ระยะนี้มีเหตุการณ์ต่อเนื่องสองอย่างที่อยู่ในความสนใจของคนไทยมากหน่อย
อย่างแรกคือการจะต่ออายุให้กับพลเอกประยุทธ์
และอย่างที่สองคือการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรงของไวรัสสายพันธุ์มรณะ
MERS
ในเกาหลีใต้ซึ่งถือว่าใกล้บ้านเราเข้ามาทุกที
สองอย่างนี้น่าหวาดเสียวด้วยกันทั้งคู่
อันที่จริง
หลังจากระบอบสมบูรณาญสิทธิราชย์สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
24 มิถุนายน
พ.ศ.
2475 "เผด็จการ"
ก็ไม่ได้หายไปไหน
มันยังอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด
สลับกันไปมาระหว่างเผด็จการทหารกับเผด็จการรัฐสภา
และบางช่วงก็เป็นทั้งสองอย่างผสมกัน
บางทีก็เข้ม
บางทีก็จาง
แต่ไม่ได้หายและไม่เคยหายไปไหน!
มันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย
ไม่ต่างจากปลวก หนู แมลงสาบ
และไวรัส ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน
บางช่วงก็เยอะ บางช่วงก็น้อย
บางทีก็ซุ่มเงียบ และบางทีก็ระบาดหนัก
แต่ก็ไม่เคยหายไปไหนเช่นกัน
ผมหมายถึง
ระบอบที่คนจำนวนหยิบมือคอยกำหนดชะตากรรมของคนส่วนใหญ่โดยคนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมน้อยมาก
โดย
Cronies
ของคนจำนวนหยิบมือนั้นย่อมถืออภิสิทธิ์ในทางต่างๆ
ทั้งเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเมือง
หรือแม้กระทั่งกฎหมาย
เหนือกว่าประชาชนธรรมดาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม
ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทยหรอกที่เป็นแบบนี้
สังคมของประเทศสำคัญๆ
ก็เป็นแบบนี้ อย่างเช่นจีน
รัสเซีย หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกาเอง
ก็มีแนวโน้มเป็นแบบนี้ยิ่งขึ้นทุกทีๆ
แล้ว
คนที่อยู่ภายใต้ระบอบนั้นมานานๆ
ส่วนใหญ่จะคิดว่า ถ้าไม่มีระบอบนี้แล้ว
ความโกลาหลจะเกิดขึ้น
อย่างในสังคมจีนนั้น
ความเห็นแบบที่ว่านี้
พบเห็นได้ชัดเจนทั่วไป
แม้ว่าเผด็จการของจีนบางช่วงจะส่งผลกระทบที่เลวร้ายมาก
ยิ่งคนที่อยู่ในเครือข่ายผลประโยชน์ของระบอบนี้
พวกเขาย่อมต้องการให้ระบอบนี้คงอยู่ต่อไป
ในแบบใดแบบหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นแบบทหารนำหรือรัฐสภานำ
หรือเป็นแบบผสมก็ได้
สุดแท้แต่ว่าตัวเขาและพวกเขานั้นสังกัด
Cronies กลุ่มใด
พวกเขาเพียงแต่ชอบระบอบเผด็จการที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของพวกเขา
ก็เท่านั้นเอง
ไม่เชื่อท่านผู้อ่านลองสังเกตุพฤติกรรมของบรรดานักธุรกิจ
นายธนาคาร เทคโนแคร็ต
และนักลงทุนใหญ่ๆ ในแต่ละช่วงดูก็ได้
ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้เผด็จการแบบใด
ถ้าไม่ไปขัดผลประโยชน์ของพวกเขา
พวกเขาก็จะสนับสนุนระบอบหรือผู้นำของระบอบนั้น
หลายครั้งถึงขั้นออกปากชมกันแบบออกนอกหน้าเลยก็มี
พักเรื่องไวรัสสายพันธุ์การเมืองไว้เพียงเท่านี้
แล้วหันมามองไวรัสสายพันธ์ุมรณะ
MERS
กันมั่ง
ขณะที่ผมเขียนต้นฉบับอยู่นี้ (10 มิ.ย. 58) นับเป็นวันที่
22หลังจากทางการเกาหลีใต้ตรวจพบผู้ติดเชื้อคนแรก
โดยระหว่างนี้กลับมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึง
122 ราย
และเสียชีวิตลง 9
รายจากจำนวนนั้น
โดยยังมีผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้ออีกถึง
3,500 คน
ถูกกักบริเวณอยู่ในเขตกักกันโรค
(Quarantine)
ฟังแล้วน่าตกใจ
และสังหรณ์ใจว่าถ้าคุมไม่อยู่
ผลกระทบของมันอาจรุนแรงเท่ากับตอนที่ไข้หวัดนรกสายพันธุ์
SARS
ระบาดหนักเมื่อปี
2546 ก็เป็นได้
ผมเคยเขียนถึงเรื่องไวรัสและลักษณะการโจมตีมนุษย์ตลอดจนผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไว้อย่างละเอียด
สมัยที่ H1N1
กำลังระบาดหนัก
