เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่บรรดาปัญญาชน โดยเฉพาะปัญญาชนฝรั่ง จะมีนิสัยยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเห็นของตนอย่างเหนียวแน่น พูดเป็นภาษาฝรั่ง ก็ต้องบอกว่า พวกเขาเป็นพวก Supreme Egoist ซึ่งจัดเป็นความยึดมั่นถือมั่นในดีกรีที่ไม่ต่างไปจาก “ความหลงตัวเอง” สักกี่มากน้อย
ไม่เชื่อลองหาหนังสือชีวประวัติของคนเหล่านี้มาอ่านดู ก็จะเห็นว่าสิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันคือ นิสัยแบบนี้แหละ
แต่สำหรับบางคน ก็มีเหตุผลที่พวกเขาจะเป็นแบบนั้น นั่นเพราะพวกเขา “มีดี” และตลอดช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้ชี้นำความคิดความอ่านผู้คนไว้แยะ แถมมีสาวกจำนวนมากอีกด้วย
ลองคิดดูให้ดี จะเห็นว่าคนพวกนี้มีอิทธิพลต่ออารยธรรมฝรั่งไม่น้อยเลย โดยเฉพาะช่วงหลังที่คริสจักรเสื่อมลง คนพวกนี้ก็เข้ามาทำหน้าที่แทนพระ คอยชี้นำความคิดความเชื่อของผู้คน ทั้งในแง่การดำเนินชีวิตส่วนตัว ชีวิตทางการเมือง (กติกาเวลาอยู่รวมกันเป็นหมู่มาก) ศีลธรรม จริยธรรม ตลอดจนทางด้านจิตวิญญาณ
ทุกวันนี้ นักการเมืองและนักร่างรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ยังต้องอ้างถึง Rousseau นักเศรษฐศาสตร์ นักการค้า และนักการธนาคาร ก็ยังอ้างถึง Adam Smith และ Marx หรือนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักข่าวสมัยใหม่ ยังต้องอ้างอิงถึง Tolstoy และ Hemingway เป็นต้น
เพื่อเป็นการพิสูจน์ความข้อนี้ ผมจึงลงมืออ่านหนังสือที่พวกเขาเคยเขียนถึงชีวิตหนหลังของตัวเอง เพื่อตรวจสอบดูว่า มีข้อความที่ส่อไปในทาง “หลงตัวเอง” อยู่บ้างหรือไม่ อย่างไร
ผมเริ่มที่หนังสืออัตชีวประวัติเล่มสำคัญของ ณ็อง-ณ้ากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ที่ชื่อ Les Confessions หรือ “คำสารภาพ” ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงอยุธยาตอนปลายต่อรัชการพระเจ้าตากสิน ระหว่าง พ.ศ. 2307-2313 เพราะผมคิดว่า Rousseau นั้น มีอิทธิพลต่อฝรั่งสมัยใหม่มากเหลือเกิน และความคิดทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพ ที่เขาเสนอ และสไตล์การเขียนอัตชีวประวัติแบบขุดคุ้ยลอกคราบลงไปในจิตใจเบื้องลึกนั้น เป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับปัญญาชนคนสำคัญของฝรั่งได้เดินตามในช่วงต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ใครจะปฏิเสธได้ว่า Autobiography ของ Bertrand Russell นั้น ไม่ได้รับอิทธิพลจาก Les Confessions ของ Rousseau หรือแม้แต่งานเขียนอัตชีวประวัติระดับคุณภาพคับแก้วของคนไทย อย่าง “ช่วงแห่งชีวิต” ของ ส.ศิวรักษ์ และ “ชีวิตเหมือนฝัน” ของ คุณหญิงมณี สิริวรสาร ก็น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากการอ่านงานของ Rousseau เช่นกัน
จากหนังสือ “คำสารภาพ” เล่ม 1 (แปลจาก “Les Confessions livres I”) ที่ พาชื่น องค์วรรณดี แปลมาเป็นภาษาไทยอย่างสละสลวยนั้น ผมพบว่ามีข้อความทำนอง “หลงตัวเอง” อยู่ถึง 10 แห่ง จากทั้งหมด 55 หน้ากระดาษ อันนี้ผมนับเฉพาะที่เข้าขั้น “หลงตัวเอง” แต่ถ้านับข้อความที่ “ยกยอตนเอง” “โฆษณาตัวเอง” หรือ “ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน” นั้น ก็ย่อมนับได้อีกเป็นจำนวนมาก หรือนับไปแล้วอาจถึงหนึ่งในสามของเนื้อหาด้วยซ้ำไป
อย่างตอนเริ่มเรื่อง ผู้อ่านก็ต้องเผชิญกับข้อความประเภทนี้ในทันที รุสโซประกาศว่า
“นี่คือภาพของมนุษย์ผู้หนึ่ง ซึ่งวาดขึ้นตามธาตุแท้และความเป็นจริงอย่างไม่ผิดเพี้ยน และเป็นภาพเดียวที่มีอยู่ในโลกทั้งในขณะนี้และบางทีอาจจะเป็นชั่วกาลสมัย.........ด้วยว่าหนังสือที่ไม่มีเล่มใดเหมือนนี้จะเป็นเครื่องมือเปรียบเทียบชิ้นแรกสำหรับการศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ ซึ่งจะต้องมีขึ้นในไม่ช้า....”
