ผมเขียนบทความนี้ในวันที่พลเอกประยุทธ์ถูกลากให้เข้าไปในเขต
Killing
Zone และได้ตั้งตัวเองเป็น
Dictator
มาแล้วเป็นเวลาหกวัน
ในฐานะบรรณาธิการของนิตยสาร
MBA
ซึ่งโฟกัสทางด้านบริหารจัดการ
ผมย่อมสนใจสังเกตุวิธีจัดองค์กรขึ้นมาบริหารราชการแผ่นดินของพลเอกประยุทธ์เป็นพิเศษ
ผมเข้าใจว่า
ในฐานะผู้นำการยึดอำนาจรัฐซึ่งต้องรับความเสี่ยงทั้งมวล
พลเอกประยุทธ์จำเป็นต้องรวบอำนาจให้มาขึ้นต่อตัวเองให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ดังนั้นองค์กรบริหารสูงสุดที่จัดตั้งขึ้นในการนี้
(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
จึงต้องเข้ากุมอำนาจรัฐ ซึ่งรวมถึงอำนาจบริหาร
ตุลาการ นิติบัญญัติ ให้เบ็ดเสร็จ
เพื่อจะครอบคลุมอำนาจการสั่งการและควบคุม
State
Apparatus ทั้งมวล
ในลักษณะ
Super-Centralized
Organization
และเพื่อให้มันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
รวดเร็วทันใจ ทรงประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันก็สามารถพลิกแพลงคล่องตัวได้ด้วยนั้น
องค์กรสูงสุดนี้จำเป็นต้อง
เล็ก กระทัดรัด อุปมาดั่ง
Central
High Command
ของกองทัพในยามสงคราม
เพราะหน้าที่หนึ่งของหน่วยบัญชาการสูงสุดของคณะรัฐประหารเมื่อยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จ
ไม่ว่าที่ไหนก็ตามในโลก
คือต้องปราบปรามฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายต่อต้านให้สิ้นซาก
หรืออย่างน้อยก็ต้องสะกดให้อยู่หมัด
โดยอาศัยกฎหมาย (ในกรณีนี้คือกฎอัยการศึก)
เป็นเครื่องมือ
และอาศัยศักยภาพของกองกำลังในการจะบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวนั้น
เป็น Back-up
อีกทอดหนึ่ง
สำหรับผมแล้ว
บทเรียนการรัฐประหารทั่วโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยตลอดมานั้น
ถ้าจะมองให้เป็นเรื่องของการเมืองระดับสูงก็ว่าใช่
แต่ถ้าจะมองอีกแง่หนึ่ง
ว่ามันเป็นเหมือนสงครามระหว่างก๊วนระหว่างแก๊ง
คล้ายๆ กับการสัประยุทธ์ของบรรดาแก๊งมาเฟีย
ก็มองได้ไม่ผิดอีกเช่นกัน
(ในอดีตเราเคยมีผู้นำคณะรัฐประหารที่มีบุคลิกลักษณะแบบเจ้าพ่อมาเฟียจำนวนมาก
เช่น พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์
พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์
พลเอกประภาส จารุเสถียร
พันเอกณรงค์ กิตติขจร พันเอก
(พิเศษ)
ประจักษ์
สว่างจิตร ฯลฯ
และการสังหารนักการเมืองฝ่ายค้านในสมัยพลตำรวจเอกเผ่า
ก็มีลักษณะ Mafia-Style
เช่นเดียวกับการสังหารแคล้ว
ธนิกุล ในสมัย รสช.
