"If war among the whites brought peace and liberty to blacks, what will peace among the whites bring?"
Frederick Douglass
Speech at Washington D.C.
July 4, 1875
คนอเมริกันเชื่อแบบฟังหัวต่อๆ กันมาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศแล้วว่า การมีกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มการเมืองหลากหลายย่อมเป็นผลดีต่อเสรีภาพของปวงชน หลักการแบ่งแยกอำนาจก็มาจากความเชื่ออันนี้
เอกสารเฟเดอรัลลิสต์หมายเลข 51 ที่ร่างโดยเจมส์ เมดิสัน หนึ่งใน Founding Fathers คนสำคัญ บอกเจตนารมณ์ไว้ชัดเจนว่าต้องใช้ความมักใหญ่ใฝ่สูง (Ambition) ของแต่ละฝ่ายมาคานกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวบอำนาจและนำไปสู่ความสุดขั้ว เช่นการปกครองแบบทรราชหรือสงครามกลางเมือง
ในข้อเขียนของผมชิ้นนี้ ผมจะอ้างข้อความต่างๆ ที่ผมอ่านแล้วจับใจ และเห็นว่ามีประโยชน์ น่านำมาคิดต่อ โดยสามารถมองผ่านกรอบนั้นเข้ามาในสถานการณ์ของบ้านเราขณะนี้ ที่กำลังขาดหลักการ หรือไม่รู้จะยึดหลักการพื้นฐานในเชิงประชาธิปไตย หรืออะไรดี ท่ามกลางความตึงเครียดของสังคม ที่กำลังก่อคลื่นใต้น้ำ และจ้องเผชิญหน้าที่จะใช้กำลังเข้าหักหาญ โดยมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงเป็นเดิมพัน
ลำดับแรก ผมขอยกข้อความของวรรคที่สามของเอกสารดังกล่าว ที่แปลเป็นไทยโดย ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ และคณะ ว่า “แต่หลักประกันอันยิ่งใหญ่ที่จะป้องกันการค่อยๆ รวบอำนาจทั้งหลายเข้าไว้ในฝ่ายเดียวกันนั้น อยู่ที่การให้ผู้บริหารของแต่ละฝ่ายมีช่องทางที่จำเ็ป็นตามรัฐธรรมนูญและแรงดลใจส่วนตัวที่จะต้านทานการรุกล้ำโดยฝ่ายอื่น ข้อกำหนดเพื่อป้องกันตัวในกรณีนี้ควรต้องทำไว้ให้เหมือนในกรณีอื่นๆ ทั้งปวงคือ ต้องให้ทัดเทียมกับอันตรายจากการถูกโจมตี ต้องใช้ความมักใหญ่ใฝ่สูงมาต่อต้านความมักใหญ่ใฝ่สูงกันเอง ผลประโยชน์ของมนุษน์จะต้องถูกเชื่อมโยงเข้ากับสิทธิตามรัฐธรรมนูญของตำแหน่ง การที่กลไกดังกล่าวจำเป็นสำหรับการควบคุมการใช้อำนาจไปในทางมิชอบของรัฐบาลนั้น อาจจะเป็กการสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาิติของมนุษย์นั่นเอง แต่ตัวรัฐบาลคืออะไรเล่าถ้าไม่ใช่การสะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด? ถ้ามนุษย์เป็นเทวดา ก็คงไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาล หรือถ้าเทวดามาปกครองมนุษย์ก็คงไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมรัฐบาลทั้งจากข้างในและข้างนอก ในการสร้างรัฐบาลที่มนุษย์จะเป็นผู้บริหารเหนือมนุษยืด้วยกันนั้น ความยากลำบากอันใหญ่หลวงอยู่ตรงนี้คือ ประการแกท่านต้องทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมผู้ที่อยู่ใต้การปกครองได้เสียก่อน แล้วค่อยบังคับรัฐบาลให้ควบคุมตัวเองเป็นการถัดไป ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการที่รัฐบาลต้องพึ่งพาอาศัยประชาชนนั้นเป็นตัวควบคุมรัฐบาลในอันดับแรก แต่ประสบการณ์ก็ได้สอนมนุษยชาติว่ายังจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้าอื่นๆ เพิ่มเติมอีก” (เดอะเฟเดอรัลลิสต์เปเปอร์: เอกสารความคิดทางการเมืองอเมริกัน แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เกษียร เตชะพีระ วิกิจ สุขสำราญ สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2530 หน้า 394)