และในหน้าที่สอง ก็เจออีก
“ข้าพเจ้ากำลังจะกระทำสิ่งซึ่งไม่เคยมีผู้ใดได้กระทำมาก่อน และจะไม่มีผู้ใดยึดถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างในภายหน้า”
หายไปสองสามหน้าแล้วก็กลับมาในหน้าหกและเจ็ดอีกวรรคหนึ่ง และเป็นวรรคที่น่าอ่านมาก เพราะเป็นการ Observe ความคิดและจิตใจตัวเอง ตลอดจนเลือกคำที่ถ่ายทอดออกมา ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
“ในไม่ช้า วิธีหัดอ่านซึ่งไม่ใคร่เป็นคุณต่อสุขภาพนี้ก็ไม่เพียงช่วยให้ข้าพเจ้าอ่านหนังสือออกและอ่านได้รู้เรื่องอย่างดีเท่านั้น แต่ยังทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกอันแรงกล้าต่างๆ อย่างที่เด็กในวัยเดียวกันมิอาจเข้าใจได้อีกด้วย ข้าพเจ้ายังไม่ทันรับรู้เลยว่าสิ่งต่างๆ เป็นเช่นไร แต่กลับรู้จักอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ข้าพเจ้ายังคิดอะไรไม่เป็นเลย แต่กลับรู้สึกทุกอย่างได้หมด ภาวะอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นอย่างคลุมเครือในจิตใจครั้งแล้วครั้งเล่านี้มิได้กระทบกระเทือนต่อการหัดใช้ความคิดของข้าพเจ้าในเวลาต่อมาก็จริงอยู่ แต่ก็ส่งผลให้ข้าพเจ้ามีวิธีคิดที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง ทำให้ข้าพเจ้ามองชีวิตในลักษณะที่แปลกพิสดารและฟุ้งฝันไปกว่าคนปกติธรรมดา ซึ่งแม้แต่ประสบการณ์ชีวิตและการรู้คิดในภายหลังก็ไม่อาจทำให้ชีวทัศน์อันฝังใจนี้ลบเลือนไปได้เลย”
ต่อมาก็หน้าเก้า ที่เห็นถึงความหลงตัวเองแบบอ่อนๆ
“ข้าพเจ้าจะกลายเป็นคนชั่วร้ายไปได้อย่างไรกันเล่าในเมื่อได้เห็นแต่ตัวอย่างของความอ่อนโยนและมีแต่คนที่ดีงามที่สุดในโลกอยู่รอบกาย ทั้งบิดา คุณอา แม่นม ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ของพวกผู้ใหญ่และรวมไปถึงเพื่อนบ้าน ทุกคนไม่ได้ตามอกตามใจข้าพเจ้า แต่พวกเขาก็รักข้าพเจ้า และข้าพเจ้าก็รักพวกเขาเช่นเดียวกัน.....”
