก ฯลฯ ได้อย่างทรงประสิทธิภาพมาก
หรืออย่าง Facebook ที่พวกเรารู้จักกันดีนั้น ก็สร้างตัวร่ำรวยมาได้เพราะการนำเอาข้อมูลส่วนตัวของพวกเราไปขาย (ให้กับผู้ลงโฆษณา) การที่ FB ให้เราใช้กันฟรีๆ ก็เพื่อแลกเอาข้อมูลส่วนตัวของพวกเราไปใช้ประโยชน์นั่นเอง
แต่ที่เขาเอาไปใช้ประโยชน์ได้นั้น เขาต้องมีซอฟแวร์ตัวหนึ่งที่เป็น "กึ๋น" หรือความลับของเขา ที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลในแต่ละวินาที แล้วประมวลและแปลงให้เป็นข้อมูลเชิงการตลาด ให้พวกเรากลายเป็นผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงพฤติกรรม ความชอบ ของแต่ละคนหรือแต่ละ segment ฯลฯ เพื่อทำให้ง่ายแล้วนำไปขายให้แก่ผู้ลงโฆษณาที่จะระบุกลุ่มซึ่งพวกเขาต้องการสื่อความไปถึง
กึ๋นแบบนี้ (จะเรียกว่า Big Data Analysis หรือ Data Mining หรือคำใหม่ๆ ที่บัญญัติขึ้นอย่าง Sexy แค่ไหนก็ตาม) เป็นสิ่งที่คนไทยไม่แน่ว่าจะมีทักษะพอที่จะสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ด้วยความรู้ (ของฝรั่ง) ที่มีอยู่ในขณะนี้ (ที่เห็นอยู่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นนายหน้าขายซอฟท์แวร์ของต่างชาติทั้งนั้น)
รุ่นพี่ของพวกเขาอย่าง Amazon.com เอง ถ้าดูให้ดีตั้งแต่แรก เขาก็ไม่ได้เป็นเจ้าของหนังสือที่เขาขาย และไม่ได้เป็นเจ้าของระบบ Supply Chain (ในทีนี้คือไปรษณีย์) หรือระบบอินเทอร์เน็ต และไม่ได้มีแวร์เฮ้าส์ใหญ่โต (ของเหล่านี้ล้วนมีมาก่อนที่ Amazon.com จะเกิดแล้ว) แต่เขามีระบบซอฟท์แวร์ ที่จัดการกับการซื้อขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ต จัดโชว์หนังสือให้คนคลิกดูได้ง่ายๆ แถมจัดโชว์ได้ในจำนวนเล่มที่ไม่จำกัดมากมายมหาศาล จัดส่งหนังสือ รีวิว ชำระเงิน และติดตามพฤติกรรมการบริโภค (เช่นความชอบและไม่ชอบหนังสือประเภทใด) ของสมาชิกแต่ละคน และบริหารระบบสมาชิก ฯลฯ ได้อย่างทรงประสิทธิภาพมาก
หรืออย่าง Facebook ที่พวกเรารู้จักกันดีนั้น ก็สร้างตัวร่ำรวยมาได้เพราะการนำเอาข้อมูลส่วนตัวของพวกเราไปขาย (ให้กับผู้ลงโฆษณา) การที่ FB ให้เราใช้กันฟรีๆ ก็เพื่อแลกเอาข้อมูลส่วนตัวของพวกเราไปใช้ประโยชน์นั่นเอง
แต่ที่เขาเอาไปใช้ประโยชน์ได้นั้น เขาต้องมีซอฟแวร์ตัวหนึ่งที่เป็น "กึ๋น" หรือความลับของเขา ที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลในแต่ละวินาที แล้วประมวลและแปลงให้เป็นข้อมูลเชิงการตลาด ให้พวกเรากลายเป็นผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงพฤติกรรม ความชอบ ของแต่ละคนหรือแต่ละ segment ฯลฯ เพื่อทำให้ง่ายแล้วนำไปขายให้แก่ผู้ลงโฆษณาที่จะระบุกลุ่มซึ่งพวกเขาต้องการสื่อความไปถึง
กึ๋นแบบนี้ (จะเรียกว่า Big Data Analysis หรือ Data Mining หรือคำใหม่ๆ ที่บัญญัติขึ้นอย่าง Sexy แค่ไหนก็ตาม) เป็นสิ่งที่คนไทยไม่แน่ว่าจะมีทักษะพอที่จะสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ด้วยความรู้ (ของฝรั่ง) ที่มีอยู่ในขณะนี้ (ที่เห็นอยู่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นนายหน้าขายซอฟท์แวร์ของต่างชาติทั้งนั้น)
พวกเขาเหล่านี้คือ
"ผู้ประกอบการคนหนึ่ง
มากับคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง
พร้อมกับซอฟท์แวร์ชุดหนึ่ง"
แล้วก็มาปฏิวัติวงการบริการ
ที่เรียกว่า Disruption
นั่นเอง
พวกเขาเหมือนกับ หงา คาราวาน หรือ บ็อบ ดีแลน ที่มากับกีตาร์ตัวหนึ่ง
แล้วก็ขับขานบทกวี โดยที่
ไมค์โครโฟน เวที เครื่องเสียง
ล้วนเป็นของคนอื่น แต่ทว่า
สามารถกุมหัวใจของคนฟังได้ด้วย
บทกวี บทเพลง และเมโลดี
ที่กินใจ
หากว่า
ผู้มีอำนาจและผู้ประกอบการน้อยใหญ่ของเราขบคิดประเด็นที่ผมพูดมานี้ได้
"แตกฉาน"
เราก็ยังคงมีความหวังว่าจะสามารถ
"ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ"
หรือ
"ปรับโครงสร้างระบบการผลิต"
หรือ
"สร้างมูลค่าเพิ่ม"
หรือ "สร้างนวัตกรรม" หรือ "เสริมสร้างความสามารถเชิงแข่งขัน"
ของเราได้
ในอนาคต
ถ้ายังรู้ครึ่งๆ กลางๆ ผิวเผิน ยกย่องและเฮโลกันไปกับเปลือกกะพี้ เข้าไม่ถึงแก่น อย่างที่ผ่านมา ลูกหลานของเราก็จะต้องกินน้ำใต้ศอกฝรั่ง ญี่ปุ่น (และตอนนี้ก็เพิ่มเกาหลีใต้และจีน เข้ามาอีก) เช่นเดียวกับที่รุ่นเราและรุ่นพ่อเราเคยเป็นมา
ถ้ายังรู้ครึ่งๆ กลางๆ ผิวเผิน ยกย่องและเฮโลกันไปกับเปลือกกะพี้ เข้าไม่ถึงแก่น อย่างที่ผ่านมา ลูกหลานของเราก็จะต้องกินน้ำใต้ศอกฝรั่ง ญี่ปุ่น (และตอนนี้ก็เพิ่มเกาหลีใต้และจีน เข้ามาอีก) เช่นเดียวกับที่รุ่นเราและรุ่นพ่อเราเคยเป็นมา
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
17
ตุลาคม
2558บทบรรณาธิการนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA
รูปประกอบจาก www.posttoday.com ผู้เขียนขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
โปรดคลิกอ่านบทความที่เนื่องกันที่ Link ข้างล่าง :
****ความคิดสร้างสรรค์มาจากไหน****