ในสมัยโน้น
"พระสังข์"
ต้องอาศัยการอธิษฐานถึงเบื้องบนให้ช่วยร่ายมนต์เพื่อดลใจสาวเจ้า
"รจนา"
จนเกิดสภาวะตาทิพย์่
และสามารถมองทะลุทะลวงเกราะกำบังรูปชั่วน่าชิงชังของ
"เจ้าเงาะ"
จนเห็นเนื้อในที่เป็นเจ้าชายรูปงามผิวทองเหลืองอร่ามโดยลำพัง
ในขณะที่คนอื่นๆ
ซึ่งนั่งและยืนอยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น
มองไม่เห็น
ถ้าเป็นสมัยนี้
"พระสังข์"
คงไม่จำเป็นต้องอธิษฐานขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ
เพราะสามารถกระทำการได้ด้วยตัวเอง
โดยการส่ง Private
Message ไปตาม
Line
หรือ
Instagram
หรือ
Facebook
ให้กับ
"รจนา"
โดยตรง
เพราะมันจะสะดวกกว่า
และสามารถตอบโต้กันได้ตลอดเวลาโดยที่คนอื่นไม่สามารถล่วงรู้ได้เช่นกัน
ข้อแตกต่างระหว่างสมัยโน้นกับสมัยนี้
อยู่ที่ตอนถอดเงาะ
เพราะเมื่อพระสังข์เผยตัวตนที่แท้จริง
คนที่ได้เห็นรวมทั้งรจนาล้วนพอใจ
ดังคำกลอนตอนที่นางมณฑาชื่นชมลูกเขยและรจนาเมื่อได้เห็นเจ้าเงาะถอดรูปว่า:
คิดคิดขึ้นมาน่าหัวเราะ เอารูปเงาะสวมใส่ทำใบ้บ้า
อัปยศอดอายขายหน้าตา เจ้าแกล้งแปลงมาแม่ไม่รู้
รจนายาจิตเจ้าคิดถูก หมายมั่นพันผูกก็ควรอยู่
ทีนี้แหละลอยแก้วแล้วลูกกู โฉมตรูแย้มยิ้มกระหยิ่มใจ
แต่ถ้าเป็นสมัยนี้
อาจจะมีอะไรให้
Surprise!
มากกว่า
"รูปทอง"
ก็เป็นได้
เพราะสมัยนี้เป็นสมัยของกล้องดิจิทัล
เป็นสมัยของมุมกล้อง
เป็นสมัยของคลิป เป็นสมัยของแอ๊พผิวขาว
แอ๊พผิวเนียน แอ๊พตาคม
และแอ๊พแต่งภาพ ลบส่วนที่ไม่พึงปรารถนา
หรือบิดเบือนภาพสารพัดชนิด
แถมยังเป็นสมัยของการสร้าง Story สร้างเรื่องสร้างราวบน Facebook และ Twitter และ Instagram ให้คนติดตาม พร้อมภาพ คลิป และกราฟฟิกเก๋ๆ ที่จูงใจหรือหลอกให้คนหลงเชื่อได้ง่ายๆ
แถมยังเป็นสมัยของการสร้าง Story สร้างเรื่องสร้างราวบน Facebook และ Twitter และ Instagram ให้คนติดตาม พร้อมภาพ คลิป และกราฟฟิกเก๋ๆ ที่จูงใจหรือหลอกให้คนหลงเชื่อได้ง่ายๆ
จึงไม่แปลกที่เราจะสามารถเนรมิตพระสังข์ใน
Social
Media
ได้ง่ายๆ
โดยที่ตัวจริงอาจเป็นคนละคน
และเรื่องราวของตัวจริงนอกจอก็อาจจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันเลยก็ได้...แบบว่า
Another
Stories
เลยอ่ะ
สมัยนี้ผู้คนจึงถูกหลอกกันแยะ
เพียงเพราะดูรูปและติดตามเรื่องราวจาก
Social
Media
แต่เวลาเจอตัวจริง
กลับไม่ใช่ "พระสังข์ถอดรูป"
อย่างที่จินตนาการไว้
ไม่ต่างจากสินค้าและบริการที่ถ้าดูใน
Facebook
แล้ว เริ่ดมาก!
แต่พอเห็นของจริงหรือสถานที่จริงแล้วน่าผิดหวัง
ร้านกาแฟ
ร้านอาหาร ร้านเหล้า ร้านสปา
ร้านหนังสือ หรือแม้แต่คอนโดฯ
จำนวนมากในย่านใจกลางกรุงเทพฯ
ที่โปรโมทโดยใช้กลยุทธ์
Social
Media
เสียเริ่ดหรู
เลือกแต่มุมกล้องที่สวยและคึกคักด้วยผู้คน
แต่พอไปใช้บริการจริง
กลับเงียบเหงาและทรุดโทรม
เหมือนกับบ้านตัวอย่างสมัยก่อนที่เจ้าของชอบหลอกต้มคนซื้อ
แบบว่าเมื่อสร้างเสร็จและส่งมอบแล้วกลายเป็นคนละหลังไปเลย
แบบนี้
ภาษาการตลาดเขาเรียกว่า
“Delivery
Discrepancy”
ปัญหานี้
มักเป็นภัยต่อชื่อเสียงและทำให้แบรนด์มัวหมอง
หากเราเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร
เราต้องคอยสอดส่อง
ระมัดระวังมิให้เกิดปัญหาดังว่านี้กับสินค้าและบริการของเรา
ต้องหมั่นสำรวจ
Perception
ของลูกค้าและผู้ที่มีศักยภาพจะเป็นลูกค้าอยู่เสมอ
เพราะถ้าปัญหาเกิดขึ้นในใจของลูกค้าแล้ว
กระบวนการแก้กลับจะยากมาก
ตัวอย่างของ
Bad
Perception ที่เกิดจาก
Delivery
Discrepancy ซึ่งเรามักเห็นเป็นประจำคือ
"นักการเมือง"
เพราะนักการเมืองจำนวนมาก
พูดแล้วทำไม่ได้
และมักไม่ทำตามที่พูดหาเสียงโฆษณาไว้แต่แรก นักการเมืองจึงเป็นอาชีพที่คนเหม็นเบื่อและเอือมกันมาก
ในยุค
Social
Media แบบปัจจุบัน
แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องอาศัยมันในเชิงการตลาด
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังปัญหาที่กล่าวมาด้วย
เพราะมันเป็น Side Effect หรือผลข้างเคียงของ Social Media Marketing
เพราะมันเป็น Side Effect หรือผลข้างเคียงของ Social Media Marketing
ดีไม่ดี
ในอนาคต นักการตลาดและนักกลยุทธ์
อาจจะต้องระบุห้อยท้ายไปด้วยว่า
YGWYS
“You Get What You See”
คงเก๋ไม่เบา
ทักษ์ศิล
ฉัตรแก้ว
20
พฤศจิกายน
2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น