แล้วก็ข้ามมาที่หน้าสิบสี่ สิบหก และสิบเจ็ด ดังนี้
“....ข้าพเจ้ายอมรับว่ามีหลายครั้งเหมือนกันที่เราทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่ก็ไม่เคยถึงกับต้องให้ผู้ใหญ่มาแยกเราออกจากกัน การทะเลาะกันแต่ละครั้งจะไม่เคยนานเกินสิบห้านาที และเราก็ไม่เคยกล่าวโทษกันเองเลยแม้แต่ครั้งเดียว ใครอาจจะคิดว่าเรื่องที่ข้าพเจ้าเล่ามานี้เป็นเรื่องเหลวไหลของเด็กๆ แต่มันก็อาจจะเป็นตัวอย่างที่ยังไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน นับตั้งแต่ที่โลกนี้มีเด็กถือกำเนิดขึ้นมา
วิถีชีวิตที่บอสเซเหมาะสมกับข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสียแต่ว่าน่าจะได้อยู่ที่นั่นให้นานอีกสักหน่อยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอุปนิสัยของตนเอง อันมีความรู้สึกอ่อนโยนมีใจให้ผู้อื่น และรักสงบเป็นพื้นฐาน ข้าพเจ้าคิดว่าไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่จะมีวิสัยธรรมชาติอันขี้โอ่หลงตนได้น้อยเท่าข้าพเจ้า บางคราข้าพเจ้าอาจมีพลังบางอย่างส่งหนุนให้เกิดความรู้สึกวิเศษสูงส่ง แต่ทว่าในไม่ช้าข้าพเจ้าก็ตกกลับลงมาสู่ความเงื่องหงอยอีกครั้ง......”
“ด้วยเหตุที่มาดมัวแซลล็องแบร์ซิเยร์รักพวกเราเหมือนลูก หล่อนจึงมีอำนาจแบบมารดาเหนือพวกเราด้วย และในบางครั้งที่เห็นว่าสมควร หล่อนก็ใช้อำนาจนั้นบังคับลงโทษเราเหมือนเด็กๆ........แต่หลังจากที่ถูกตีก้นเข้าจริงๆ ข้าพเจ้ากลับพบว่าการถูกลงโทษนั้นมิได้น่าประหวั่นพรั่นพรึงอย่างที่คาดคิดไว้ และที่ประหลาดยิ่งไปกว่านั้นก็คือโทษทัณฑ์ที่ได้รับกลับทำให้ข้าพเจ้ารักใคร่หญิงผู้ลงโทษข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้นไปอีก อาศัยว่าข้าพเจ้ารักหล่อนอย่างจริงใจและวิสัยของข้าพเจ้าเป็นเด็กเรียบร้อย จึงพอจะหักห้ามใจมิให้แสวงหาโอกาสที่จะถูกลงโทษแบบเดิมด้วยการกระทำผิดอีก ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ค้นพบว่าในความเจ็บปวดและความอับอายนั้น ระคนไปด้วยความรู้สึกวาบหวามซึ่งทำให้ข้าพเจ้าปรารถนามากกว่าจะหวาดกลัวโทษที่เคยได้รับจากน้ำมือเดียวกันนั้น ด้วยเหตุว่า ในความรู้สึกดังกล่าวคงมีความตื่นตัวทางเพศอันเร็วเกินวัยเจือปนอยู่.......การเห็นแก่ผู้อื่นเป็นอำนาจฝ่ายดีในตัวข้าพเจ้า และเป็นตัวคอยกำกับบงการอารมณ์ปรารถนาในดวงใจข้าพเจ้าเสมอ แม้แต่ในกรณีที่ความเห็นแก่ผู้อื่นนั้นเกิดจากอารมณ์ใคร่ก็ตาม
ใครเลยจะคิดว่าโทษทัณฑ์ที่ได้รับเมื่อแปดขวบจากน้ำมือของหญิงวัยสามสิบจะสามารถกำหนดความชื่นชอบ ความปรารถนา ความลุ่มหลง และความเป็นตัวตนของข้าพเจ้าไปจนตลอดชีวิต.....
แม้จะล่วงพ้นวัยแตกพานไปแล้ว รสนิยมอันแปลกประหลาดที่ติดตัวมาโดยตลอดและรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความวิปริตและความคลั่งไคล้นี้ กลับทำให้ข้าพเจ้ายังคงรักษาความบริสุทธิ์ไว้ได้ ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น ในโลกนี้คงไม่มีวิธีการอบรมสั่งสอนให้รู้จักแต่ความเหมาะควรและยับยั้งชั่งใจในเรื่องรักใคร่ได้ดีไปกว่าวิธีการอบรมเลี้ยงดูในแบบที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกแล้ว.......คงไม่มีครอบครัวใดที่จะให้ความสำคัญแก่เด็กยิ่งไปกว่าครอบครัวของข้าพเจ้าอีกแล้ว........”
