สองเดือนมานี้
กระแสปากต่อปากในโซเชียลมีเดียของหนังและละครสองเรื่องมาแรงมากจนไม่ดูไม่ได้
ฮอร์โมน
วัยว้าวุ่น และ
Sharknado
หนึ่งฮิตในไทย
อีกหนึ่งฮิตที่อเมริกา
ผมดูแล้ว
เกิดความ "แหยง"
ทั้งสองเรื่อง
แหยง
ฮอร์โมน เพราะกลัวลูกๆ
จะเอาอย่างตัวละครบางคนเมื่ออยู่ลับหลังเรา
และแหยง Sharknado
จนอาจต้องเลิกกินปลาไปสักพัก
ยิ่งหูฉลาดด้วยแล้ว
คิดว่าอาจจะต้องเลิกไปอีกนานแสนนาน
ผมเขียนเรื่องนี้เพราะเพิ่งได้ข้อมูลว่าปริมาณการบริโภคปลาในรอบหลายปีมานี้มากขึ้นหลายเท่าตัว
จนตอนนี้สูสีกันกับเนื้อวัวแล้ว
คนในโลกหันมากินปลากันมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจีน
อันที่จริง
ปลาเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่มนุษย์พึ่งพิงมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์
เพราะการจับปลาน่าจะมาพร้อมกับการล่าสัตว์
ก่อนที่มนุษย์จะรู้จักปลูกพืชด้วยซ้ำ
และในเมื่อพื้นน้ำในโลกนี้มีมากกว่าพื้นดิน
ปลาก็ย่อมมีมากกว่าเนื้อหรือไก่หรือเป็ดหรือหมู
ซึ่งล้วนเป็นแหล่งโปรตีนแหล่งใหญ่ของมนุษย์เช่นเดียวกันกับปลา
คำพังเพยที่ว่า
"ในน้ำมีปลา
ในนามีข้าว"
แสดงให้เห็นว่าจำนวนปลาในเมืองไทยเราแต่ก่อนนั้น
มีอยู่มากมาย
ภาษาเศรษฐกิจเรียกว่า
“Abundant
Supply”
แต่การจับปลาน่าจะยากกว่าการล่าสัตว์
เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก
และเคลื่อนไหวไปมาบนบกได้คล่องแคล่วกว่าในน้ำและบนอากาศ
(ซึ่งสมัยก่อนแทบจะทำไม่ได้เลย)
เมนูปลาและนก
จึงน่าจะน้อยกว่าเมนูหมูไก่เนื้อหรือกวางหรือโปรตีนบนบกที่หาได้สะดวกกว่า
ทั้งนี้
ต้องขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแต่ละย่านด้วยเช่นกัน
แบบว่าใครอยู่ใกล้แหล่งไหน
สะดวกยังไง ก็หาโปรตีนเอาจากแหล่งนั้น
หาจากเนื้อไม่ได้ก็หาจากไก่จากหมู
หรือถ้าอยู่ใกล้น้ำก็หาจากปลาสะดวกกว่า
หรือคนบางพวกที่ไม่ยอมกินเนื้อสัตว์เพราะความเชื่อทางศาสนา
ก็เลยต้องหาโปรตีนจากพืชแทน
เป็นต้น
ทุกวันนี้
ด้วยความก้าวหน้าของระบบการค้าระหว่างประเทศ
ระบบทุนนิยม และ Globalization
เราจึงสามารถเลือกบริโภคโปรตีนชนิดใดก็ได้
จากแหล่งไหนก็ได้
โดยไม่ยากเย็นเกินไปนัก
เดี๋ยวนี้
ถ้าคุณพร้อมที่จะจ่าย
ก็สามารถหา "มากุโระ"
ชั้นคุณภาพจากตลาดปลา
Tsukiji
กินได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ
ยกตัวอย่าง "อะคามิ"
และ
"ชูโทโร"
สดๆ
ทำเป็นซูชิคำละสี่ถึงห้าร้อยบาทแถวทองหล่อ
หรือไม่ก็เนื้อชั้นดีนำเข้าจากนิวยอร์คเอามาย่างเป็นสเต๊กจานละสามถึงสี่พันบาทแถวอโศกหรือร่วมฤดี
หรือแม้กระทั่ง Lobster
จากรัฐ
Maine
ที่ยังเป็นๆ
อยู่ ก็หากินได้ไม่ยาก