ซึ่งคล้ายคลึงกับกรณีของสนธิ
ลิ้มทองกุล ไม่มากก็น้อย)
มันเป็นการแย่งชิงตำแหน่ง
งาน หน้าที่ความรับผิดชอบ
และอำนาจสั่งการ
ที่จะบริหารจัดการและควบคุม
ตลอดจนจัดสรรทรัพยากร
ทรัพย์สิน
และผลประโยชน์ในกระบวนการสร้างความมั่งคั่งของประเทศทั้งแบบบนดิน
(เรียกว่าระบบเศรษฐกิจ)
และใต้ดิน
(เรียกว่าเครือข่ายคอรัปชั่น)
จำนวนมหาศาล
แก๊งไหนขึ้นมาได้
แต่ทำไม่ดี ไม่เก่ง
หรือไม่มีประสิทธิภาพ หรือประมาท ก็ต้องโดนคว่ำไปในที่สุด
มันจึงมีลักษณะเหมือน
"สมบัติผลัดกันชม"
ดังนั้น
ก๊วนที่ขึ้นมาได้นั้น
ถ้าฉลาดและไม่ต้องการสูญเสียอำนาจ
หรือต้องการใช้อำนาจนั้นไปเพื่อบำบัดทุกข์บำรงสุขให้กับประชาชนตามอุดมการณ์ของตัวได้นานๆ
ก็จำเป็นต้องกำราบฝ่ายต่อต้านให้ราบคาบไปเป็นธรรมดา
โดยทั่วไป
เครื่องมือที่บรรดา
Dictator
ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินคือ
"ประกาศฯ"
และ
"คำสั่งฯ"
ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า
“Rule
By Decree”
กระทั่งบัดนี้
(เวลา
13.31
น.
ของวันที่
28
พฤษภาคม
2557)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศฯ
มาแล้ว 43
ฉบับ
และคำสั่งฯ อีก 23
ฉบับ
โดยประกาศส่วนใหญ่เป็นมาตรการกำราบฝ่ายตรงข้ามและป้องปรามฝ่ายต่อต้าน
เช่นการเรียกฝ่ายตรงข้ามมารายงานตัวและควบคุมตัวชั่วคราว
การโยกย้ายข้าราชการที่เคยอยู่ในอาณัติของฝ่ายตรงข้าม
และแต่งตั้งฝ่ายตัวเองเข้าไปแทน
และการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน
เป็นต้น
อันที่จริง
ระบบการบริหารจัดการและการจัดองค์กรของบรรดา
Dictator
ชั้นนำของโลกนั้น
มีให้ศึกษามากมายในอดีต
ยกตัวอย่าง
ในแถบเอเชียนี้เรามักได้ยินว่าบรรดาพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านครสมัยก่อนมักถือเอา
พระเจ้าอโศกมหาราช
เป็นแบบอย่าง
เพราะแม้พระเจ้าอโศกจะเป็น
Dictator
แต่ก็เป็น
Good
Dictator หรือ
Good
Autocrat ที่เอา
"ธรรมนำหน้า"
หรืออย่าง
จิ๋นซีฮ่องเต้
ก็มีผู้ศึกษาและอยากเลียนแบบกันมาก
ในสังคมตะวันตก
เราอาจต้องยกให้ Alexander
the Great และ
Julius
Caesar
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหลังนั้น
แบบอย่างการเป็นผู้นำของเขา
ขั้นตอนการสร้างชื่อ สะสมกำลัง
วางเกมและเข้ายึดอำนาจและปราบปรามฝ่ายตรงข้าม
ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการของเขา
การจัดองค์กรทางการเมืองและในการบริหารราชการแผ่นดิน
การโฆษณาชวนเชื่อ
และนโยบายปฏิรูปที่เขาทำและวางรากฐานให้กับโรมและจักรวรรดิโรมัน
นับว่าทรงอิทธิพลต่อ Dictator
รุ่นหลังมากเหลือเกิน
ชีวิตและวิธีทำงานตลอดจนสไตล์และจุดอ่อนข้อผิดพลาดของเขาได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและเจาะลึก
แม้เขาจะมิได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิ
แต่เขาริดรอนระบอบสาธารณรัฐ
(Roman
Republic) ซึ่งต่อมา
Octavian
ลูกบุญธรรมของเขาก็ตั้งตนขึ้นเป็นจักรพรรดิได้สำเร็จ
เปลี่ยนระบอบมาเป็นจักรวรรดิโรมัน
(Roman
Empire) นับแต่บัดนั้น
จักรพรรดิรุ่นหลังพากันเรียกตัวเองว่า
Caesar
หรือไม่ก็
Tsar
หรือ