อีกครั้งแบบโต้งๆ ในหน้ายี่สิบเจ็ด ที่ว่า
“....ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเคยรู้สึกทะนงตนอยู่บ้างเป็นครั้งคราวเมื่อข้าพเจ้าคิดว่าตนเองเป็นอริสตีดหรือบรูตัส แต่ครั้งนี้นับเป็นหนแรกที่ความหลงตัวเองปรากฏเด่นชัดในตัวข้าพเจ้า ความสามารถในการสร้างท่อส่งน้ำด้วยมือของเราเองและการนำเอากิ่งไม้เล็กๆ ไปปลูกเทียบรัศมีกับต้นไม้ใหญ่นับเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าตนเองในวัยสิบขวบเยี่ยมยอดกว่าจูเลียส ซีซาร์ในวัยสามสิบเสียอีก”
และหน้าสามสิบหกควบสามสิบเจ็ด ก็พอจะพบร่องรอยอยู่บ้าง เช่น
“......จากเรื่องเล่นสนุกที่น่าเอ็นดู ข้าพเจ้าหันมาใฝ่ใจในเรื่องเลวทรามและต่ำช้าสามานย์อย่างที่สุดแทนโดยไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย นี่แสดงว่า ข้าพเจ้าคงมีแนวโน้มที่จะเลวร้ายอยู่ในตัว ด้วยว่าแม้จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างดีที่สุด แต่การเปลี่ยนแปลงก็ยังเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเหลือเกิน ข้าพเจ้ากลายสภาพจากซีซาร์น้อยๆ มาเป็นสุนัขเลวๆ ในเวลาเพียงชั่วพริบตา
....ธรรมชาติของข้าพเจ้าเป็นคนขี้อายและหน้าหนา ความทะลึ่งอวดดีเป็นลักษณะที่ห่างไกลตัวข้าพเจ้าที่สุด...”
จนที่สุดก็มาถึงวรรคสุดท้าย ที่ถึงแม้จะยังไม่เข้าข่ายหลงตัวเอง แต่รุสโซก็ทิ้งทวนด้วยลีลาการโปรโมทความเศร้าอันสุดซึ้งของตัว ได้อย่างน่าติดตาม (ในเล่มต่อไป)
“ทว่า ชะตาชีวิตของข้าพเจ้าที่จะเล่าให้ท่านฟังในเล่มต่อๆ ไปนั้นช่างห่างไกลจากที่กล่าวมาเหลือเกิน แต่อย่าเพิ่งให้ข้าพเจ้าด่วนเล่าถึงความทุกข์ยากนานาที่จะต้องประสบเลย เพราะรับรองว่าเมื่อถึงเวลาอันควรแล้ว ท่านจะได้รับฟังเรื่องเศร้าเหล่านั้นอย่างมากล้นจนเกินพอ”
ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เป็นการแสดงออกซึ่งอัตตาของรุสโซ ปัญญาชนคนสำคัญมากของฝรั่ง ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของฝรั่งยุคหลังเขาอย่างเหลือล้น การเข้าใจเรื่องแบบนี้ของรุสโซ ย่อมช่วยให้เราเข้าใจฝรั่งสมัยปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย
(บทแปลคำของรุสโซเป็นของ พาชื่น องค์วรรณดี โดยมี นพพร ประชากุล เป็นบรรณาธิการแปล บทแปลนี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการแปลฝรั่งเศส-ไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาจัดพิมพ์รวมกับบทแปลของ รัตนสุดา กิตติก้องนภางค์ ที่แปลจาก Les Confessions เล่มที่ 2 โดยมี ธรณินทร์ มีเพียง เป็นบรรณาธิการแปล แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “คำสารภาพ เล่มที่หนึ่งและเล่มที่สอง” โดยสำนักพิมพ์คบไฟ จัดพิมพ์เมื่อ เมษายน 2550 หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแปลที่สละสลวยมาก หากหนังสือแปลทั้งหลายทั้งปวงในตลาดหนังสือ สามารถทำได้ถึงมาตรฐานของเล่มนี้ ก็น่าจะช่วยให้คนไทยหันมาอ่านหนังสือกันอีกเป็นจำนวนมาก)
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนธันวาคม 2550
ไม่เชื่อลองหาหนังสือชีวประวัติของคนเหล่านี้มาอ่านดู ก็จะเห็นว่าสิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันคือ นิสัยแบบนี้แหละ
