มีคนปรามาสทำนองว่า
แม้เยอรมันจะเจ๋งและเป็นจ้าวแห่งอุตสาหกรรม
Medium-Tech
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
Vehicles,
Chemical, Machine Tools, และ
Producer
Goods หรือแม้แต่อุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าในย่านของ
Green
Technology ก็ตามที
ทว่าในย่านของอุตสาหกรรม
Hi-Tech
เช่น
คอมพิวเตอร์และสหาย
ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
อินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ๆ
ตลอดจนเซมิคอนดักเตอร์
และไบโอเทคโนโลยี
ซึ่งจะเป็นอนาคตของโลกนั้น
เยอรมันยังล้าหลังอยู่มาก
และแม้ว่าระบบทวิอาชีวะของเยอรมันซึ่งได้รับการยกย่องจากทั่วโลก (ausbildungberufe แบบว่าทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย) จะ
"แน่"
สักเพียงใด
ก็คงจะไม่เหมาะกับบรรยากาศของอุตสาหกรรม
Hi-Tech
ซึ่งเป็น
Knowledge-based
ที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก
มิใช่ Skill-based
แบบที่เยอรมันคุ้นเคยและจัดโครงสร้างสังคมให้รองรับไว้อย่างแน่นหนามาแต่เก่าก่อน
ทว่า
การที่ Campus
Party ตัดสินใจเลือกเอา
Tempelhof สนามบินร้างกลางกรุง
Berlin
ให้เป็นแหล่งชุมนุมและแคมปิ้งของชาว
Nerds
และ
Coders
และ
Startups
และ
Venture
Capitalists ทั่วยุโรปในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งกรุงเบอร์ลินและรัฐบาลกลางของเยอรมนี
ที่รับปากว่าจะลงทุนสร้าง
Infrastructure
และปรุงแต่งบรรยากาศอย่างสุดความสามารถที่จะดึงดูดบรรดา
"หัวกะทิ"
ทางด้านดิจิตัลและ
"ผู้ประกอบการรุ่นเทพ"
เฉกเช่น
Mark
Zuckerberg หรือ
Steve
Jobs ย่อมส่งสัญญาณบางอย่างว่า
เยอรมันจะไม่ยอมตกรถไฟขบวนนี้เป็นอันขาด
และประกาศจะวิ่งไล่กวด
Silicon
Valley และ
Bay
Area และ
London
ในฐานะ
High-Tech
Hub
ผมได้เข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้ในฐานะสื่อมวลชน
ผมได้ยิน Philipp
Rosler รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
(ผู้มีเชื้อชาติเวียดนาม)
เน้นย้ำว่า
Berlin
ไม่ใช่เยอรมันแต่เป็น
International
City และยังได้ฟังบรรดาวิทยากรตลอดจนบรรดา
Startup
และ
Venture
Capitalist และวิศวกร
และโปรแกรมเมอร์ และผู้ที่เรียกตัวเองว่า
Hacker
และ
Coders
ขึ้นมาพรีเซนต์แนวคิดและผลงานต่างๆ
ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน
ใน 22
แขนง
และได้เห็นบางคนบังคับหุ่นยนต์รูปร่างแปลกๆ
ของตนให้เดินไปเดินมาในงาน
ตลอดจนเข้าร่วมสังเกต Workshop
บางอันที่ผมสนใจ
และร่วมสัมภาษณ์คนที่น่าสนใจ
เช่น Caroline
Drucker แห่ง
Etzy.com
และ
Don
Tapscott ผู้เขียน
Wikinomics
และ
Macrowikinomics