ตลาดโปรตีนจึงแยกเป็นตลาดล่าง
ตลาดกลาง และตลาดบน
เหมือนสินค้าและบริการทุกชนิดบนโลกใบนี้
เพราะกิเลสของมนุษย์มันละเอียดซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ
ตามจำนวนเงินในกระเป๋า
ทำให้เราเลือกหาโปรตีนแต่ละชนิดได้อย่างหลากหลายและสนุกสนาน
เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับชีวิตและแสดงออกถึงอารยธรรมของมนุษย์
เป็นต้นว่า
เป็ดก็มีให้เลือกตั้งแต่
ก๋วยเตี๋ยวเป็ดไปจนถึงเป็ดปักกิ่ง
หมูก็มีตั้งแต่หมูปิ้งข้างถนนไปจนถึงหมูหัน
เนื้อก็มีตั้งแต่เนื้อย่างน้ำตกหรือยำเศษเนื้อผสมเครื่องในไปจนถึงสเต๊กที่คัดสรรเอาจากส่วนนั้นส่วนนี้ของวัวเนื้อชั้นยอดบรรดามีในโลกนี้
และปลาก็มีให้เลือกตั้งแต่ปลาร้าปลาจ่อมไปจนถึง
Seafood
Fillet ราคาแพง
และ "ฮงมากุโระ"
หรือ
Bluefin Tuna
ที่ต้องจับจากทะเลน้ำลึกและขายโดยการประมูลกันตัวละหลายล้านก็มี
แม้แต่ไก่ที่ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพต่ำ
ยังมีให้เลือกเอาตั้งแต่ไก่ย่างข้างทางไปจนถึงไก่ดำขึ้นเหลา
ในบรรดาโปรตีนเหล่านี้
ตลาดปลาแตกต่างกว่าเพื่อน
เพราะหมู
ไก่ เนื้อ ล้วนเป็นสัตว์เลี้ยง
และผลผลิตรวมของโลกในแต่ละปีก็ได้จากการเลี้ยงทั้งสิ้น
แต่ปลานั้น
มาได้ทั้งสองทาง คือเลี้ยงและล่า
(การประมง)
สมัยก่อน
อุตสาหกรรมเลี้ยงปลายังทำได้ประสิทธิผลต่ำกว่าไก่
หมู หรือเนื้อ เพราะปลาต้องกินปลา
ไม่เหมือนกับวัว หมู ไก่
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมังสวิรัติ
ดังนั้นอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลา
จะต้องหาปลามาเป็นอาหารปลาด้วย
จึงเป็นเรื่องซับซ้อนและต้นทุนสูง
เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้ดีขึ้นแยะ
เช่นถ้าจะเลี้ยงปลาซาลมอนให้ได้น้ำหนักสักกิโลกรัมหนึ่ง
สมัยก่อนต้องใช้ซาดีนหรือปลาราคาถูกอื่นๆ
เป็นอาหารถึง 25
กิโล
แต่เดี๋ยวนี้ใช้เพียง 12.5
กิโลเท่านั้นเอง
ปริมาณการผลิตเนื้อปลา
(ที่ได้จากการเลี้ยง)
จึงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
เพื่อสนองดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก
ล่าสุด
FAO (Food
and Agriculture Organization) หน่วยงานของสหประชาชาติ
ประกาศสถิติปริมาณการผลิตเนื้อปลา
(ที่ได้จากการเลี้ยง)
ปี 2011
สูงถึง
63 ล้านตัน
เท่ากับเนื้อวัวแล้ว
แม้กระนั้น
ก็ยังเพิ่มไม่ทันความต้องการที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
ทำให้ราคาปลาเพิ่มขึ้นมาก
โดยตั้งแต่ปี 1990
จนถึง
2012
ดัชนีราคาปลาเลี้ยงเพิ่มขึ้นกว่า
20% แต่ปลาล่า
(โดยเฉพาะทูน่า)
เพิ่มขึ้นเท่าตัว
ชาวประมงน่าจะแฮปปี้!