แต่สำหรับบางคน ก็มีเหตุผลที่พวกเขาจะเป็นแบบนั้น นั่นเพราะพวกเขา “มีดี” และตลอดช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้ชี้นำความคิดความอ่านผู้คนไว้แยะ แถมมีสาวกจำนวนมากอีกด้วย
ลองคิดดูให้ดี จะเห็นว่าคนพวกนี้มีอิทธิพลต่ออารยธรรมฝรั่งไม่น้อยเลย โดยเฉพาะช่วงหลังที่คริสจักรเสื่อมลง คนพวกนี้ก็เข้ามาทำหน้าที่แทนพระ คอยชี้นำความคิดความเชื่อของผู้คน ทั้งในแง่การดำเนินชีวิตส่วนตัว ชีวิตทางการเมือง (กติกาเวลาอยู่รวมกันเป็นหมู่มาก) ศีลธรรม จริยธรรม ตลอดจนทางด้านจิตวิญญาณ
ทุกวันนี้ นักการเมืองและนักร่างรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ยังต้องอ้างถึง Rousseau นักเศรษฐศาสตร์ นักการค้า และนักการธนาคาร ก็ยังอ้างถึง Adam Smith และ Marx หรือนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักข่าวสมัยใหม่ ยังต้องอ้างอิงถึง Tolstoy และ Hemingway เป็นต้น
เพื่อเป็นการพิสูจน์ความข้อนี้ ผมจึงลงมืออ่านหนังสือที่พวกเขาเคยเขียนถึงชีวิตหนหลังของตัวเอง เพื่อตรวจสอบดูว่า มีข้อความที่ส่อไปในทาง “หลงตัวเอง” อยู่บ้างหรือไม่ อย่างไร
ผมเริ่มที่หนังสืออัตชีวประวัติเล่มสำคัญของ ณ็อง-ณ้ากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ที่ชื่อ Les Confessions หรือ “คำสารภาพ” ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงอยุธยาตอนปลายต่อรัชการพระเจ้าตากสิน ระหว่าง พ.ศ. 2307-2313 เพราะผมคิดว่า Rousseau นั้น มีอิทธิพลต่อฝรั่งสมัยใหม่มากเหลือเกิน และความคิดทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพ ที่เขาเสนอ และสไตล์การเขียนอัตชีวประวัติแบบขุดคุ้ยลอกคราบลงไปในจิตใจเบื้องลึกนั้น เป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับปัญญาชนคนสำคัญของฝรั่งได้เดินตามในช่วงต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ใครจะปฏิเสธได้ว่า Autobiography ของ Bertrand Russell นั้น ไม่ได้รับอิทธิพลจาก Les Confessions ของ Rousseau หรือแม้แต่งานเขียนอัตชีวประวัติระดับคุณภาพคับแก้วของคนไทย อย่าง “ช่วงแห่งชีวิต” ของ ส.ศิวรักษ์ และ “ชีวิตเหมือนฝัน” ของ คุณหญิงมณี สิริวรสาร ก็น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากการอ่านงานของ Rousseau เช่นกัน
จากหนังสือ “คำสารภาพ” เล่ม 1 (แปลจาก “Les Confessions livres I”) ที่ พาชื่น องค์วรรณดี แปลมาเป็นภาษาไทยอย่างสละสลวยนั้น ผมพบว่ามีข้อความทำนอง “หลงตัวเอง” อยู่ถึง 10 แห่ง จากทั้งหมด 55 หน้ากระดาษ อันนี้ผมนับเฉพาะที่เข้าขั้น “หลงตัวเอง” แต่ถ้านับข้อความที่ “ยกยอตนเอง” “โฆษณาตัวเอง” หรือ “ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน” นั้น ก็ย่อมนับได้อีกเป็นจำนวนมาก หรือนับไปแล้วอาจถึงหนึ่งในสามของเนื้อหาด้วยซ้ำไป
อย่างตอนเริ่มเรื่อง ผู้อ่านก็ต้องเผชิญกับข้อความประเภทนี้ในทันที รุสโซประกาศว่า
“นี่คือภาพของมนุษย์ผู้หนึ่ง ซึ่งวาดขึ้นตามธาตุแท้และความเป็นจริงอย่างไม่ผิดเพี้ยน และเป็นภาพเดียวที่มีอยู่ในโลกทั้งในขณะนี้และบางทีอาจจะเป็นชั่วกาลสมัย.........ด้วยว่าหนังสือที่ไม่มีเล่มใดเหมือนนี้จะเป็นเครื่องมือเปรียบเทียบชิ้นแรกสำหรับการศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ ซึ่งจะต้องมีขึ้นในไม่ช้า....”