กับเพื่อนสื่อมวลชนหลายชาติ
ตลอดจนเข้าร่วม Satellite
Events และ
Evening
Party ณ
คาเฟ่และผับเก๋ๆ ของบรรดาชาว
Nerds
และ
Startups อย่าง
St.Oberholz,
Cafe Moscow, และ
Prince
Charles
ผมได้เห็นกับตาว่าคนเยอรมันรุ่นใหม่พูดภาษาอังกฤษคล่องปรื๋อและ
American-Style Venture Capitalist
ของเยอรมันก็มีเหมือนกันและลงทุนสำเร็จไปแล้วกับหลายกิจการ
และถึงแม้ว่ากิจการเหล่านั้นจะเป็นกิจการนอกอุตสหกรรมไฮเทค
ทว่าพวกเขาเหล่านั้นเริ่มรุกคืบเข้ามาในอุตสาหกรรมไฮเทคบ้างแล้ว
ดังตัวอย่างของ Etzy.com
ซึ่งเกิดจากการปลุกปั้นของคนแคนาเดียนที่อพยพมาอาศัยในเบอร์ลินเป็นพยานอยู่
ผมยังทราบอีกว่า
Co-work
Space ในเบอร์ลินเพ่ิมขึ้นหลายเท่าตัวในรอบหลายปีมานี้
และเมื่อได้พูดคุยกับ Startups กลุ่มเล็กๆ
จากโปแลนด์และลิทัวเนียที่มาขอเช่าอาศัย
Cubicle
ของ
St.Oberholz
เป็นที่สิงสถิต
จึงรู้ความคิดของคนเหล่านี้ว่าที่เลือกมาปักหลักยังเบอร์ลินเพราะใกล้บ้านและค่าครองชีพถูกกว่าลอนดอนหรือสหรัฐฯ
และมีทุกอย่างที่สนับสนุนบรรดา
Startup อย่างเช่น
Venture
Capitalist
(ซึ่งคุณสามารถนั่งดื่มเบียร์ด้วยได้ตามคาเฟ่และถ้าบางทีเกิดตกลงกันได้เดี๋ยวนั้น
แม้คุณจะมาแต่ตัวกับคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป
คุณก็ขอสามารถเช่า Co-work
Space ที่คาเฟ่เหล่านั้นได้เลย
แถมบางแห่งยังมีอพาร์ตเม้นต์ให้สำหรับพวก
Startup
ที่เริ่มได้รับ
Financing
จาก
VC
แล้วอีกด้วย)
แหล่งพบปะพูดคุยกับบรรดาหัวกะทิพันธุ์เดียวกัน
มหาวิทยาลัย ห้องสมุด
มิวเซียมชั้นเลิศ และสถาบันวิจัยหรือ
Science
Park ประเภท
"ของจริง"
ที่มีชื่อเสียง
เช่น Adlershof (หรือ
City
of Science, Technology and Media)
และที่สำคัญกระบวนการทางด้านวีซ่ามิได้เป็นอุปสรรค
คือถ้า
Silicon
Valley มี
Stanford
ฉันใด
Berlin
ก็มี
Humboldt
ฉันนั้น
ที่ผมทึ่งคือ คนเหล่าที่ขึ้นไปพูดและร่วมเข้า Workshop ซึ่งผมได้พบปะนั้น ล้วนเป็นประเภท “Well Informed” เหมาะกับอะไรที่ก้าวหน้าและยังอาจมาไม่ถึง แต่มี Sense ว่ามันจะต้องมาแน่
ถ้าเป็นคนที่ขาดแรงบันดาลใจ
ไม่มีความฝัน แล้งจินตนาการ
หรือขาดพลังชีวิตแล้ว
พวกเขาคงทนฟังอะไรแบบนั้นไม่ได้แน่
ไม่เชื่อท่านผู้อ่านลองไล่เรียงหัวข้อของ
22
Areas
แห่งอนาคตที่นำมาพูดจากันแบบเอาเป็นเอาตายในเวลาหนึ่งอาทิตย์ของการชุมนุมนั้นดูก็ได้...Astronomy,
Robotics, Hardware, Hack, Modding, Biotechnology, Nanotechnology,
Biohacking, GreenTech, Design, Photography, Video, Music, Social
Media, Blog, Developers, Free Software, Operating Systems, Security,
Networks, Entrepreneurship, และ
Gaming