ถึงกระนั้น เมดิสันก็รู้ว่าความยากของการเมืองแบบประชาธิปไตยมันอยู่ที่ Faction Politic นี้แหละ ว่าจะบริหารยังไงถึงจะเหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิของเสียงส่วนน้อย โดยเขาเสนอให้ขยายขอบเขตของผู้มีส่วนร่วมออกไปให้กว้างขวางและหลากลายยิ่งขึ้น ยิ่งกว้างขวางและหลากหลายเท่าใด ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อเสรีภาพส่วนบุคคลของปวงชนเท่านั้น
เขาเขียนว่า “....เป็นเรื่องสำคัญ อย่างยิ่งที่ไม่เพียงแต่จะต้องป้องกันสังคมไม่ให้ถูกผู้ปกครองกดขี่เท่านั้น หากแต่ยังต้องป้องกันส่วนหนึ่งของสังคมจากความอยุติธรรมของอีกส่วนหนึ่งด้วย ผลประโยชน์ซึ่งแตกต่างกันจำเป็ํนอยู่เองที่จะต้องดำรงอยู่ในพลเมืองต่างชนชั้นกัน ถ้าเสียงข้างมากเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะผลประโยชน์ร่วมกันสิทธิของคนส่วนน้อยย่อมจะไม่มั่นคง มีวิธีการป้องกันสิ่งเลวร้ายนี้เพียงสองวิธีเพียงเท่านั้น วิธีหนึ่งโดยการสร้างเจตนารมย์ที่เป็นอิสระจากคนส่วนใหญ่ขึ้นในประชาคม นั่นคือเป็นอิสระจากสังคมเอง อีกวิธีหนึ่งโดยการทำให้สังคมประกอบด้วยพลเมืองประเภทต่างๆ แยกจากกันมากมายหลายประะเภทจนถึงขนาดที่การรวมตัวอย่างไม่เที่ยงธรรมของคนส่วนมากนั้นยากยิ่งที่จะเกิดได้ ถ้าไม่ถึงกับปฏิบัติไม่ได้เอาเสียเลย วิธีการแรกนั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในรัฐบาลทั้งปวงที่สิทธิอำนาจเป็นแนบสืบตระกูลหรือสถาปนาตนเอง แต่อย่างดีที่สุดนี่ก็เป็นได้แค่หลักประกันที่ไม่แน่นอนเพราะอำนาจที่เป็นอิสระจากสังคมสนับสนุนทัศนะที่ไม่่ยุติธรรมของคนส่วนใหญ่พอๆกับสิทธิที่ชอบธรรมของคนส่วนน้อยได้ และอาจจะหันมาต่อต้านทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ ส่วนวิธีการที่ สองจะมีแบบอย่างปรากฏในสหพันธ์มหาชนรัฐแห่งสหรัฐ ในขณะที่สิทธิอำนาจทั้งปวงในระบบนี้จะมีที่มาจากสังคมและขึ้นต่อสังคม ตัวสังคมเองจะแตกแยกออกเป็นส่วนต่างๆเป็นผลประโยชน์และชั้นต่างๆ ของพลเมืองมากมายหลายหลากจนสิทธิของปัจเจกบุคลหรือของคนส่วนน้อยจะตกอยู่ในอันตรายเพียงน้อยนิด จากการรวมตัวกันเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ สำหรับการปกครองที่เสรีนั้นหลักประกันสิทธิทางการเมืองของพลเมืองจะต้องเป็นอย่างเีดียวกับหลักประกันสิทธิทางศาสนา ในกรณีหนึ่ง หลักประกันอยู่ ที่ผลประโยชน์อันหลากหลายและในอีกกรณีหนึ่งอยู่ที่นิกายอันหลากหลาย ความมั่นคงของหลักประกันทั้งสองกรณีจะขึ้นอยู่กับจำนวนของผลประโยชน์และนิกาย และอาจกล่าวได้ว่าจำนวนดังกล่าวขึ้นอยู่กับขอบเขตของประเทศและจำนวนประชากรที่อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน...(...)...ความยุติธรรมคือเป้าหมายของรัฐบาล ความยุติธรรมคือเป้าหมายของสังคมการเมือง ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ถูกแสวงหาตลอดมาและจะถูกแสวงหาตลอดไป จนกว่าจะได้มาหรือจนกว่าจะสูญเสียเสรีภาพไปในการแสวงหานั่นเอง
ภายในรูปแบบของสังคมที่กลุ่มเฉพาะที่แข็งแรงกว่าสามารถรวมตัวกันกดขี่กลุ่มที่อ่อนแอกว่าได้ทุกเมื่อนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าอนาธิปไตยเป็นใหญ่เหมือนในสภาพธรรมชาติอย่างแน่แท้ อันเป็นภาวะที่ปัจเจกบุคคลที่อ่อนแอกว่าไม่มีหลักประกันใดๆ ที่จะต่อต้านความรุนแรงของปัจเจกบุคคลที่เข้มแข็งกว่า และเช่นเดียวกันในภาวะธรรมชาติที่แม้แต่ปัจเจกบุคคลที่เข้มแข็งกว่าที่ยังถูกกระตุ้นโดยสภาพอันไม่แน่นอนของตน ให้ยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลที่จะปกป้องผู้อ่อนแอเช่นเดียวกับตนเอง ในทำนองเดียวกันในสภาพอนาธิปไตย กลุ่มเฉพาะหรือพรรคที่มีอำนาจากกว่าก็จะค่อยๆ ถูกชักจูงด้วยแรงดลใจคล้ายๆกันให้อยากได้รัฐบาลที่จะปกป้องพรรคทั้งปวงทั้งพรรคที่อ่อนแอกว่าเหมือนๆกับพรรคที่มีอำนาจมากกว่า แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าหากโรดไอแลนส์ถูกแยกให้ออกจากสหพันธรัฐให้อยู่เพียงลำพัง ความไม่มั่นคงของสิทธิภายใต้รูปแบบรัฐบาลของประชาชนในขอบเขตที่คับแคบขนาดนั้น ย่อมจะถูกแสดงออกมาโดยการกดขึ่ครั้งแล้วครั้งเล่าของคนส่วนใหญ่ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ จนกระทั่งในไม่ช้าก็จะมีเสียงเรียกร้องหาอำนาจอะไรบางอย่างที่เป็นอิสระจากประชาชนอย่างสิ้นเชิง ดังออกมาจากกลุ่มเฉพาะผู้ซึ่งการปกครองอันผิดพลาดนั้นเองเป็นตัวพิสูจน์ถึงความจำเป็นถึงอำนาจดังกล่าว ส่วนในมหาชนรัฐที่ขยายตัวออกไปของสหรัฐ และท่ามกลางผลประโยชน์พรรคพวกและนิกายต่างๆอันหลากหลายยิ่งภายในสังคมดังกล่าวการรวมตัวกันของคนส่วนใหญ่ของทั่วทั้งสังคมบนพื้นฐานหลักการอื่นใดที่นอกเหนือไปจากหลักการแห่งความยุติธรรมและคุณประโยชน์ส่วนรวม จะเกิดขึ้นได้ยาก...(...)...สังคมยิ่งกว้างใหญ่เพียงใด ขอเพียงแต่ให้อยู่ในขอบเขตที่พอปฏิบัิติได้แล้ว สังคมนั้นก็จะยิ่งสามารถปกครองตนเองอย่งเหมาะสมสูงขึ้นเพียงนั้น” (หน้า 396-398 โดยผู้สนใจอ่านต้นฉบับภาษาัอังกฤษ สามารถอ่านได้ที่ http://www.constitution.org/fed/federa51.htm)
เห็นไหมครับว่าคนอเมริกันกลัวนักการเมือง “ฮั้ว” กันมากขนาดไหน ถ้าใครติดตามการเมืองอเมริกา คงรู้จัก Tea Party Movement ซึ่งกำลังมาแรงมากในขณะนี้ พวกเขาล้วนไม่พอใจการฮั้วกันของชนชั้นนำ และไม่พอใจที่รัฐบาลเข้ามายุ่มย่ามในชีวิตประชาชนมากเกินไป ทั้งเรื่องภาษี ทั้งเรื่องการทุ่มงบประมาณไปโอบอุ้มสถาบันการเงินและกิจการขนาดยักษ์ ตลอดจนระบบสาธารณสุขที่ดูเหมือนจะไม่มีวันถมเต็ม พวกเขาต้องการรัฐบาลเล็กๆ และต้องการการเปลี่ยนแปลง
หลังจากเมดิสันเขียนบทความนั้น 73 ปี เมื่อประธานาธิบดีลิงคอนเข้ารับตำแหน่ง เขาได้กล่าวสุนทรพจน์หลังจากพิธีสาบานตนครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2404 ท่ามกลางการแยกตัวของรัฐทางใต้ (Secession) ประชาชนแบ่งออกเป็นสองฝ่าย เผชิญหน้ากัน พร้อมจะห้ำหั่นกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองทุกเมื่อ คล้ายๆ กับบรรยากาศของสังคมไทยขณะนี้ (แต่สาเหตุต่างกัน) โดยเขาก็ยังเน้นย้ำหลักการพื้นฐานของเมดิสันว่า
“Plainly the central idea of secession is the essence of anarchy. A majority held in restraint by constitutional checks and limitations, and always changing easily with deliberate changes of popular opinions and sentiments, is the only true sovereign of a free people. Whoever rejects it does of necessity fly to anarchy or to despotism. Unanimity is impossible. The rule of a minority, as a permanent arrangement, is wholly inadmissible; so that, rejecting the majority principle, anarchy or despotism in some form is all that is left.” (First Inaugural Address of President Lincoln ย่อหน้าที่ 25, ผู้สนใจคลิกดูฉบับเต็มได้ที่ http://www.bartleby.com/124/pres31.html)
นอกจากนั้น เขายังได้กล่าวสุนทรพจน์จับใจอีกหลายตอน โน้มน้าวชักจูงให้ฝ่ายใต้กลับเข้ามาร่วมอยู่ใน Union เหมือนเดิม และว่าฝ่ายเหนือจะไม่ห้ามเรื่องทาสซึ่งเป็นทรัพย์สินของคนใต้ที่ครอบครองอยู่ เพียงแต่ไม่ให้มันขยายตัวมากไปกว่านี้ เขาว่าเหนือใต้เหมือนคนคนเดียวกันย่อมยากที่จะขาดจากกันไปได้ แม้สามีภรรยาจะหย่าขาดกันได้แต่ชาวอเมริกันขาดกันไม่ได้ ฯลฯ
ผมอยากจะยกย่อหน้าที่ 34 และ 35 ซึ่งประธานาธิบดีที่คนสหรัฐฯ ยกย่องมาก สามารถใช้ภาษาที่สละสลวยให้มีความหมายทั้งในเชิง “ขู่” และ “ปลอบ” ไปในเวลาเดียวกัน
