วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปรองดองด้วย INFRASTRUCTURE FUND



การเปลี่ยนแปลงในเชิง Geopolitics ของโลกและเอเชียและภายในเอเชียอาคเนย์เอง ทำให้ประเทศไทยเราจำเป็นต้อง Reinvest ขนานใหญ่ เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจเสียใหม่ ให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลง และหวังว่าจะช่วงชิงเอาประโยชน์จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นเสียแต่ต้นมือ จะมาหวังกับการพึ่งพิงโครงสร้างเดิมซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้วในรอบสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา อาศัยท่าเรือน้ำลึกและ Eastern Seaboard เป็นฐานการส่งออก โดยเน้นการรับจ้างทำของในโรงงานแบบเก่านั้น มันตีบตันลงเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันการ Create Wealth ด้วยโมเดลแบบเก่านี้ ไม่มีใครในโลกต่อกรกับจีนได้

Linkage Strategy กับจีนและอินเดียและกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรถไฟความเร็วสูง รางคู่ และทางหลวง Motorway ที่ทันสมัย เพื่อ Transform ตัวเองให้เป็น Transportation Hub และ Supply Chain Distribution Hub ตลอดจนการลงทุนเพื่อป้องกันน้ำท่วมในระดับ Massive Scale รวมถึงการจัดระเบียบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ด้วยรถไฟฟ้า รถใต้ดิน Mono Rail และ Toll Roads อีกทั้งการลงทุนเพื่อแสวงหาและผลิตพลังงานทั้งพลังงานหลักและพลังงานทางเลือก ตลอดจนเร่งยกระดับ Productivity ในภาคเกษตรและในเชิงการขนส่ง ย่อมเป็น Priority สำคัญของทุกรัฐบาลนับแต่นี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นตัวแทนของสีเหลืองหรือสีแดง อำมาตย์หรือไพร่ ไม่งั้น “ความสามารถเชิงแข่งขันของไทย” เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านย่อมต้องตกต่ำลง ซึ่งมันจะส่งผลต่อมาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตของพวกเราในที่สุด

ข้อจำกัดของเรื่องนี้มีอยู่อย่างเดียวคือ “เงิน” เพราะการลงทุนแนวนี้จะต้องใช้เงินมาก แต่ละโครงการต้องใช้หลายหมึ่นล้าน บางโครงการก็หลายแสนล้านบาท รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ย่อมถูกจำกัดด้วยเพดานการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งขณะนี้ไต่ขึ้นไปสูงพอควรแล้ว เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของ GDP และต้องระวังไม่ให้ปัญหาหนี้สินภาครัฐเว่อร์ จนแว้งกลับมาทำลายบ้านเมืองอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นในกรีซ โปรตุเกส และสเปน หรืออเมริกาใต้ในอดีต

Infrastructure Fund นับว่ามาได้ถูกที่ถูกเวลา เพราะมันเป็นเครื่องมือที่จะทำให้หลายฝ่ายหายใจหายคอได้บ้าง โดยมันจะช่วยให้รัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ผูกพันตัวเองกับหนี้สินน้อยลง ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนช่วยลดโหลดไปบ้าง แถมยังลดปัญหา Crowding Out เพราะสามารถเอาวงเงินที่กันไว้นี้ ไปสร้างประโยชน์ในเชิงสวัสดิการสังคมอื่น เช่นยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างทักษะให้กับแรงงานทุกระดับเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่และโลกใหม่ หรือลงทุนกับบริการสาธารณสุข หรือสวัสดิการพื้นฐานอื่นที่สังคมไทยยังต้องการอีกมาก

ผู้ซื้อหน่วยลงทุน (ซึ่งในที่นี้ก็คือประชาชนหรือภาคเอกชนที่มีเงินออม) ก็สามารถมีทางเลือกในการออมเพิ่มขึ้น โดยเลือกลงทุนให้สอดคล้องกับ Pattern ความเสี่ยงของตน แต่ละรายย่อมไม่เหมือนกัน และอาจได้ผลตอบแทนจากโครงการเหล่านั้นในระยะยาวด้วย อีกทั้งยังสามารถขายหน่วยลงทุนได้ทันทีเมื่อกองทุนเหล่านั้นเข้าจดทะเบียนในตลาดรอง

แม้กระทั่งผู้ลงทุนในโครงการ เช่นผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้รับสัมปทาน ก็สามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ได้ด้วย ทั้งในเชิงของการเป็น Originator และ Operator อีกทั้งสถาบันการเงิน Project Financiers และบรรดา Supplier ต่างชาติตลอดจนธนาคารของพวกเขา (และที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาเช่นธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของประเทศนั้นๆ) ก็จะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยและ Cost of Capital ของโครงการโดยรวม ซึ่งอาจจะลดลง....สุดท้าย บรรดา บลจ. ตลอดจน Underwriter, Sub-underwriter, Dealer/Brokerและที่ปรึกษาการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ ย่อมได้รับค่า Fees กันทั่วหน้า

นั่นเป็น Win-Win Game ที่ Infrastructure Fund จะนำมาให้พวกเรา

ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
18 ธันวาคม 2555

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ ดูเหมือนว่า infrastructure fund เป็นทางเลือกที่ดี มาก ๆ เลยครับในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ผมสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้ถึงเพิ่มเริ่มเอามาใช้ในประเทศไทย และ อุปสรรค/ความเสียง ของการจัดตั้งกองทุนนี้คืออะไรครับ

    ตอบลบ