แนวโน้มอันยิ่งใหญ่ที่กำลังก่อกำเนิดขึ้นหรือ Mega-Trend ในแวดวงไฮเทคปัจจุบันนั้นหนีไม่พ้นกระแสที่เรียกว่า “Internet of Things” หรือ “IoT” และ "Sharing Economy”
IoT เป็นแนวโน้มที่ต่อไปในอนาคต เครื่องใช้ไม้สอยทั้งหลายจะสามารถเชื่อมโยงกันเองเป็นเครือข่าย ทำการเก็บข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์และจัดการกับข้อมูลผ่านซอฟท์แวร์และแอพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยสามารถสั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือได้ เพื่อสร้างบริการใหม่ๆ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้ทรัพยากร เพิ่มความปลอดภัย และช่วยเพิ่มบริการใหม่ๆ ให้มนุษย์ได้สะดวกสะบายยิ่งขึ้นไปอีก
ท่านผู้อ่านลองนึกถึงรถยนต์ที่วิ่งได้เองโดยไม่ต้องใช้คนขับ
สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเองกับรถยนต์คันอื่นๆ
แล้วรู้ว่าตรงไหนรถติดตรงไหนน้ำถ่วมตรงไหนมีอุบัติเหตุ
เพื่อคอยกำหนดเส้นทางใหม่ผ่านจีพีเอส
และมีเซ็นเซอร์เช็คระบบตัวเองได้ว่าอะไหล่ชิ้นไหนกำลังจะหมดอายุ
สตาร์ทเครื่องเองระหว่างที่เจ้าของกำลังลงลิฟท์
โดยก่อนถึงบ้านประมาณ 5
นาที
ก็สามารถสั่งการให้แอร์ที่บ้านเปิดรอไว้
เครื่องทำน้ำอุ่นเริ่มทำงานเพื่อเติมเต็มอ่างอาบน้ำ
ประตูโรงรถเปิดเอง
สเตอริโอไฮไฟเปิดเพลงที่เราชอบได้เอง
ฯลฯ
IoT เป็นอะไรที่จินตนาการได้ไม่สิ้นสุด
ทว่า การประยุกต์ใช้ของมันที่เห็นๆ
และเริ่มจะจับต้องได้ในระยะอันใกล้นี้มีทั้ง
รถยนต์อัจฉริยะ (connected
cars) บ้านอัจฉริยะ
(connected
home) เมืองอัจฉริยะ
(connected
cities) เช่น
เครือข่ายสายส่งกระแสไฟ
ไฟฟ้าส่องสว่างตามถนนหนทาง
หรือระบบสัญญาณไฟจราจร
อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ
(wearables)
เช่น
กำไลที่สามารถเช็คสุขภาพของผู้สวมใส่ได้
รวมทั้งระดับน้ำตาล ไขมัน
ความดันเลือด การเต้นของหัวใจ
ฯลฯ และเครื่องจักรอัจฉริยะในบางอุตสาหกรรม
(industrial
internet) เช่น
พลังงาน สุขภาพ ขนส่ง เป็นต้น
โอกาสที่
IoT
จะหยิบยื่นให้เราในฐานะผู้ผลิต
Hardware
และ
Software
นั้นมีมากมายหลายด้าน
ตั้งแต่การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ไปจนถึงการเขียน Applications
ต่างๆ
ทว่า
โอกาสย่อมมาพร้อมอุปสรรคเสมอ
ปัญหาสำคัญที่จะเกิดย่อมเป็นเรื่องของ
"Security”
การลงทุนทางด้าน
Security
จะต้องเขม็งเกลียวขึ้น
ทั้งภาครัฐและเอกชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐนั้น
จะต้องมีบทบาททางด้านนี้อย่างเข้มแข็งและละเอียดถี่ถ้วน
เรื่องราวซึ่งเกิดขึ้นต่อไปนี้
สามารถสรุปรวบยอดปัญหาอันจะควบคู่กันมากับโลกของ
IoT
นิตยสาร
Wired
เพิ่งตีพิมพ์ผลการทดสอบรถยนต์
Jeep
ที่ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตแล้วโดน
Hackers
สองคนเจาะเข้าไปในระบบ
และสามารถบังคับรถยนต์ได้ตามใจชอบ
ผู้อ่านสามารถอ่านบทความแบบเต็มและคลิกชมคลิปการทดลองครั้งนี้อย่างละเอียดได้ที่
“Hackers
Remotely Kill a Jeep on the Highway—With Me in”
ตามลิงค์ในวงเล็บ
(www.wired.com/2015/07/hackers-remotely-kill-jeep-highway/)
Andy
Greenberg ผู้ทดสอบและผู้รายงานครั้งนี้
กล่าวในคลิปตอนหนึ่ง
ซึ่งแสดงให้เห็นจุดอ่อนของ
IoT
ว่า:
“I
WAS DRIVING 70 mph on the edge of downtown St. Louis when the exploit
began to take hold.