แม้เราจะยังไม่เคยเห็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมที่มีอิมแพ็กระดับโลกจากธุรกิจไฮเทคของเยอรมัน
แต่ถ้าเราดูสถิติในอดีต
ที่เยอรมันเคยวิ่งไล่กวดมหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสจนสามารถแซงหน้าไปได้ในเวลาเพียงสองชั่วคน
และพิจารณา Social
Foundation ของสังคมเยอรมันในปัจจุบันประกอบ
(อย่างที่ผมว่ามาแล้วเช่น
Work
Ethic, German Management Style, High-Trust Teamwork,
และสถาบันการศึกษาเชิงช่างชั้นยอดจำนวนมาก...นี่ยังไม่นับความมั่งคั่งและทรัพย์สินที่พร้อมจะสนับสนุน)
ผมก็มั่นใจว่าอีกไม่นาน
เราน่าจะได้เห็น Steve
Jobs เวอร์ชั่นเยอรมันอย่างแน่นอน
(อ่านบทความเรื่อง German Innovations ฉบับเต็ม ของผมได้ โดยคลิกที่นี่ "ไอเดียเก๋ๆ และน่าขโมย จากเยอรมัน")
สนามบิน
Tempelhof
สมัยที่ยังเปิดทำการและสมัยนี้
Sir Tim Berners-Lee บิดาของ
HTML
ซึ่งทำให้เรามี
World
Wide Web ใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน
เซอร์ลีพูด
"โดน"
มากเมื่อเขาบอกว่า
พวกเราต้องช่วยให้อินเทอร์เน็ตมี
Free
Ideas คือที่ว่าฟรีนั้นไม่ใช่ของฟรี
แบบว่าเราต้องจ่ายค่าไอเดีย
เหมือนจ่ายค่าเบียร์นั่นแหละ
เพราะเจ้าของไอเดียเขาก็มีต้นทุน
เหมือนผู้ผลิตเบียร์ที่ต้องจ้างคนและมีครอบครัวต้องดูแล...ดังนั้นไอเดียที่ดีก็ต้องจ่าย
เพราะถ้าเราเอาฟรีหมด
ไอเดียดีๆ
ก็จะหายไป..เข้าล็อกกิจการใหญ่โตที่เอาเงินจากตลาดหุ้นมา
Subsidize
บริการฟรี...โอ้ว!
พอถึงตรงนี้
คนเฮกันตรึม...เราก็นึกว่า
"โดน"
เราคนเดียว
แต่ฝรั่งก็รู้สึกเช่นกัน...นี่แหละหัวอกคนขายไอเดีย
และเขียนหนังสือขาย
Don Tapscott มาบรรยายเชิงโปรโมทหนังสือเล่มใหม่
Macrowikinomics
และบอกว่าองค์กรสมัยใหม่
(รวมถึงรัฐบาล)
ย่อมต้องเปลี่ยนทัศนะคติเสียใหม่ในยุคอินเทอร์เน็ตนี้
จากที่เคย “Dress
to Success” ต้องพลิกกลับมาสู่โหมด
“Undress
to Success”...หมายความว่าทำให้ตัวเอง
"ล่อนจ้อน"
แบบเท่ๆ
เสียก่อนที่เว็บไซต์แบบ
Wiki
leak จะมาเปิดโปง
เพราะความลับมันไม่มีในโลก
ดังนั้น "ความโปร่งใส"
จึงสำคัญมากในยุคต่อไป
บรรยากาศการชุมนุมของบรรดา
Nerds
และ
Startups
St. Oberholz Cafe แหล่งพบปะของคนรุ่นใหม่ในเบอร์ลิน
ที่เราสามารถเห็นบรรดา
Startups และ
Venture
Capitalists มาพบกัน
หรือมาบรรยายแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
โดยทางร้านยังมีพื้นที่
Co-work
Space พร้อม
Wifi
ความเร็วสูงพร้อมอุปกรณ์สำนักงานจำเป็นให้เช่าเป็นออฟฟิสชั่วคราว
และถ้าจะอยู่ยาวก็มีอพาร์ตเม้นต์ให้เช่าด้วย...เรียกว่ามาแต่ตัวกับ
Laptop
อีกตัว
ก็พอละ
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนกันยายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น