และในหน้าที่สอง ก็เจออีก
“ข้าพเจ้ากำลังจะกระทำสิ่งซึ่งไม่เคยมีผู้ใดได้กระทำมาก่อน และจะไม่มีผู้ใดยึดถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างในภายหน้า”
หายไปสองสามหน้าแล้วก็กลับมาในหน้าหกและเจ็ดอีกวรรคหนึ่ง และเป็นวรรคที่น่าอ่านมาก เพราะเป็นการ Observe ความคิดและจิตใจตัวเอง ตลอดจนเลือกคำที่ถ่ายทอดออกมา ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
“ในไม่ช้า วิธีหัดอ่านซึ่งไม่ใคร่เป็นคุณต่อสุขภาพนี้ก็ไม่เพียงช่วยให้ข้าพเจ้าอ่านหนังสือออกและอ่านได้รู้เรื่องอย่างดีเท่านั้น แต่ยังทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกอันแรงกล้าต่างๆ อย่างที่เด็กในวัยเดียวกันมิอาจเข้าใจได้อีกด้วย ข้าพเจ้ายังไม่ทันรับรู้เลยว่าสิ่งต่างๆ เป็นเช่นไร แต่กลับรู้จักอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ข้าพเจ้ายังคิดอะไรไม่เป็นเลย แต่กลับรู้สึกทุกอย่างได้หมด ภาวะอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นอย่างคลุมเครือในจิตใจครั้งแล้วครั้งเล่านี้มิได้กระทบกระเทือนต่อการหัดใช้ความคิดของข้าพเจ้าในเวลาต่อมาก็จริงอยู่ แต่ก็ส่งผลให้ข้าพเจ้ามีวิธีคิดที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง ทำให้ข้าพเจ้ามองชีวิตในลักษณะที่แปลกพิสดารและฟุ้งฝันไปกว่าคนปกติธรรมดา ซึ่งแม้แต่ประสบการณ์ชีวิตและการรู้คิดในภายหลังก็ไม่อาจทำให้ชีวทัศน์อันฝังใจนี้ลบเลือนไปได้เลย”
ต่อมาก็หน้าเก้า ที่เห็นถึงความหลงตัวเองแบบอ่อนๆ
“ข้าพเจ้าจะกลายเป็นคนชั่วร้ายไปได้อย่างไรกันเล่าในเมื่อได้เห็นแต่ตัวอย่างของความอ่อนโยนและมีแต่คนที่ดีงามที่สุดในโลกอยู่รอบกาย ทั้งบิดา คุณอา แม่นม ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ของพวกผู้ใหญ่และรวมไปถึงเพื่อนบ้าน ทุกคนไม่ได้ตามอกตามใจข้าพเจ้า แต่พวกเขาก็รักข้าพเจ้า และข้าพเจ้าก็รักพวกเขาเช่นเดียวกัน.....”
