สมภพ
ศักดิ์พันธ์พนม เป็น Investment
Banker ที่ไฟแรงมากๆ
ไฟแรงขนาดที่เมื่อเราอยู่ใกล้ๆ
จะรู้สึกได้ถึงความระอุที่พร้อมจะปะทุออกมาทุกเมื่อ
และไอ้ที่ครุกรุ่นอยู่ในอกนั้น
มันคือความคิดสร้างสรรค์
ที่เกิดจากการเห็น สังเกตุ
ขบคิด วิเคราะห์ และคำนวณโอกาสเชิงธุรกิจ
ซึ่งสมภพมักมองออกก่อนใครและพร้อมที่จะเสี่ยงดูสักตั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ของสมภพเกิดจากวิธีมองโลกที่แตกต่าง
เขามองโลกแบบ
Bottom-Up
เขาจึงเห็นโอกาสที่แฝงตัวอยู่ในตลาดฐานราก
กลยุทธ์ของเขาก็เป็น
"กลยุทธ์จากเบื้องล่าง"
จึงไม่แปลกที่
APM
(Asset Pro Management) ของเขาจะสามารถชนะใจเจ้าของกิจการ
SME
ในต่างจังหวัด
จนวางใจให้เขาเป็นที่ปรึกษาการเงินเพื่อปรับโครงสร้างและนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยฯ
จนถึงปัจจุบัน
APM
ของสมภพ
นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด
MAI
มาแล้วไม่ต่ำกว่า
20
บริษัท
กลยุทธ์ของสมภพเป็นแบบ
"ป่าล้อมเมือง"
เน้นการให้ความรู้กับผู้ประกอบการต่างจังหวัด
โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยตามหัวเมืองจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับการเงินและตลาดทุน
เพื่อสร้าง Awareness
และ
Recruit
ลูกค้าไปในตัว
แล้วค่อยๆ
สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยการให้คำปรึกษาด้วยความจริงใจ
ด้วยความเข้าอกเข้าใจลูกค้า
เติบโตไปกับลูกค้า
และเมื่อลูกค้าพร้อม
ก็จะแนะนำให้ระดมทุนด้วยวิธีใหม่ๆ
และทดลองใช้เครื่องมือทางการเงิน
(Financial
Instruments) สมัยใหม่ที่เหมาะกับ
Pattern
การใช้เงินและกลยุทธ์การเติบโตของลูกค้า
สมภพเป็น
Banker
ที่โตมาจากฐานราก
เขาต่างจาก
Investment
Banker ส่วนใหญ่ที่มาจากตระกูลเก่าแก่ที่มีสายสัมพันธ์กว้างขวาง
และคลุกคลีอยู่กับส่วนบนของสังคม
“นามสกุลของผมไม่ได้ใหญ่โต
ผมจึงต้องอาศัยการทำงานหนัก
ผมรู้ว่าผมต้องทำหนักกว่าคนอื่นหลายเท่าจึงจะเกิดได้"
เขาเคยกล่าวกับเรา
เขาเป็นเด็กต่างจังหวัด
เกิดในครอบครัวคนจีนที่นครสวรรค์และเรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ก่อนจะเริ่มชีวิต Banker
ที่กสิกรไทย
แล้วค่อยไปต่อ MBA
ที่ฟอริดา
และเคยร่วมงานกับหลักทรัพย์ยูเนี่ยน
วิกฤติเศรษฐกิจในปี
2540
ได้เปิดโอกาสให้
Banker
จำนวนหนึ่ง
ให้สามารถผันตัวเองออกมาตั้งบริษัทให้คำปรึกษาทางการเงินในการปรับโครงสร้างหนี้
สมภพก็เริ่มจากจุดนั้น
ความอ่อนน้อมถ่อมตน
หลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือพูดถึงคนอื่นในแง่ไม่ดี ประกอบกับการทำงานหนัก
กัดติด สร้างทีมงานที่เข้มแข็งและทุ่มเทเหมือนกับเขา
ทำให้กิจการของเขาค่อยๆ
เติบโตขึ้นในวงการ
ประกอบกับการพูดปากต่อปากในหมู่ลูกค้าด้วยกันเอง
ถือเป็น Buzz
ที่ช่วยการันตีให้สมภพได้ลูกค้าใหม่ๆ
เพิ่มขึ้น
อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกในรอบสิบกว่าปีมานี้
ที่สหรัฐฯ ดำเนินนโยบายดอลล่าร์อ่อน
ทำให้เงินทุนไหลมาสู่ Emerging
Market ช่วยเพิ่มระดับราคาสินทรัพย์ในบ้านเรา
ทำให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น
ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริม
SME
โดยเปิดตลาด
MAI
เท่ากับเป็นปัจจัยบวกต่อ
APM
และ
Play
on Strength ของสมภพโดยตรง
Key
Success Factor
ของสมภพคือความสามารถในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจที่ลูกค้ามีต่อเขาและ
APM
สมภพเป็นคนง่ายๆ
และเป็นนัก Entertain
พูดจาตรงไปตรงมา
และแสดงความจริงใจแบบ
"ลูกทุ่งๆ"
เขามีวิธีทำให้ลูกค้าพอใจและหัวเราะได้เสมอ
และเขาก็ไม่ใช่ Banker
ประเภท
"เต๊ะจุ๊ย"
ที่พูดไทยคำอังกฤษคำ
จิบไวน์ ใส่สูท
และรองเท้าต้องมันวับอยู่ตลอดเวลา
เขาเป็นพวกติดดิน
ถลกแขนเสื้อ และพร้อมที่จะลุยดินลุยโคลน
บุคลิกแบบนี้บวกกับความเข้าใจในหัวอกผู้ประกอบการขนาดเล็กขนาดกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานคนจีนในต่างจังหวัดและเป็น
Family
Business ประกอบกับความเชี่ยวชาญทางการเงินของเขา
จึงช่วยชนะใจเจ้าของกิจการเหล่านั้นได้
ในเชิงการจัดการ
สมภพก็ใช้วิธี Bottom-up
เช่นเดียวกัน
นั่นจึงทำให้ลูกน้องรัก
ผูกพัน และภักดีต่อองค์กร
ทำให้องค์กรมีความต่อเนื่อง
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในธุรกิจ
Investment
Banking
สไตล์การมองโลกจากเบื้องล่างของเขานี่เอง
ที่ทำให้เขาเห็นโอกาสในลาวแต่เนิ่นๆ
และเข้ามาลงทุนก่อตั้ง APM
(Laos)
จนปัจจุบันได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ใหญ่ในแวดวงตลาดทุนของลาว
เขา
Foot-in-the-door
โดยการให้ความรู้
จัดสัมมนาร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ
และเป็นผู้บรรยายพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
และด้วยบุคลิกและสไตล์ของเขา
เขาจึงเป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน
ชื่อเสียงของสมภพและ APM
(Laos)
เริ่มกระจายไปในหมู่นักธุรกิจของลาวผู้มีศักยภาพว่าจะสามารถแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
ได้
เขาให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ลูกค้ารายใหญ่มาได้สักระยะหนึ่งแล้วจำนวน
2
ราย
และคาดว่าจะมีเพิ่มอีกหลายรายในปีนี้
คนลาวส่วนใหญ่เป็นคนง่ายๆ
ติดดิน และจริงใจ
เหมือนคนต่างจังหวัดของเรา
แต่ก็มี Reservation
ต่อคนไทย
เพราะกลัวว่าเราจะไปเอาเปรียบหรือดูถูกเขา
ดังนั้น การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ
นับว่าสมภพ
อยู่ถูกที่ ถูกเวลา แล้ว
สมดังที่เดชพูวังแห่งตลาดหลักทรัพย์ลาว
ให้ฉายาเขาว่า "มือทองสองฝั่งโขง"
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือน ก.พ. 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น