เขากล่าวไว้อย่างจับใจว่า “In your hands, my dissatisfied fellow-countrymen, and not in mine, is the momentous issue of civil war. The Government will not assail you. You can have no conflict without being yourselves the aggressors. You have no oath registered in heaven to destroy the Government, while I shall have the most solemn one to "preserve, protect, and defend it."
I am loath to close. We are not enemies, but friends. We must not be enemies. Though passion may have strained it must not break our bonds of affection. The mystic chords of memory, stretching from every battlefield and patriot grave to every living heart and hearthstone all over this broad land, will yet swell the chorus of the Union, when again touched, as surely they will be, by the better angels of our nature.”
ท่านผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่า ในที่สุดลิงคอนก็หลีกเลี่ยงสงครามกลางเมืองไม่พ้น สงครามกลางเมืองครั้งนั้นต่อสู้กันด้วยความโหดร้าย สูญเสีย ขมขื่น และฝังอยู่ในความทรงจำของคนอเมริกันมาจนบัดนี้ (ผมแนะนำให้ซื้อ DVD ชุด The Civil War กำกับโดย Ken Burns มาดู จะได้ทั้งความบันเทิงและสาระตลอดจนข้อคิดมากมาย) และท่ามกลางสงครามนั้นเอง ประธานาธิบดีลิงคอนก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง
สุนทรพจน์ครั้งที่สองของเขาจับใจยิ่งกว่าครั้งแรก ทั้งในแง่การใช้ภาษา การเลือกสรรคำ ความหมายแฝงนัย ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ การจับประเด็น และการตีความ โดยเฉพาะประโยคอันโด่งดังที่ว่า “and the war came” และ “and until every drop of blood drawn with the lash shall be paid by another drawn with the sword”
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2408 สามปีก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ อับราฮาม ลิงคอน ได้กล่าวสนทรพจน์ในวันสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง เขากล่าวแบบสั้นๆ เพียง 4 ย่อหน้า แต่จับใจและกลายเป็นสุนทรพจน์ที่อมตะ ผมจึงอยากจะยกมาให้ท่านอ่านโดยไม่ต้องแปล เพราะผมรู้ว่าผู้อ่าน MBA มีนักการเมืองและผู้นำรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เผื่อว่าท่านจะอ่านแล้วฉุกคิดได้ ว่าต้องอาศัยบทเรียนความขมขื่นของคนอื่นในอดีต มาป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งในบ้านเราเลยเถิดไปไกลขนาดเขา
เขากล่าวว่า “Fellow-Countrymen. At this second appearing to take the oath of the Presidential office there is less occasion for an extended address than there was at the first. Then a statement somewhat in detail of a course to be pursued seemed fitting and proper. Now, at the expiration of four years, during which public declarations have been constantly called forth on every point and phase of the great contest which still absorbs the attention and engrosses the energies of the nation, little that is new could be presented. The progress of our arms, upon which all else chiefly depends, is as well known to the public as to myself, and it is, I trust, reasonably satisfactory and encouraging to all. With high hope for the future, no prediction in regard to it is ventured.