แล้วก็ข้ามมาที่หน้าสิบสี่ สิบหก และสิบเจ็ด ดังนี้
“....ข้าพเจ้ายอมรับว่ามีหลายครั้งเหมือนกันที่เราทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่ก็ไม่เคยถึงกับต้องให้ผู้ใหญ่มาแยกเราออกจากกัน การทะเลาะกันแต่ละครั้งจะไม่เคยนานเกินสิบห้านาที และเราก็ไม่เคยกล่าวโทษกันเองเลยแม้แต่ครั้งเดียว ใครอาจจะคิดว่าเรื่องที่ข้าพเจ้าเล่ามานี้เป็นเรื่องเหลวไหลของเด็กๆ แต่มันก็อาจจะเป็นตัวอย่างที่ยังไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน นับตั้งแต่ที่โลกนี้มีเด็กถือกำเนิดขึ้นมา
วิถีชีวิตที่บอสเซเหมาะสมกับข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสียแต่ว่าน่าจะได้อยู่ที่นั่นให้นานอีกสักหน่อยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอุปนิสัยของตนเอง อันมีความรู้สึกอ่อนโยนมีใจให้ผู้อื่น และรักสงบเป็นพื้นฐาน ข้าพเจ้าคิดว่าไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่จะมีวิสัยธรรมชาติอันขี้โอ่หลงตนได้น้อยเท่าข้าพเจ้า บางคราข้าพเจ้าอาจมีพลังบางอย่างส่งหนุนให้เกิดความรู้สึกวิเศษสูงส่ง แต่ทว่าในไม่ช้าข้าพเจ้าก็ตกกลับลงมาสู่ความเงื่องหงอยอีกครั้ง......”
“ด้วยเหตุที่มาดมัวแซลล็องแบร์ซิเยร์รักพวกเราเหมือนลูก หล่อนจึงมีอำนาจแบบมารดาเหนือพวกเราด้วย และในบางครั้งที่เห็นว่าสมควร หล่อนก็ใช้อำนาจนั้นบังคับลงโทษเราเหมือนเด็กๆ........แต่หลังจากที่ถูกตีก้นเข้าจริงๆ ข้าพเจ้ากลับพบว่าการถูกลงโทษนั้นมิได้น่าประหวั่นพรั่นพรึงอย่างที่คาดคิดไว้ และที่ประหลาดยิ่งไปกว่านั้นก็คือโทษทัณฑ์ที่ได้รับกลับทำให้ข้าพเจ้ารักใคร่หญิงผู้ลงโทษข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้นไปอีก อาศัยว่าข้าพเจ้ารักหล่อนอย่างจริงใจและวิสัยของข้าพเจ้าเป็นเด็กเรียบร้อย จึงพอจะหักห้ามใจมิให้แสวงหาโอกาสที่จะถูกลงโทษแบบเดิมด้วยการกระทำผิดอีก ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ค้นพบว่าในความเจ็บปวดและความอับอายนั้น ระคนไปด้วยความรู้สึกวาบหวามซึ่งทำให้ข้าพเจ้าปรารถนามากกว่าจะหวาดกลัวโทษที่เคยได้รับจากน้ำมือเดียวกันนั้น ด้วยเหตุว่า ในความรู้สึกดังกล่าวคงมีความตื่นตัวทางเพศอันเร็วเกินวัยเจือปนอยู่.......การเห็นแก่ผู้อื่นเป็นอำนาจฝ่ายดีในตัวข้าพเจ้า และเป็นตัวคอยกำกับบงการอารมณ์ปรารถนาในดวงใจข้าพเจ้าเสมอ แม้แต่ในกรณีที่ความเห็นแก่ผู้อื่นนั้นเกิดจากอารมณ์ใคร่ก็ตาม
ใครเลยจะคิดว่าโทษทัณฑ์ที่ได้รับเมื่อแปดขวบจากน้ำมือของหญิงวัยสามสิบจะสามารถกำหนดความชื่นชอบ ความปรารถนา ความลุ่มหลง และความเป็นตัวตนของข้าพเจ้าไปจนตลอดชีวิต.....
แม้จะล่วงพ้นวัยแตกพานไปแล้ว รสนิยมอันแปลกประหลาดที่ติดตัวมาโดยตลอดและรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความวิปริตและความคลั่งไคล้นี้ กลับทำให้ข้าพเจ้ายังคงรักษาความบริสุทธิ์ไว้ได้ ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น ในโลกนี้คงไม่มีวิธีการอบรมสั่งสอนให้รู้จักแต่ความเหมาะควรและยับยั้งชั่งใจในเรื่องรักใคร่ได้ดีไปกว่าวิธีการอบรมเลี้ยงดูในแบบที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกแล้ว.......คงไม่มีครอบครัวใดที่จะให้ความสำคัญแก่เด็กยิ่งไปกว่าครอบครัวของข้าพเจ้าอีกแล้ว........”
