แม้ขณะนี้
นโยบาย "อัตราดอกเบี้ยติดลบ"
ยังมาไม่ถึงเมืองไทย
ก็ใช่ว่าผู้ฝากเงินอย่างพวกเราจะนิ่งนอนใจได้
เพียงเมื่อไม่กี่เดือนมานี้
จู่ๆ
ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งก็ได้ประกาศว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบางประเภทสำหรับคนทั่วไปลงเหลือ
"0%”
ทำให้ผู้คนเกิดสับสนอลหม่าน
และมีข่าวลือว่าจะเกิดการถอนเงินจำนวนมาก
จนผู้บริหารธนาคารแห่งนั้นต้องเปลี่ยนใจ
ประกาศยกเลิกหลังจากนั้นไม่นาน
เหตุการณ์ดังกล่าว
เป็นข่าวบนหน้า 1
หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่แทบทุกฉบับ
ในขณะนั้น
แน่นอน
"อัตราดอกเบี้ย
0%”
และ
"อัตราดอกเบี้ยติดลบ"
ถือเป็นภัยคุกคามต่อผู้มีเงินฝากทุกคน
ยิ่งประชาชนทั่วไป
ข้าราชการ และผู้เกษียณ
ที่สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของพวกเขามักอยู่ในรูปของเงินฝากธนาคารแล้ว
นโยบายแบบนี้ ย่อมกระทบพวกเขาเข้าอย่างจัง
มันไม่ต่างอะไรกับ
"โจร"
ที่คอย
"ขโมยความมั่งคั่ง"
จากพวกเราไปทีละเล็กทีละน้อย
เหมือนกับตุ่มที่รั่ว
เติมน้ำเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม
ไม่ว่าคุณจะอดออมมากแค่ไหน
มัธยัสถ์สักเพียงใด
เมื่อเวลาผ่านไปทุกปี
ยอดเงินฝากของคุณจะลดลง
เมื่อเทียบกับจุดเริ่มต้น
เช่นในกรณีอัตราดอกเบี้ยเป็น
"ศูนย์"
ถ้าคุณฝากเงินไว้ร้อยบาทตอนต้นปี
ตอนสิ้นปีคุณจะมีเงินเท่าเดิม
แต่คุณต้องเสียค่าโสหุ้ยต่างๆ
เช่นค่าธรรมเนียมธนาคาร
ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม
ฯลฯ หรือแม้กระทั่งค่าเดินทางไปธนาคารแต่ละครั้งเพื่อฝากถอน
นี่ยังไม่นับอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ข้าวของขึ้นราคาทุกปี
และเมื่อมาเทียบกับรายได้ดอกเบี้ยของคุณแล้ว
ถ้าคิดคำนวณละเอียดหน่อย
ก็จะเห็นได้ไม่ยากว่าคุณต้องติดลบ
(ภาษาเทคนิคทางการเงินเรียกว่า
Negative
Real Interest Rate หรือ
Negative
Effective Rate)
และถ้าเป็นกรณี
"อัตราดอกเบี้ยติดลบ"
ดังที่หลายประเทศใช้อยู่
ยิ่งหนักข้อไปกันใหญ่
เพราะเท่ากับว่าคุณอุตส่าห์เอาเงินไปฝากธนาคาร
แต่ธนาคารกลับมาเก็บค่าฝากเงินจากคุณซะงั้น
เช่น ถ้าธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
"-1%”
ต่อปี
ก็หมายความว่า เงินฝาก 100
บาท
ของคุณตอนต้นปี จะลดลงเหลือเพียง
99
บาท
ตอนปลายปี (ยังไม่นับค่าธรรมเนียมและค่าโสหุ้ยต่างๆ)
มันบ้าไหมหล่ะ?