Though
I hadn’t touched the dashboard, the vents in the Jeep Cherokee
started blasting cold air at the maximum setting, chilling the sweat
on my back through the in-seat climate control system. Next the radio
switched to the local hip hop station and began blaring Skee-lo at
full volume. I spun the control knob left and hit the power button,
to no avail. Then the windshield wipers turned on, and wiper fluid
blurred the glass.
As
I tried to cope with all this, a picture of the two hackers
performing these stunts appeared on the car’s digital display:
Charlie Miller and Chris Valasek, wearing their trademark track
suits. A nice touch, I thought. ...(...)...
As
the two hackers remotely toyed with the air-conditioning, radio, and
windshield wipers, I mentally congratulated myself on my courage
under pressure. That’s when they cut the transmission.
Immediately
my accelerator stopped working. As I frantically pressed the pedal
and watched the RPMs climb, the Jeep lost half its speed, then slowed
to a crawl. This occurred just as I reached a long overpass, with no
shoulder to offer an escape. The experiment had ceased to be fun.
At
that point, the interstate began to slope upward, so the Jeep lost
more momentum and barely crept forward. Cars lined up behind my
bumper before passing me, honking. I could see an 18-wheeler
approaching in my rearview mirror. I hoped its driver saw me, too,
and could tell I was paralyzed on the highway.”
ฟังแล้วค่อนข้างน่ากลัว
เพราะ Hackers
สามารถควบคุมระบบคันเร่งและพวงมาลัยและระบบล็อกได้
100%
เท่ากับคนขับไม่สามารถทำอะไรได้เลย
ช่วยตัวเองก็ไม่ได้เลย
ที่น่าสนใจกว่านั้น
คือ Hackers
ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งหรือโมดิฟายระบบอะไรเลย
เพียงเจาะเข้ามาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ติดตั้งเพื่อความบันเทิงในรถ
เช่น เพลงและหนัง
ซึ่งรถสมัยใหม่แทบทุกยี่ห้อก็มีกันแล้วHackers สองคนนั้นทำให้รถยนต์จีปเชอร์โรกีคันนั้นหมดค่าไปในทันที
กรณีศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าระบบความปลอดภัยนั้นจะมีความสำคัญมาก ในยุค “Internet of Things”
อีกประเด็นหนึ่งของ IoT ที่สำคัญคือมันจะทำให้การจ้างงานมนุษย์ลดลง
หุ่นยนต์และซอฟท์แวร์จะมาแทนแรงงานมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
เดี๋ยวนี้ เวลาไปเช็คอินที่สนามบินในต่างประเทศ เราสามารถใช้ตั๋วรูดไปที่เครื่องเช็คอิน โดยไม่ต้องไปบอกพนักงานที่หน้าเค้าเตอร์อีกต่อไป
McDonald's ซึ่งถือเป็นกิจการที่จ้างแรงงานทั่วไปมากกิจการหนึ่ง ก็เริ่มที่จะนำเอาหุ่นยนต์เข้ามาใช้แทนคนมากขึ้นแล้ว
