วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วัดทะนา ดาลาลอย ตลาดทุนลาวอยู่ในมือท่านแล้ว



ความรู้สึกแรกเมื่อเราทราบว่าจะได้พบหัวหน้าสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คลต.) ของลาว ซึ่งมีสถานะเป็น “ผู้คุมกฎ” ทั้งมวลในตลาดทุนนั้น เรานึกว่าท่านต้องมีลักษณะน่ากลัว เพราะยิ่งเป็นผู้คุมกฎของประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีระบบปกครองอันเข้มงวดด้วยแล้ว ภาพของท่านในใจเราถึงขั้นดุร้ายและน่าขนลุกเลยทีเดียว

ผิดคาด!

วัดทะนา ดาลาลอย เธอเป็นผู้หญิงวัยกลางคนที่หน้าตาและกริยานุ่มนวลน่ารัก ทว่าก็สง่างาม เพรียบพร้อมอย่างกุลสตรี และยิ่งได้สนทนากับเธอไปเรื่อยๆ ก็รู้ว่าเธอนั้นรอบรู้ และแม่นยำในภูมิรู้ทางการเงินและตลาดทุน

พื้นฐานการศึกษาทั้งทางด้าน Political Economy และ International Economics จากมอสโค โตเกียว และบอสตัน แถมประสบการณ์กับ IFC ในวอชิงตันดีซีอีก ปี และ 15 ปีในธนาคารชาติลาว ก่อนจะผันตัวเองมาร่วมก่อตั้งตลาดทุนจนถึงขณะนี้ก็ ปีแล้ว ย่อมการันตีคุณภาพเทคโนแครตของเธอได้

แต่เนื่องจากตลาดทุนลาวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทั้งจำนวนและชนิดของหลักทรัพย์ ตลอดจนกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ประกาศใช้แล้ว ทำให้เรามองเห็นจำนวนงานที่รออยู่ข้างหน้า ท้าทายเธอและสำนักงานแห่งนี้อยู่อีกเป็นกองพะเนินเทินทึก

ปัจจุบันนี้ถ้าเบิ่งตามผลิตภัณฑ์แล้ว หุ้นก็ยังจำกัดหลาย คือพวกเฮามีแต่หุ้นสามัญเพียงอย่างเดี๋ยว ในปี 2014 พวกเฮาคาดว่าจะสามารถวางเงื่อนไขทางด้านนิติกรรม อำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทที่สนใจออกหุ้นกู้ (Corporate Bondซึ่งอาจได้ในลักษณะ Private Placement ก่อน และเมื่อมีการตั้ง Credit Rating Agency แล้ว คงจะทำได้ครบถ้วนยิ่งขึ้นเธอกล่าว

นอกจากนั้น คลต.ยังมีแผนที่จะพัฒนาตลาดแรกและตลาดรองพันธบัตรรัฐบาล (Government Bondให้สำเร็จเป็นระบบให้ได้ภายในปีนี้ และคาดว่าจะออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนรวม (Mutual Fundและใบอนุญาติบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (Asset Management) ได้ภายในปีนี้เช่นเดียวกัน เพื่อเตรียมรองรับการออกจำหน่ายหน่วยลงทุนให้กับประชาชนให้ได้ภายในปี 2015

ในแง่ของ Scheme การสนับสนุนวิธีระดมทุนของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่หลายโครงการและกำลังจะเพิ่มขึ้นอีกมากในลาวนั้น เธอกล่าวว่ากำลังศึกษารูปแบบกันอยู่ก่อนจะเสนอให้รัฐบาล ระหว่างที่จะให้ออกเป็น Infrastructure Fund หรือ Bonds หรือให้ใช้วิธีจัดตั้งบริษัทเฉพาะกาลขึ้นมา (Special Vehicle Purpose)

อีกทั้งยังมีงานปรับปรุงทางด้านมาตรฐานบัญชี ซึ่ง คลตเตรียมจะออกเป็นนิติกรรมว่าบริษัทจดทะเบียนฯ ต้องปฏิบัติตามรายงานการเงินสากล (IFRSโดยเริ่มตั้งแต่ปีนี้เลย โดยบริษัทเข้าใหม่จะอนุโลมให้ ปี

นอกจากนั้น ยังมีงานทางด้าน Corporate Good Governence ที่คาดว่าจะออกเป็น Manual ได้ในเร็ววัน และทางด้าน Back Office โดยเฉพาะธุรกิจ Custodian ซึ่งจะรองรับการลงทุนของต่างประเทศให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความสะดวกมากขึ้น

อีกทั้ง Takeover Code ที่อาจจะต้องพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันยังติดเพดานการถือหุ้นอยู่เพียง 10% (Foreign Limit)

เมื่อถามถึง Warrants และโครงการหุ้นพนักงาน (ESOPเธอว่า "พวกเฮาก็เอาเข้าในแผน แต่ยังไม่ทันได้ลงรายละเอียด แล้วพวกเฮาจะสังเกตด้วยว่า มีความต้องการจาก Private Sector มากแค่ไหน ถ้ามีความต้องการ จะพยายามเขียนระเบียบออกให้ทัน"

ที่สำคัญและหนักหนาในอนาคต เห็นจะเป็นงานโฆษณาเผยแพร่ ให้ความรู้กับนักธุรกิจ นักวิชาชีพหลักทรัพย์ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งอาจจะต้องตั้งเป็นแผนกอบรมโฆษณาเผยแพร่โดยเฉพาะ เพราะเธอเห็นว่าจะเป็นงานที่หนักมาก

ขณะนี้ คลตกำลังจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาตลาดทุนระยะ 10 ปี โดยจะเริ่มปี 2015-2025 และจะแบ่งช่วงแห่งการพัฒนาออกเป็น ช่วง ซึ่งแผนนี้ถือเป็นแผนแม่บทที่จะเป็นตัวกำหนดชะตาของตลาดทุนลาวในอนาคต

ต่อประเด็น AEC นั้น เธอว่าลาวจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อของภูมิภาค ทั้งในเชิงโอกาสในการระดมทุนและในเชิงการเลือกสรรค์เอาสิ่งที่เพื่อนบ้านทำสำเร็จแล้วมาเป็นบทเรียน

"เรื่อง AEC เบิ่งเฉพาะในตลาดทุน พวกเฮาจะได้รับผลประโยชน์ในแง่ของกฎเกณฑ์ต่างๆ อันใดที่เห็นว่าใช้ได้ จะจับมาใช้เลย เฮ็ดให้พวกเฮาเชื่อมโยงกับอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว Cross Border Issuing, Cross Border Leasing, Linkage Exchange ในระดับของอาเซียน ซึ่งต้องมีระบบ Infrastructure ต่างๆ อาจจะมี 5-6 ประเทศรวมตัวกัน พวกเฮาก็จะไปทางนี้ แต่อยู่ในขอบเขตของ สปปลาว ในอนาคต อีก 2-3 ปี ข้างหน้า พวกเฮาต้องพยายามให้เข้ากับภาคพื้น และระบบนิติกรรม สภาพของสปป.ลาว พวกเฮาคงค้นคิดทฤษฎีใหม่ไม่ได้ เพราะตลาดทึนมีมา 2-3 ร้อยปีแล้ว แต่พวกเฮาเลือกเอาของที่ข้าเจ้าทำสำเร็จแล้วมาใช้ให้เหมาะกับสภาพของลาวได้” เธอกล่าวทิ้งท้ายก่อนที่เราจะจากมา

ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือน ก.พ. 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น