โลกทำไมเพี้ยนไปได้ถึงเพียงนี้
กวาดตามองไปทั่วโลก
ณ วันนี้ กว่า 30
ประเทศแล้ว
(ประชากรของประเทศเหล่านั้นรวมกันประมาณ
500
ล้านคน)
ที่ปล่อยให้เกิด
"อัตราดอกเบี้ยติดลบ"
(หรือไม่ก็ผลตอบแทนพันธบัตร
หรือ Bond
Yield ติดลบ
โดยข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาอ้างอิงกันทั่วไปคือ
พันธบัตรรัฐบาลที่ซื้อขายกันด้วยราคาที่ทำให้อัตราผลตอบแทนติดลบ
(Negative
Bond Yield อย่าลืมว่าราคาพันธบัตรย่อมสวนทางกับผลตอบแทน
ตามหลัก Discounted
Cash Flow) มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ
12
ล้านล้านเหรียญฯ
คิดเป็นเกือบๆ
หนึ่งในสามของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลทั้งโลกที่ซื้อขายกันในตลาดฯ)
ที่พูดนี้รวมถึงประเทศชั้นนำ
เช่น ญี่ปุ่น เดนมาร์ก สวีเดน
อิตาลี อังกฤษ เยอรมนี
สวิตเซอร์แลนด์ สหภาพยุโรป
เป็นต้น
สหรัฐฯ
เอง แม้จะยังไม่ประกาศอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์หรือติดลบ
ก็ได้ฝืนกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในแดนต่ำมากมานาน
โดยในช่วงหลังวิกฤติหนักปี
2008
นั้น
ก็ได้ใช้นโยบายนี้ร่วมกับโครงการ
QE
หรือ
Quantitative
Easing
ที่ให้ธนาคารกลางอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและ
Mortgage-backed
Securities
ขณะนี้
แม้อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ
จะยังอยู่ในแดนบวกทั่งคู่
แต่เมื่อได้ฟังจากปากของ
Janet
Yellen ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
(Federal
Reserve) ที่บอกว่าการจะนำ
NIRP
หรือ
Negative-interest-rate
Policy มาใช้หรือไม่นั้น
ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว
(..“not
completely rule out”....“in some future very adverse scenario.”)
ถ้าให้ตีความ
ก็คงต้องบอกว่า
ธนาคารกลางยังคงสงวนนโยบายนี้ไว้เป็นอาวุธที่จะนำออกมาใช้ในอนาคต
หากสภาวะเศรษฐกิจเกิดพลิกผันเลวร้ายลงอย่างเกินที่คาดหมายไว้
โดยในใจเธอคงจะหมายถึง
ราคาหุ้นและหลักทรัพย์
ที่อาจตกลงอย่างฉับพลัน
หรือที่เรียกว่า Stock
Market Crash นั่นเอง
(ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
เพราะดัชนีราคาหุ้นของสหรัฐฯ
ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับสูงมากเป็นประวัติการณ์
ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจพื้นฐาน
ยังอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง)
ไทยเราเป็นประเทศเล็ก
หากบรรดาพี่เบิ้มที่เป็น
"หัวขบวน"
ของโลก
ยังคงตั้งใจกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำเข้าไว้ต่อไป
เราก็ไม่สามารถฝืนขึ้นดอกเบี้ยได้
เพราะจะทำให้เงินทุนไหลเข้า
ราคาสินทรัพย์จะเฟ้อโดยใช่เหตุ
และอัตราแลกเปลี่ยนก็จะแข็งค่า
กระทบต่อการส่งออก
เห็นได้ชัดว่า
ปัจจัยในเชิงมหภาคของโลกในตอนนี้
มีอิทธิพลต่อความเป็นไปของปากท้องคนไทยมากกว่าในอดีตมากเลย
(แม้ทุกคนจะรู้แล้วว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ
ต้องการทะยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ให้กลับสู่ภาวะปกติ “Back
to Normal” หรือ
“New
Normal”
แต่พวกเขาย่อมต้องดูสภาวการณ์ฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนประกอบด้วย
เพราะหากเศรษฐกิจจีนง่อนแง่นมากเกินไป
แล้วสหรัฐฯ ประกาศขึ้นดอกเบี้ย
ก็อาจจะทำให้ตลาดหุ้นในจีนเกิดปัญหาได้
และอาจลุกลามไปยังตลาดฯ
อื่นทั่วโลก