ภายใต้หัวเรื่องว่า
"พวกอุบาทว์กาลีโลก
๒๐๐๙ กับเศรษฐกิจไทย"
(ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถ"คลิก"อ่านได้ที่ http://mba-magazine.blogspot.com/2010/08/blog-post.html)
ว่าแต่ว่าตอนนี้
เกาหลีใต้คงอ่วมน่าดู
ผลกระทบอย่างจังที่เห็นๆ
ก็คือนักท่องเที่ยวหดหายและรายได้อันเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเหือดแห้งลงทันตา
การจับจ่ายใช้สอยก็น้อยลง
เพราะผู้คนไม่ค่อยอยากออกจากบ้านไปปะปนกันคนหมู่มาก
ลองคิดดูว่าถ้าสถานการณ์แบบนี้ลุกลามเข้ามาในเมืองไทยในช่วงที่เรากำลังอ่อนแรงอยู่
จะซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเปราะบางอยู่นี้สักเพียงใด
ปัญหาของเกาหลีใต้
ว่าไปแล้วคล้ายกับไทยอยู่บ้าง
คือตั้งแต่วิกฤติซัพไพร์มเป็นต้นมา
ประเทศใหญ่ๆ ล้วนดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย
ลดดอกเบี้ยลงเป็นว่าเล่น
เพื่อกดดันให้ค่าเงินของตนต่ำลงเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน
สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ถึงกับใช้นโยบาย QE
โดยให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินเพิ่มอย่างมหาศาลแล้วนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
เพื่อกดดันให้อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกันหรือ
Yield
ของพันธบัตรรัฐบาล
ต่ำกว่าความเป็นจริง
นักวิเคราะห์บางคนเรียกสถานการณ์อันนี้ว่า
"สงครามค่าเงิน"
หรือ
Global Currency
Wars เพราะเป็นการเข้าแทรกแซงให้ค่าเงินของตนเองต่ำกว่าคู่แข่ง
โดยหวังว่าจะขายสินค้าส่งออกได้มากขึ้น
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังวิกฤติไม่ให้ซบเซาเกินไป
สถานการณ์แบบนี้มันส่งผลกระทบกับผู้ส่งออกทั่วโลก
ของไทยเอง
ก่อนหน้านี้ ค่าเงินของเราจู่ๆ
ก็กลายเป็นแข็งค่าขึ้นมามากเมื่อเทียบกับเงินยูโร
และแข็งโดยเปรียบเทียบ
เมื่อเทียบกับสกุลเงินของเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งในเอเชียด้วยกัน
ส่งผลให้ผู้ส่งออกจำนวนมากถึงกับขาดทุน
และได้กดดันไปยังรัฐบาล
จนมีส่วนให้ธนาคารชาติต้องพิจารณาลดดอกเบี้ยลง
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้
ธนาคารชาติเคยวิตกว่าการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นหากลดดอกเบี้ยลง
ด้วยซ้ำไป
ข้อจำกัดแบบนี้
เกาหลีก็เจอคล้ายๆ เรา
อย่าลืมว่าคู่แข่งขันในตลาดโลกของเกาหลีคือญี่ปุ่น
ทั้งรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ไมโครโปรเซสเซอร์ชิพ
เรือเดินสมุทร อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ภาพยนตร์ซีรี่ย์ การ์ตูน
หรืออะไรต่อมิอะไรที่เกาหลีมุ่งมั่นเลียนแบบญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกมานี้
เพราะต้องการเอาชนะญี่ปุ่น
ซึ่งเกาหลีถือเป็นศัตรูหมายเลยหนึ่ง
อย่างไม่คิดชีวิต
นับแต่กลางปี
2556 เป็นต้นมา
เงินเยนอ่อนค่าลงเรื่อยๆ
จนถึงขณะนี้ เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์แล้ว
อ่อนลงกว่า 20%
ในขณะที่เงินวอนของเกาหลีใต้สวิงเล็กน้อยในแดนบวกลบประมาณ
5% และเมื่อเทียบ
ณ ขณะปัจจุบันแล้ว
เกือบจะคงค่าเดิมเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ
จึงไม่แปลกที่ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
เมื่อคำณวนเป็นเงินดอลล่าร์แล้ว
ลดลงถึง 11%
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ซึ่งถือเป็นอัตราที่ลดลงแรงที่สุดนับแต่ช่วงที่เกิดวิกฤติซัพไพร์ม
กิจการยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุง
แอลจี เกีย ฮุนได แดวู
ล้วนได้รับผลกระทบชัดเจน
แย่แล้ว!