หรืออย่างเมื่อเร็วๆ นี้ สิงคโปร์ได้ทดลองโครงการรถขนส่งสาธารณะที่ไม่ต้องใช้คนขับ อีกทั้งยังได้ทดลองให้คนขับเพียงคนเดียวเป็นผู้บังคับขบวนรถขนส่งทั้งคอนวอย (ผู้สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ www.straitstimes.com/lifestyle/motoring/self-driving-truck-trials-on-highway)
ลองจินตนาการดูว่าคนขับรถจะหางานยากขึ้นสักแค่ไหน ดังนั้นรัฐบาลที่กำลังมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและบริการด้าน IoT ต้องคิดทางหนีทีไล่ไว้ด้วย
Mega-Trend อีกกระแสหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังจะเติบโตมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณคือสิ่งที่เรียกว่า “Sharing Economy”
“Sharing Economy” เกิดขึ้นบนพื้นฐานที่ว่าคนรุ่นใหม่เป็นพวกที่ไม่ค่อยชอบเป็นเจ้าของสินทรัพย์อะไร แต่ชอบที่จะดื่มด่ำกับประสบการณ์มากกว่า จึงเกิดการนำเอาสินทรัพย์มาแชร์กัน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
สมัยนี้พวกเขาสามารถนำเอาบ้านหรือคอนโดมิเนียมของพวกเขามาแบ่งให้คนอื่นเช่าในช่วงที่ตัวเองจะไม่อยู่ โดยนำไปโพสต์บนเว็บไซต์อย่าง airbnb โดยคนที่ต้องการเช่า สามารถคลิกจองผ่าน App บนโทรศัพท์มือถือ แล้วจ่ายเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที
UBER เป็นดาวเด่นของกิจการประเภท Sharing Economy
UBER เป็นตัวกลางระหว่างผู้ต้องการเดินทางโดยแท็กซี่กับเจ้าของรถยนต์ส่วนตัวที่อยู่ในช่วงว่าง อยากหาลำไพ่พิเศษ
ธุรกิจของ UBER เติบโตอย่างรวดเร็ว เพียง 6 ปี ขยายกิจการไปตามหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก
เดี๋ยวนี้มีกิจการที่เป็นตัวกลางคล้ายๆ UBER เกิดขึ้นในทุกวงการ เพื่อให้คนนำเอาทรัพย์สินมาแชร์กันใช้ ไม่ว่าจะเป็น การเช่ารถ เช่าที่จอดรถ เช่าบ้าน เช่าห้องพัก เช่าสำนักงาน เช่าหมา เช่าแมว บริการรับจ้างขับรถ รับจ้างทำสวน รับจ้างซักผ้า ให้เช่าที่เก็บของ และให้เช่าสินค้าแบรนด์เนมชั่วคราว เป็นต้น
ปัจจุบัน ในวงการไฮเทคมีประโยคที่เรียกกิจการแนวนี้ว่า "UBER of Everything”
แน่นอน กิจการเหล่านี้ย่อมเข้ามาแย่งธุรกิจไปจากธุรกิจแบบเดิม เช่น ถ้า UBER โตขึ้น อู่รถแท็กซี่และคนขับย่อมอยู่ยากขึ้น ดีไม่ดี รถใหม่จะพลอยขายไม่ได้ด้วย หรือถ้า airbnb และ wework (ให้เช่าสำนักงานพร้อมอุปกรณ์สำนักงาน สำหรับผู้ที่ไม่อยากนั่งทำงานที่บ้าน โดยเรียกชื่อแบบใหม่ว่า co-working space) เติบโตขึ้น ธุรกิจโรงแรม อพาร์ตเม้นต์ เกสต์เฮ้าส์ โฮมสเตย์ และอาคารสำนักงาน ย่อมกระเทือน ดีไม่ดี อาจไม่มีการสร้างโรงแรมและอาคารสำนักงานใหม่ๆ เลยก็ได้
เหล่านี้ เป็นผลกระทบที่ Mega-Trend จะทำให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และผู้ประกอบการแบบเดิมๆ จะลดความเสียหายลงได้ ก็อาจจะต้องชิง Disrupt ตัวเองเสียก่อน หรือไม่ก็ต้องใช้การเมืองหรือกฎหมายกีดกัน Business Model ใหม่ๆ เหล่านี้ซะเลย
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
14 ต.ค. 2558
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA
รูปกราฟฟิกประกอบ จาก https://inventrom.files.wordpress.com/
ผู้เขียนขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น