อีกครั้งแบบโต้งๆ ในหน้ายี่สิบเจ็ด ที่ว่า
“....ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเคยรู้สึกทะนงตนอยู่บ้างเป็นครั้งคราวเมื่อข้าพเจ้าคิดว่าตนเองเป็นอริสตีดหรือบรูตัส แต่ครั้งนี้นับเป็นหนแรกที่ความหลงตัวเองปรากฏเด่นชัดในตัวข้าพเจ้า ความสามารถในการสร้างท่อส่งน้ำด้วยมือของเราเองและการนำเอากิ่งไม้เล็กๆ ไปปลูกเทียบรัศมีกับต้นไม้ใหญ่นับเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าตนเองในวัยสิบขวบเยี่ยมยอดกว่าจูเลียส ซีซาร์ในวัยสามสิบเสียอีก”
และหน้าสามสิบหกควบสามสิบเจ็ด ก็พอจะพบร่องรอยอยู่บ้าง เช่น
“......จากเรื่องเล่นสนุกที่น่าเอ็นดู ข้าพเจ้าหันมาใฝ่ใจในเรื่องเลวทรามและต่ำช้าสามานย์อย่างที่สุดแทนโดยไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย นี่แสดงว่า ข้าพเจ้าคงมีแนวโน้มที่จะเลวร้ายอยู่ในตัว ด้วยว่าแม้จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างดีที่สุด แต่การเปลี่ยนแปลงก็ยังเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเหลือเกิน ข้าพเจ้ากลายสภาพจากซีซาร์น้อยๆ มาเป็นสุนัขเลวๆ ในเวลาเพียงชั่วพริบตา
....ธรรมชาติของข้าพเจ้าเป็นคนขี้อายและหน้าหนา ความทะลึ่งอวดดีเป็นลักษณะที่ห่างไกลตัวข้าพเจ้าที่สุด...”
จนที่สุดก็มาถึงวรรคสุดท้าย ที่ถึงแม้จะยังไม่เข้าข่ายหลงตัวเอง แต่รุสโซก็ทิ้งทวนด้วยลีลาการโปรโมทความเศร้าอันสุดซึ้งของตัว ได้อย่างน่าติดตาม (ในเล่มต่อไป)
“ทว่า ชะตาชีวิตของข้าพเจ้าที่จะเล่าให้ท่านฟังในเล่มต่อๆ ไปนั้นช่างห่างไกลจากที่กล่าวมาเหลือเกิน แต่อย่าเพิ่งให้ข้าพเจ้าด่วนเล่าถึงความทุกข์ยากนานาที่จะต้องประสบเลย เพราะรับรองว่าเมื่อถึงเวลาอันควรแล้ว ท่านจะได้รับฟังเรื่องเศร้าเหล่านั้นอย่างมากล้นจนเกินพอ”
ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เป็นการแสดงออกซึ่งอัตตาของรุสโซ ปัญญาชนคนสำคัญมากของฝรั่ง ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของฝรั่งยุคหลังเขาอย่างเหลือล้น การเข้าใจเรื่องแบบนี้ของรุสโซ ย่อมช่วยให้เราเข้าใจฝรั่งสมัยปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย
(บทแปลคำของรุสโซเป็นของ พาชื่น องค์วรรณดี โดยมี นพพร ประชากุล เป็นบรรณาธิการแปล บทแปลนี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการแปลฝรั่งเศส-ไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาจัดพิมพ์รวมกับบทแปลของ รัตนสุดา กิตติก้องนภางค์ ที่แปลจาก Les Confessions เล่มที่ 2 โดยมี ธรณินทร์ มีเพียง เป็นบรรณาธิการแปล แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “คำสารภาพ เล่มที่หนึ่งและเล่มที่สอง” โดยสำนักพิมพ์คบไฟ จัดพิมพ์เมื่อ เมษายน 2550 หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแปลที่สละสลวยมาก หากหนังสือแปลทั้งหลายทั้งปวงในตลาดหนังสือ สามารถทำได้ถึงมาตรฐานของเล่มนี้ ก็น่าจะช่วยให้คนไทยหันมาอ่านหนังสือกันอีกเป็นจำนวนมาก)
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนธันวาคม 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น