เพราะยิ่งคนรวยขึ้น
พวกเขายิ่งหันมากินปลามากขึ้น
คนสมัยนี้คิดว่ากินปลาแล้วอายุยืน
และร้อยทั้งร้อยเชื่อว่าปลามีพิษและสารตกค้างน้อยกว่าเนื้อ
(ทั้งๆ
ที่วัวเป็นมังสวิรัติ)
ไก่ และหมู
และคนรุ่นใหม่ที่ถือตัวว่า
“รักษ์โลก” ก็มักจะหันมาทานปลากัน
เพราะถือว่ากระบวนการเลี้ยงปลา
หรือแม้กระทั่งจับปลา
ปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด
คนอย่าง
Sergey Brin
เจ้าของ
Google
ถึงกับควักเงิน
250,000 ยูโร
สนับสนุนโครงการของนักวิทยาศาสตร์ยุโรปที่ใช้เวลาคิดค้น
“เนื้อวัวสังเคราะห์”
(Synthetic Beef)
ถึง 5
ปี
จนสำเร็จและเอามาลองทำเป็นแฮมเบอร์เกอร์กินกันออกอากาศไปแล้วเมื่อไม่นานนี้
(ท่านผู้อ่านที่สนใจลองคลิกฟังความเห็นว่ามันอร่อยหรือไม่อย่างไร
พร้อมกับสังเกตุหน้าคนทดลองกินว่าบางคนยังอิหลักอิเหลื่ออยู่บ้าง
เห็นแล้วก็ขำ
www.youtube.com/watch?v=o7-ITj4kxeI)
มนุษย์ยังชอบกินเนื้อวัวอยู่
เพราะสถิติการบริโภคเนื้อวัวเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน
แต่คนสมัยใหม่ย่อมรู้อยู่เต็มอกว่าวัวมันกินหญ้า
และต้องเสียพื้นที่ปลูกหญ้าให้มันกินเป็นจำนวนมาก
ซึ่งบางแห่งต้องถางป่าทิ้ง
และในท้องวัวมันยังผลิตก๊าซมีเท็นปล่อยออกมาเป็นระยะๆ
อีกด้วย
ความรู้ทำนองนี้
ทำให้การหันมากินปลา "เท่ห์"
ขึ้นแยะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาราคาแพงแบบทูน่า
เพราะมันหายาก เลี้ยงไม่ได้
และมีจำกัด
จึงไม่แปลกที่ความนิยมต่ออาหารญี่ปุ่นและอาหารฝรั่งเศส
(ในส่วนที่เป็นเมนูปลา)
เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวี
Sushi
ซึ่งเคยเป็นอาหารตามฟุตบาท
ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก
แถมยังไต่ระดับขึ้นไปเป็นอาหารชั้นหรูอีกด้วย
กลายเป็นอาหาร Luxury
ตลาดบนไปเสียแล้ว
อุตสาหกรรมปลาเลี้ยงจึงเข้ามารองรับตลาดระดับกลางและระดับ
Mass
ที่ต้องการโปรตีนจากปลา
เราจึงเห็นปลาทับทิม
ปลาหิมะ ปลาเก๋า ปลากระพง
ปลาดุก
และปลาเลี้ยงอีกหลายประเภทที่ราคาถูกลงและหาซื้อได้ง่ายขึ้น
ส่วนปลาตลาดล่างอย่างซาดีนหรือปลาราคาถูกทั้งหลายที่ต้องลากอวนขึ้นมานั้น
ก็รองรับอุตสาหกรรมปลากระป๋อง
หรือปลาป่น หรืออาหารปลา
และน้ำมันปลา ตลอดจนอาหารเสริมทั้งหลาย
สรุปว่าปลาล่านั้นครองทั้งตลาดบนและตลาดล่าง
โดยปลาเลี้ยงเข้ายึดหัวหาดระดับกลางอย่างมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ
อัตราการเกิดของมนุษย์ดูเหมือนว่าจะไม่ชะลอลงบ้างเลย
มนุษย์คนที่ 7,000
ล้าน
เพิ่งจะลืมตาดูโลกเมื่อไม่นานมานี้
ดังนั้น วัว หมู ไก่ เป็ด กุ้ง
หอย ปู ปลา คงจะถูกฆ่ามากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้โปรตีนในการดำรงชีวิต
ในบรรดาแหล่งโปรตีนเหล่านี้
ปลากำลังน่าสงสารที่สุด
เพราะจะถูกฆ่าในอัตราเพิ่มที่มากขึ้นแยะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาตลาดบนที่คนรวยๆ
หันมากินกันเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
และกระบวนการเกี่ยวกับปลาในตลาดนี้
เริ่มกลายเป็นศิลปะและมีเรื่องราวให้เล่าขานกันไปเพื่อให้สมกับที่เป็น
Luxury
Goods
ตั้งแต่การออกล่าปลาแห่งตำนาน
(เช่น
Bluefin
Tuna) ในเขตน้ำลึกทั่วโลก
จนถึงการขายที่ต้องประมูลในตลาดขายส่งที่มีตำนานมาหลายร้อยปี
และแล่กันด้วยดาบที่ตกทอดมาในตระกูลเก่าแก่
ในขณะที่การดูปลาและชิมปลาก็ถูกยกระดับให้กลายเป็นศิลปะชั้นสูงไปแล้วด้วย
ยังไม่ต้องพูดถึงการปรุง
(ยกตัวอย่าง
Sushi
หรือ
Fillet)
ที่เดี๋ยวนี้พ่อครัวเริ่มเรียกตัวเองว่า
"ช่างฝีมือ"
กันแล้ว
จิโระ
โอโนะ
นักปั้นซูชิชั้นครูที่ทำซูชิมา
75
ปีและมีคนนำชีวิตเขามาสร้างเป็นหนังดังไปทั่วโลก
Jiro
Dreams of Sushi โดยใครจะไปกินที่ร้านของเขาต้องจองอย่างต่ำ
1
เดือน
และเสียอย่างต่ำ 30,000
เยน....เขากล่าวไว้ในตอนต้นของหนังว่า
“อะไรที่เป็นตัวนิยามความอร่อย...
รสชาติเป็นเรื่องยากจะอธิบาย
จริงไหมครับ...
ในความฝัน
ผมมองเห็นไอเดียต่างๆ...
สมองผมล้นไปด้วยไอเดีย...
บางครั้ง
ผมก็ตกใจตื่นกลางดึก...
แม้ในฝัน
ผมเองก็ยังฝันเห็นซูชิ"
หลายคนฟังแล้ว
คิดว่ามันคุ้มกับการรอคอยและเงินสามหมึ่นเยน
แต่ผมฟังแล้ว
มันช่าง Exotic
เสียนี่กระไร!
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
20 สิงหาคม 2556
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับสิงหาคม 2556
คลิกอ่านนิสัยคนญี่ปุ่นในความเห็นผมได้จากลิงก์ข้างล่างนี้
****ความลับของญี่ปุ่น
****มื้อเย็นที่ต้องคิดมาก
20 สิงหาคม 2556
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับสิงหาคม 2556
คลิกอ่านนิสัยคนญี่ปุ่นในความเห็นผมได้จากลิงก์ข้างล่างนี้
****ความลับของญี่ปุ่น
****มื้อเย็นที่ต้องคิดมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น