On the occasion corresponding to this four years ago all thoughts were anxiously directed to an impending civil war. All dreaded it, all sought to avert it. While the inaugural address was being delivered from this place, devoted altogether to saving the Union without war, urgent agents were in the city seeking to destroy it without war—seeking to dissolve the Union and divide effects by negotiation. Both parties deprecated war, but one of them would make war rather than let the nation survive, and the other would accept war rather than let it perish, and the war came.
One-eighth of the whole population were colored slaves, not distributed generally over the Union, but localized in the southern part of it. These slaves constituted a peculiar and powerful interest. All knew that this interest was somehow the cause of the war. To strengthen, perpetuate, and extend this interest was the object for which the insurgents would rend the Union even by war, while the Government claimed no right to do more than to restrict the territorial enlargement of it. Neither party expected for the war the magnitude or the duration which it has already attained. Neither anticipated that the cause of the conflict might cease with or even before the conflict itself should cease. Each looked for an easier triumph, and a result less fundamental and astounding. Both read the same Bible and pray to the same God, and each invokes His aid against the other. It may seem strange that any men should dare to ask a just God's assistance in wringing their bread from the sweat of other men's faces, but let us judge not, that we be not judged. The prayers of both could not be answered. That of neither has been answered fully. The Almighty has His own purposes. "Woe unto the world because of offenses; for it must needs be that offenses come, but woe to that man by whom the offense cometh." If we shall suppose that American slavery is one of those offenses which, in the providence of God, must needs come, but which, having continued through His appointed time, He now wills to remove, and that He gives to both North and South this terrible war as the woe due to those by whom the offense came, shall we discern therein any departure from those divine attributes which the believers in a living God always ascribe to Him? Fondly do we hope, fervently do we pray, that this mighty scourge of war may speedily pass away. Yet, if God wills that it continue until all the wealth piled by the bondsman's two hundred and fifty years of unrequited toil shall be sunk, and until every drop of blood drawn with the lash shall be paid by another drawn with the sword, as was said three thousand years ago, so still it must be said "the judgments of the Lord are true and righteous altogether."
With malice toward none, with charity for all, with firmness in the right as God gives us to see the right, let us strive on to finish the work we are in, to bind up the nation's wounds, to care for him who shall have borne the battle and for his widow and his orphan, to do all which may achieve and cherish a just and lasting peace among ourselves and with all nations.”
ท่านผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่าหลังจากนั้นเดือนกว่า สงครามก็สงบลงโดยนายพล Robert E. Lee ยอมจำนนต่อนายพล Ulyses S. Grant ที่ Appomattox โดยมีเกร็ดที่ผมอยากเล่านิดนึงว่า นายพลลีนั้นสืบเชื้อสายผู้ดีเก่าทางใต้มา และเคร่งครัดในวินัยทหาร เขาเตรียมตัวโดยแต่งเครื่องแบบเต็มยศ และกะจะมอบกระบี่ให้นายพลแกร้น ซึ่งเป็นแบบแผนแต่เดิมมา ทว่า นายพลแกร้นซึ่งไม่มากพิธีรีตรองกลับกล่าวสั้นๆ เพียงว่า “I don’t want your sword, go home.” และหลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ประธานาธิบดีก็ถูกลอบสังหาร