Kaiser
ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก
Caesar
นั่นเอง
แสดงถึงความยิ่งใหญ่และอิทธิพลของเขาที่มีต่อผู้ปกครองรุ่นหลัง
โมเดลของ
Julius
Caesar
เป็นแรงบันดาลใจให้กับ
Dictator
ชั้นนำของโลกหลายคน
ไม่ว่าจะเป็น Napoleon,
Hitler, Mussolini, และ
เหมาเจ๋อตง
นโปเลียนมีซีซ่าร์ให้เรียนรู้
เลนินก็มีนโปเลียน
มุสโสลินีเรียนทั้งจากนโปเลียนและซีซ่าร์
สตาลินก็เรียนจากเลนินและนโปเลียน
เช่นเดียวกับฮิตเล่อร์ที่เรียนรู้จากนโปเลียนและมุสโสลินี
ส่วนเหมาเจ๋อตงเลียนทั้งจากสตาลิน
ฮิตเล่อร์ เลนิน
และก็นิยมในตัวนโปเลียนและซีซ่าร์
ทั้งนโปเลียน
ฮิตเลอร์ และมุสโสลินีนั้น
ไม่เพียงเลียนแบบซีซ่าร์ในเชิงความทะเยอทะยานและเป้าหมายทางการเมือง
และการอาศัยกองทัพส่วนตัวเป็นเครื่องมือในการกุมอำนาจทางการเมืองและการปกครอง
และการแผ่ขยายอาณาจักรเท่านั้น
ทว่ายังเลียนแบบในเชิงสถาปัตยกรรม
การอุดหนุนเชิงวัฒนธรรม
หรือแม้แต่สัญญลักษณ์ของ
Regime
เช่น
ธง เครื่องหมาย เครื่องแบบ
เครื่องประดับยศ ฯลฯ
และใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อ
เราไม่รู้ว่าลึกๆ
แล้ว
พลเอกประยุทธ์และผู้นำคณะรัฐประหารชุดปัจจุบันของเราฝักใฝ่ไปทางนั้นด้วยหรือไม่
เรารู้แต่เพียงว่านายทหารทุกนายต้องเคยศึกษาซีซาร์และนโปเลียนมาก่อน
และในอดีตก็เคยมีผู้นำทหารของไทยที่ฝักใฝ่ไปทางฮิตเลอร์และมุสโสลินีมาบ้างแล้ว
อย่างน้อยก็ในช่วง
"เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"
เป็นพยานอยู่
ในความเห็นของผม
Dictator
ที่แสดงความสามารถในการจัดองค์กรรวมศูนย์แบบรวบอำนาจมาไว้ที่คนจำนวนเพียบหยิบมือ
ได้เก่งที่สุด เบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่สุด
และทรงประสิทธิภาพต่อเป้าหมายเชิงอำนาจได้ดีที่สุดกับรัฐสมัยใหม่
และเป็นตัวอย่างให้กับ
Dictator
ยุคหลังอย่างแพร่หลายที่สุด
คือ Lenin
แม้เลนินจะอ่าน
Marx
แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่มาร์กซ์เขียนอย่างละเอียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับทุนนิยม
มาร์กซ์พูดถึงสังคมนิยมไม่มากนัก
ต้องอาศัยเลนินนี่แหละที่มาสร้างระบบปกครองแบบคอมมิวนิสต์ขึ้นจนสำเร็จในทางปฏิบัติ
และตอนหลัง
Stalin
ก็มา
"ต่อยอด"
ปรับปรุงให้เผด็จการมากขึ้น
รวมศูนย์มากขึ้น
กระชับอำนาจอย่างเด็ดขาดไว้ที่เขาเพียงคนเดียว
และแล้ว
Dictator
รุ่นหลังจากนั้นทุกคนล้วนเลียนแบบโมเดลดังกล่าว
ทั้ง เหมาเจ๋อตง ฟิเดลคาสโตร
คิมจองอิล ไกสอน พมวิหาน
โฮจิมินห์ พอลพต ติโต
ตลอดจนบรรดาผู้นำคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก
อาฟริกา และละตินอเมริกา
ในยุคสงครามเย็นทุกคน
เลนินใช้วิธียึดสถานที่สำคัญแบบสายฟ้าแลบ
จับบุคคลสำคัญ (โดยการจัดการของ Trotsky) จัดตั้งศูนย์บัญชาการและหน่วยอารักขา
(ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นหน่วยตำรวจลับ)
แล้วก็ปิดสื่อ
(ยกเว้นสื่อของพรรคฯ
ที่ใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ)
ตั้งศาลเตี้ย
ล้มหรือลดอำนาจองค์กรเดิมๆ
ทางการเมืองการปกครอง