ฯลฯ...และเหล่านี้ย่อมกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยะสำคัญทั้งสิ้น)
สำหรับคนทั่วไปแล้ว
ถ้าแนวโน้มยังคงเป็นไปในแนวนี้
การถือครองเงินสด
(เงินสดไม่มีดอกเบี้ยรับ)
หรือเงินฝากในสัดส่วนที่มากเกินไป
ย่อมไม่ทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มพูนขึ้น
ไอ้ครั้นจะนำเงินไปซื้อหุ้นในตอนนี้
ย่อมเป็นการเสี่ยงมาก
เพราะราคาหุ้นขึ้นมาสูงมากแล้ว
ลองดูดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
หลังจากวิกฤติซัพไพรม์เมื่อปี
2551เป็นต้นมา
และกองทุนต่างประเทศเริ่มหันเหเงินลงทุนจากตลาดสหรัฐฯ
มุ่งสู่ตลาด Emerging
Markets
ดัชนี้ตลาดหลักทรัพย์หรือ
SET
Index
เพิ่มขึ้นจากที่เคยต่ำสุด
ณ ระดับ 400
จุด
มาอยู่ในระดับสูงสุดประมาณ
1,600
จุดในช่วงที่
FED
ประกาศหยุด
QE
แล้วก็ทะยอยปรับตัวลงไปเกือบ
400
จุด
(ส่วนสำคัญเพราะสหรัฐฯ
หยุด QE)
และเพิ่งจะกลับขึ้นมาอีกในปีนี้
มายืนอยู่เหนือ 1,500
จุด
ในขณะที่เขียนต้นฉบับนี้
แน่นอน
ตลาดหุ้นไทย
ราคาแพงขึ้นมาได้เพราะนโยบายดอกเบี้ยต่ำบวกกับการอัดฉีดเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ตามมาด้วยธนาคารกลางสหภาพยุโรป
และธนาคารกลางญี่ปุ่น
และการที่หุ้นมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน
ย่อมทำให้เกิด Wealth
Effect
ที่แพร่สะพัดเข้าไปสู่สินทรัพย์ชนิดอื่น
ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์
ทองคำ งานศิลปะ และของสะสมบางชนิด
เช่นรถยนต์คลาสิก งานศิลปะ
นาฬิกา ของเก่า พระเครื่อง
และของสะสมอื่นๆ ฯลฯ
ดังนั้น
การจะนำเงินไปซื้อหุ้นในตอนนี้
ย่อมเป็นการเสี่ยง
เราเห็นด้วยกับ
Donald
Trump ผู้สมัครชิงตำแห่งประธานาธบดีสหรัฐฯ
ของพรรครีปับรีกัน
ที่เพิ่งให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ
Fox
News เมื่อสองวันก่อน
(2
สิงหาคม
2559)
ว่า
ใช่
อัตราดอกเบี้ย อยู่ในระดับต่ำอย่างผิดปกติ
(ฝืนให้ต่ำ)
และการให้กู้ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ
นั้นถือว่าเป็น "Free
Money”
ดังนั้น
คนที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเหล่านี้ได้ไม่ยาก
เช่นธุรกิจใหญ่ๆ ธนาคาร
ธุรกิจการเงิน จึงร่ำรวย...กิจการจำนวนมาก
กู้เงินดอกเบี้ยต่ำมากว้านซื้อหุ้นของตัวเอง
หรือนำมาซื้อกิจการเกิดใหม่หรือ
Start-Ups
ในราคาแพงเกินพื้นฐาน
หรือนำมาขึ้นเงินเดือนกันเอง
จ่ายโบนัสกันเอง
หรือนำไปลงทุนเก็งกำไรในสินทรัพย์นานาชนิด...ภาพเขียน
งานศิลปะ หุ้น พันธบัตร
อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์
นาฬิกา เรือยอชจ์
ของสะสม...หรือนำไปใช้สุรุ่ยสุร่ายโดยไม่จำเป็นต้องระวังอะไร
คนเหล่านี้รวมทั้งพวกที่ถือทรัพย์เป็นหุ้น
เป็นพันธบัตร เป็น Financial
Asset ทั้งหลาย
ดีขึ้น รวยขึ้น มั่งคั่งขึ้น
ภายใต้นโยบายแบบนี้
ทว่าคนทั่วไปที่กินเงินเดือน
มีรายได้คงที่
และยากแก่การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ย่อมแย่ลง (อีกทั้งการย้ายฐานการผลิตไปยังจีน
ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องปิดตัวลง
และงานหลายลักษณะที่เคยมีมาแต่เดิมก็หดหายไป)
คนเหล่านี้แหล่ะคือฐานเสียงที่นิยม
Donald
Trump
พวกเขาคิดว่า
ต้องมีอะไรผิดพลาดในระบบที่เป็นอยู่
ใครเป็นคนออกแบบระบบนี้...พวกเขาต้องการคนนอกมาเปลี่ยนแปลง
ไม่ใช่พวกวงในที่มีส่วนร่วมออกแบบระบบนี้มา
อย่างคุณคลินตัน
กลับมาที่พวกเรา
ว่าจะทำยังไงกับชีวิตดี?