อเมริกาจัดการกับภาวะหลังสงครามอย่างยากลำบาก ไหนจะต้องสมานฉันท์ (ผู้นำฝ่ายใต้ไม่มีใครเลยที่ถูกลงโทษ) ไหนจะต้องเยียวยาทั้งกายและใจ ไหนจะต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือจัดการลดความเหลื่อมล้ำให้คนดำ ที่เพิ่งพ้นจากสถานะทาส มาเป็นแรงงานอิสระได้อย่างไร
นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงนั้นว่า Reconstruction Period ซึ่งกินเวลากว่าสิบปี โดยที่คนใต้ก็ยังขมขื่นเจ็บปวดฝังลึก และคนดำก็มิได้ดีขึ้นมากมายนัก ความพยายามในการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจให้คนดำลืมตาอ้าปาก เช่นการจัดตั้งสถาบันคล้ายๆ “ธนาคารประชาชน” ก็ไปได้ไม่ดี การปฏิรูปที่ดินให้คนดำก็เป็นไปอย่างไม่เต็มที่ หรือการให้สิทธิทางการเมืองต่างๆ ก็มีหลายมาตรฐาน ฯลฯ จนเป็นปัญหาคาราคาซังมาอีกเกือบร้อยปี
ผมขอนำสุนทรพจน์ของอดีตทาส Bailey Wyatt ที่กล่าวไว้ในปี 2411 และสะท้อนถึงปัญหาของคนดำหลังสงครามกลางเมืองว่า “We now as a people desires to be elevated, and we desires to do all we can to be educated, and we hope our friends will aid us all they can. I may state to all our friends and to all our enemies that we has a right to the land where we are located. Why? I'll tell you. Our wives, our children, our husbands, has been sold over and over again to purchase the lands we now locates upon. For that reason we have a divine right to the land. And then didn't we clear the lands and raise the crops of corn and of cotton and of tobacco and of rice and of sugar and of everything? And then didn't them large cities in the North grow up on the cotton and the sugars and the rice that we made? Yes, I appeal to the South and to the North, if I hasn't spoken the words of the truth. I say they have grown rich, and my people are poor."
ฟังแล้วให้หวลนึกถึง Marx จัง! เพราะแม้พวกเขาจะได้เสรีภาพมาแล้ว แต่เมื่อเข้าถึงทุนไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรกับชาวนาไทย ที่สุดท้ายต้องเช่านา แล้วก็กลายมาเป็นรับจ้างทำนา เพราะปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว (ผมอยากแนะนำให้ท่านผู้อ่านที่สนใจจริงๆ เข้าไปอ่านจดหมายของ Jordan Anderson อดีตทาสที่เขียนถึงเจ้านายเก่าของเขาที่มาตามตัวเขากลับไปทำงานหลังสงครามกลางเมือง จดหมายนั้นจะทำให้เราเข้าใจปัญหาของอเมริกันหลังสงครามยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นบทเรียนที่ดี โดยผมจะโพสต์เอาไว้ในบล็อกส่วนตัวที่ http://www.mba-magazine.blogspot.com/)
ยุค Reconstruction ของอเมริกาทำให้เราเข้าใจสังคมหลังผ่านสงครามกลางเมือง และบทเรียนต่างๆ ที่ตกทอดมาจนปัจจุบัน การต่อสู้ของคนดำ (หรือคนด้อยโอกาส) ในเรื่องสองมาตรฐานและในเรื่องสิทธิ ยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านั้น ทว่า หน้ากระดาษผมหมดแต่เพียงเท่านี้
ก่อนจากกันผมอยากจะแนะให้ไปอ่านสุนทรพจน์อันมีชื่อเสียงมากของ Martin Luther King ที่กล่าวไว้เมื่อ 28 สิงหาคม 2506 และเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า “I have a dream” (ค้นหาในกูเกิ้ลได้ง่ายๆ) ท่านก็จะรู้ว่า Civil Rights Movement นั้นเป็นผลพวงมาจากอดีตยังไงบ้าง
สุดท้ายผมจะขออ้างคำพูดของ Christine O’Donnell ตัวแทนของกลุ่ม Tea Party ที่เพิ่งชนะเลือกตั้งได้เป็นวุฒิสมาชิกแห่ง Delaware สดๆ ร้อนๆ ว่า “When the people fear the government, there is tyranny. When the government fears the people, there is liberty....We the people will have our voice heard in Washington once again.”
งวดนี้ผมไม่มีอะไรจะเขียน ได้แต่หยิบยืมคำพูดและ้ข้อเขียนของคนอื่นมาให้อ่านกัน ท่านผู้อ่านที่จริงจัง และนำไปคิดต่อ หรือคิดแย้ง ตลอดจนค้นคว้าลงลึกและต่อยอด ย่อมเห็นว่าความคิดที่แสดงมานี้ จะจำเป็นและให้ประโยชน์กับการแก้ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตอันใกล้นี้แหละ
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
22 กันยายน 2553
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนกันยายน 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น