แล้วจัดตั้งองค์กรการปกครองแบบใหม่ซ้อนขึ้นมาโดยอาศัยการออกประกาศฯ
และคำสั่ง อย่างรวดเร็ว ฯลฯ
โดยองค์กรบัญชาการสูงสุดอยู่ในมือของคนจำนวนไม่กี่คน
เพราะเขาต้องการให้มันเล็ก
คล่องตัว และตัดสินใจได้เร็ว
(ระยะแรกหลังรัฐประหาร
องค์กรตัดสินใจสูงสุดคือ
Politburo
มีสมาชิก
5
คน
และองค์กรบริหารที่มีหน้าที่บริหารประเทศแบบวันต่อวัน
เรียกว่า Orgburo
มีสมาชิก
6
คน
โดยมีคณะกรรมการบางคนควบสองเพื่อให้สององค์กรสมานกัน)
เขาเรียกวิธีการของเขาว่า
"ประชาธิปไตยรวมศูนย์"
ภายใต้
"เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ"
ที่สำคัญคือเขาตั้งหน่วยงานสอดส่องข้าราชการและกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม
โดยอาศัย "ตำรวจลับ"
หรือ
Secret
Police
หน่วยงานตำรวจลับนับเป็นอาวุธลับสำคัญของ
Dictator
ยุคใหม่ทุกคน
อันที่จริงต้นตำรับของ
"ตำรวจลับ"
แบบที่เรารู้จักกันในบัดนี้คือนโปเลียน
ภายใต้การบริหารจัดการของ
Joseph
Fouche
และขึ้นตรงต่อนโปเลียนเพียงคนเดียว
เลนินนั้นเลียบแบบการจัดองค์กรและวิธีปฏิบัติการของ
Fouche
มาอีกทอดหนึ่ง
นโปเลียนตั้งหน่วยงานตำรวจลับทันทีหลังจากที่ทำรัฐประหาร
มีเป้าหมายให้กำราบฝ่ายตรงข้าม
คือไม่ต้องการให้เกิดพรรคฝ่ายค้าน
หรือกลุ่มคัดค้านการปกครองของเขาอย่างเปิดเผย
Fouche
ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงตำรวจ
(ต่อมาเป็นกระทรวงมหาดไทยหรือความมั่นคงภายใน)
ใช้วิธีจัดตั้งสายลับ
(Agents
Provocateur) นอกเครื่องแบบจำนวนมาก
ให้ทำตัวปะปนกับฝูงชนหรือเป้าหมาย
คอยสืบข่าว สะกดรอย หลอกล่อ
(ให้ฝ่ายตรงข้ามเผยตัวเพื่อจะได้ยัดข้อหาถนัด)
จัดทำรายงาน
หรือแม้กระทั่งล่าสังหาร
ศัตรูทางการเมืองของนโปเลียน
และเมื่อนโปเลียนทำสงครามขยายอาณาจักร
บุกยึดและเข้าไปปกครองเพื่อนบ้าน
หน่วยงานนี้ก็ตามไปทุกที่
อีกทั้งยังขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบไปจนถึงการใช้จารชน
การสืบข่าวเพื่อประโยชน์ในเชิงการสงครามและทางการทูต
จึงกลายเป็นต้นแบบของ Spy
ระดับชาติในเวลาต่อมา
ตำรวจลับภายใต้
Fouche
มีชื่อเสียงในทางน่ากลัวและทรงประสิทธิภาพมาก
ช่วยให้นโปเลียนเผด็จอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จได้ตลอดรัชสมัย
จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้เผด็จการในยุคต่อมา
เมื่อขึ้นสู่อำนาจได้แล้ว
เป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานตำรวจลับของตัวเองขึ้นตามแนวทางนี้
เลนิน
จึงมี Cheka
และ
OGPU
ภายใต้
Felix
Dzerzhinsky
ฮิตเลอร์
ก็มีหน่วย SS
(Schutzstaffel)
และ
Gestapo
ภายใต้
Heinrich
Himmler และสตาลินก็มี
NKVD
ภายใต้
Lavrentiy
Beria
ซึ่งต่อมาเยอรมนีตะวันออกในยุคสงครามเย็นเลียนแบบมาเป็นหน่วย
Stasi
อันโด่งดัง
เหมาเจ๋อตง
มีคังเซิน
และจอมพลแปลก
พิบูลสงคราม
ก็มีหน่วยสันติบาล
ภายใต้การบริหารจัดการของ
พลตำรวจเองเผ่า
ศรียานนท์ เป็นต้น (ปัจจุบันเรามีตำรวจลับและหน่วยข่าวกรองแยกกันหลายหน่วย)
Dictator
เหล่านี้ใช้ตำรวจลับในการกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างเฉียบขาด เหี้ยมโหด เลือดเย็น และต่อมาก็สอดส่อง จับผิด