นั่นอาจเป็นสัญญานเตือนว่ารัฐบาลเกาหลีใต้ต้องทำอะไรสักอย่างกับค่าเงินวอนเสียที
เพราะก่อนหน้านี้ธนาคารชาติของเกาหลีใต้เป็นห่วงว่าหากลดดอกเบี้ยลง
(เพื่อกดดันให้เงินวอนลดค่าลง)
ก็จะทำให้หนี้สินภาคเอกชนซึ่งสูงอยู่แล้ว
สูงขึ้นไปอีกจนเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจภาพรวม
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
McKinsey Global
Institute เพิ่งออกรายงานชิ้นหนึ่งที่มีความสำคัญมากชื่อ
Debt and
(Not Much) Deleveraging
เป็นการศึกษาภาวะหนี้สินของโลกในรอบหลายปีมานี้
โดยพบว่าหนี้สินรวมของโลกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในรอบ
7
ปีหลังวิกฤติซัพไพร์มมานี้
(ตั้งแต่ปี
2550-2557)
คือเพิ่มขึ้นถึง
57
ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
จาก 142
ล้านล้านเหรียญฯ
มาเป็น 199
ล้านล้านเหรียญฯ
คิดเป็น 269%
และ 286%
ของ GDP
โลก ตามลำดับ
ว่าเฉพาะของเกาหลีใต้
เมื่อวัด ณ ไตรมาสสองของปีที่แล้ว
มีหนี้สินถึง 231%
ของ GDP
คิดเป็นเพิ่มขึ้นจากยอดหนี้เมื่อปี
2550 ถึง
45%
โดยภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้นถึง
19%
ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึง
12%
ในขณะที่ภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นเพียง
15%
ต่างกับของญี่ปุ่นที่แม้จะมีหนี้สินสูงที่สุดในโลกคือ
400% ของ
GDP
แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้ภาครัฐ
(เพิ่มขึ้น
63%
ใ่นช่วงเดียวกัน)
โดยภาคธุรกิจเอกชนก่อหนี้เพิ่มเพียง
2%
แต่ภาคครัวเรือนกลับก่อหนี้ลดลง
1% ด้วย
นั่นทำให้เราพอเข้าใจได้ว่าทำไมธนาคารกลางของเกาหลีใต้ถึงไม่ยอมลดดอกเบี้ยลง
ในช่วงที่ผ่านมา
พวกเราที่คอย
"เสมอนอก"
ก็ต้องลุ้นกันต่อไปว่า
ไวรัสนรก MERS
ตัวนี้
จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ต้องเหนี่ยวไกหรือไม่
สิ่งเหล่านี้อาจเป็นบทเรียนให้กับเราในโอกาสต่อไป
แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ชอบพนันขันต่อและชอบเก็งกำไรเป็นชีวิตจิตใจ
หลายคนคงเริ่มมองแล้วว่าจะเข้าซื้อเงินดอลล่าร์/ขายเงินวอน
กันในจังหวะไหนดีในตลาดล่วงหน้า
ขอให้โชคดี
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
10 มิถุนายน
2558
หมายเหตุ: หลังจากที่ผมเขียนบทความนี้ได้ 1 วัน ธนาคารชาติของเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง 0.25% เหลือ 1.5% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ: หลังจากที่ผมเขียนบทความนี้ได้ 1 วัน ธนาคารชาติของเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง 0.25% เหลือ 1.5% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น