ถือเงินสดก็ไม่ดี
เงินฝากก็ถูกธนาคารเอาเปรียบ
ซื้อหุ้นก็เสี่ยง
ทางเลือกที่ดี
น่าจะแบ่งเงินออกเป็นสามส่วน
ส่วนแรกเก็บเป็นเงินฝาก
ส่วนที่สองซื้อทองคำเก็บไว้
(แม้การถือทองคำไม่มีดอกเบี้ยรับ
แต่ก็มีสภาพคล่องสูง
และเป็นเหมือนการประกันความเสี่ยง
เมื่อเกิดวิกฤติ ทองคำจะมีค่ามาก)
ส่วนที่สามซื้อเป็นอาหารการกินเก็บตุนไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ
แต่ถ้าเป็นคนชอบเสี่ยง
ก็อาจจะแบ่งไปซื้อหุ้นได้บ้าง
แต่ต้องศึกษาพื้นฐานของกิจการ
เฟ้นหากิจการที่มีอนาคตและมั่นคง
(ซึ่งยังมีอยู่ไม่น้อย)
หรืออาจจะซื้อกองทุน
ETF
ในตลาดต่างประเทศ
ที่ P/E
ยังต่ำอยู่
และคาดว่าอาจจะฟื้นตัวในอนาคต
(เช่นรัสเซีย
และ บราซิล เป็นต้น)
ซึ่งถ้าขาดทุน
ก็จะไม่มาก
การเก็บความมั่งคั่งไว้ในรูปแบบของอาหารนั้นทำได้
เพราะธรรมดาครอบครัวเราก็ต้องบริโภคอยู่แล้ว
และอาหารส่วนใหญ่ก็มีสภาพคล่องสูง
สามารถนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินหรือสินทรัพย์ชนิดอื่นได้ไม่ยาก
คนสมัยก่อนต้องสต๊อกข้าวไว้กินเองในครอบครัว
หลังจากที่นำส่วนเกินออกขายแล้ว
ประเทศญี่ปุ่นหรือจีนเอง
ก็ดำเนินกลยุทธ์เช่นนี้
การที่ญี่ปุ่นต้องเข้าสู่สงครามโลกก็เพราะความกลัวที่ว่าคนของตนจะอดตาย
เพราะถูกปิดล้อม และอาหารไม่เพียงพอ
จึงต้องบุกออกไปยึดครองพื้นที่อื่น
เพื่อแสวงหาอาหารและทรัพยากรต่างๆ
ปัจจุบัน
ญี่ปุ่นยังคงจัดหาอาหารโดยการซื้อล่วงหน้าเป็นเวลาหลายปี
จีนเองก็เช่นกัน
คำกล่าวของ
มจ.สุทธิพร
กฤดากร ที่ว่า "เงินทองเป็นมายา
ข้าวปลาเป็นของจริง"
นั้น
เป็นความจริง โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤติแล้ว
อาหารจะเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
และอาหารก็สามารถใช้แทนเงินทอง
ในฐานะ Currency
ได้ด้วย
เงิน
(Money)
ต่างหาก
ที่เป็นเพียง "หน่วยวัด"
หรือสิ่งสมมุติให้เป็น
"ตัวแทน"
ของ
"ความมั่งคั่ง"
หรือ
“Wealth”
เงิน
ไม่ใช่ Wealth
เงินมีค่าได้เพราะถูกสมมติให้เป็นสื่อกลางในการจัดหามาซึ่ง
Wealth
สิ่งที่เงินซื้อได้ต่างหากคือ
Wealth
และเงินมีค่าได้ก็เพราะใช้จัดหา