และกวาดล้างกันเอง อย่างสตาลิน
ฮิตเลอร์ เหมาเจ๋อตง
หรือแม้กระทั่ง พอลพต
ก็เคยกวาดล้างใหญ่มาแล้ว
(Great
Purge) ทำให้ผู้คนล้มตายหลายสิบล้านคน
นั่นเป็นความน่ากลัวของ
“รัฐตำรวจ” (Police
State) ซึ่งถือเป็นกลไกอันทรงประสิทธิภาพของบรรดา
Dictator
ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น
Dictator
มักตั้งรัฐบาล
สภา และศาล แต่องค์กรเหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับ
Dictator
อีกทอดหนึ่ง
ถ้าจะพูดแบบคร่าวๆ
ตามโมเดลแบบเลนินนั้น
เขาจัดองค์กรบริหารประเทศโดยให้พรรคบอลเชวิก
(คือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต)
เป็นแกนกลาง
ทุกอย่างรวมศูนย์ไว้ที่พรรคและผู้นำพรรคจำนวนห้าหกคน
(ต่อมาสตาลินรวมไว้ที่เขาเพียงคนเดียว)
โดยให้รัฐบาล
ศาล สภา และหน่วยงานของรัฐบาลและองค์กรทุกองค์กรในประเทศ
เช่น กองทัพ กระทรวง กรม
ตลอดถึงโรงงาน และองค์กรภาคเศรษฐกิจทั้งหมด
ไปจนถึงมลฑล จังหวัด เมือง
ตำบล หมู่บ้าน องค์กรเชิงวัฒนธรรม
หนังสือพิมพ์ และองค์กรเล็กองค์กรน้อย
ฯลฯ ต้องถูกควบคุมโดยพรรคอีกชั้นหนึ่ง
โมเดลแบบเลนินนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
หลังจากที่ใช้กันมากว่า 70
ปี
ปัจจุบันมีหลักฐานที่เชื่อถือได้เปิดเผยด้านมืดของระบอบนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ
ว่าผู้คนจำนวนมากในประเทศที่เคยปกครองโดยโมเดลนั้น
ถูกกดขี่ ถูกทรมาน ถูกสังหารหมู่
ต้องโทษโดยไม่มีการพิจารณา
ต้องอดตาย ถูกริดรอนเสรีภาพอย่างร้ายแรง
และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบทั่วด้านอย่างเลวร้าย
แต่ทุกวันนี้จีน
เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว
และคิวบา ก็ยังใช้โมเดลแบบเลนินในการบริหารประเทศอยู่
โดยบางประเทศเช่น จีน เวียดนาม
และลาว ได้ปรับแต่งระบบให้คลายการควบคุมเชิงเศรษฐกิจลงบ้าง
ตามแนวทางของเติ้งเสี่ยวผิง
ณ
ขณะนี้
ผมยังไม่รู้ว่าพลเอกประยุทธ์จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาบริหารประเทศหรือไม่และเมื่อใด
(หรืออาจจะใช้วิธีบริหารราชการแผ่นดินโดยอาศัยข้าราชการและการตั้งคณะที่ปรึกษาไปเรื่อยๆ)
และถ้าจัดตั้งแล้วจะจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐบาลกับคณะของท่านอย่างไร
จะแบ่งงานกันทำอย่างไร
จะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างไร
ฯลฯ ท่านจะใช้โมเดลของ
Dictator
คนไหน
เพราะในอดีตเคยมีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่า
เมื่อคณะรัฐประหารไม่สามารถควบคุมรัฐบาลที่ตัวตั้งขึ้นได้
(สมัย
รสช.)
มันจะก่อความหายนะต่อคณะรัฐประหารและตัวผู้นำในไม่ช้า
ที่สำคัญ
ท่านจะออกจาก Killing
Zone อย่างปลอดภัยได้ด้วยวิธีใด
จะลงจากหลังเสืออย่างไร
นั่นเป็นเรื่องที่ผมสนใจ
และจะตั้งตาดูอย่างใจจดใจจ่อ
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
28 พ.ค. 2557
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือน พ.ค. 57
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น