Wealth
หรือเทียบค่ากับ
Wealth
นั่นเอง
Wealth
เกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของมนุษย์
ที่ต้องขุด ต้องตัก ต้องดำลงไป
ต้องจับ ต้องดัก ต้องเสี่ยง
ต้องล่า ต้องตัด ต้องถลุง
ต้องผสม ต้องสกัด ต้องหล่อ
ต้องหลอม ต้องกลึง ต้องตกแต่ง
ต้องกุม ต้องประกอบ ต้องออกแบบ
ต้องผลิต ด้วยสติปัญญาความรู้และจินตนาการ
เพื่อให้เกิดเป็นข้าวของ
แล้วต้องอดออม สร้างสมทีละเล็กทีละน้อย
เพื่อเป็นทุนของสังคม (Capital Formation)
เงินเป็นเพียงกระดาษ
หรือตั๋วที่จะนำไปแลกมาซึ่งสิ่งเหล่านั้น
ข้าวหนึ่งถัง
ส้มหนึ่งกิโล ผักหนึ่งกำมือ
พริกสองหยิบ ต้มยำกุ้งหนึ่งชาม
ไปจนถึง เครื่องจักร รถยนต์
เรือบิน สินค้าอุปโภคบริโภค
และผลิตภัณฑ์ไฮเทค...เหล่านี้คือ
Wealth
ที่คนผลิตขึ้นโดยอาศัยแรงงาน
แรงสมอง จินตนาการ เครื่องไม้เครื่อมือ
และความรู้ (หรือเทคโนโลยีนั่นเอง)
ถ้าพิมพ์เงินเพิ่มแล้วแจกออกไปเป็นจำนวนมาก
แต่ข้าวยังมีแค่ถังเดียว
ส้มมีแค่หนึ่งกิโล
ผักมีแค่หนึ่งกำมือ
พริกมีแค่สองหยิบ
ต้ำยำกุ้งมีแค่หนึ่งชาม
เครื่องจักรมีเท่าเดิม
เครื่องบินมีเท่าเดิม ฯลฯ
ไม่มีใครผลิตอะไรเพิ่มได้
หรือไม่มีใครยอมผลิต ไม่มีใคร
Start
it Up ลุกขึ้น
หยิบพลั่ว หยิบจอบ หยิบเสียม
ถลกแขนเสื้อ ชักชวนผู้คนมาร่วมกันลงเงิน
ลงแรง เสี่ยงร่วมกัน
สร้างสิ่งใหม่ๆ...มีแต่คนเอาแต่สบาย
กู้เงินดอกเบี้ยต่ำมาหากำไรเพิ่มโดยให้
"เงินทำงาน"
อย่างเดียว
ฯลฯ
Wealth
ของสังคมจะเพิ่มได้อย่างไร?
และเงินจะมีค่าอะไรกัน?
นั่นเป็นคำตอบสำหรับปริศนาของการสร้างความมั่งคั่ง
และเป็นคำตอบว่าทำไม
เศรษฐกิจของประเทศพี่เบิ้มในโลกจึงยังเตาะแตะไม่ไปถึงไหน
แม้จะอัดฉีดเงินเข้าไปเป็นจำนวนมากมายมหาศาลแล้วก็ตาม
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
4
สิงหาคม
2559
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับสิงหาคม 2559
รูปประกอบจาก Business Finance News, ผู้เขียนขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
รูปประกอบจาก Business Finance News, ผู้เขียนขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น