พบกับ The Final Exit อีกครั้งครับท่านผู้อ่าน หลังจากห่างหายกันไป เราเขียนคอลัมน์แบบนี้เพราะเรามองว่า ชีวิตมนุษย์กับวงจรชีวิตของธุรกิจนั้น เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือดำเนินไปสู่ความสูญสลาย หรือ Entropy แม้จะยิ่งใหญ่ มีชื่อเสียง เกียรติคุณสักเพียงใด ก็ต้องจากไปสักวันหนึ่ง
นิตยสาร MBA ของเรา เคยวิเคราะห์และรายงานถึงการจากไปขององค์กรธุรกิจมามากต่อมาก เราเลยอยากจะทยอยรายงานวาระสุดท้ายของผู้คนกันบ้าง โดยเฉพาะบุคคลสำคัญๆ ที่เรารู้จักกันดี เพราะความรู้เรื่องการจากไปของบุคคลสำคัญ น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่ยังอยู่ ให้ได้เกิดอนุสสติ ถึงการครองชีวิตที่ยังเหลือ อีกทั้งยังสามารถสังเกตเห็นร่องรอยที่คนเหล่านั้น ต้องการทิ้งไว้ ให้คนรุ่นหลังพูดถึงพวกเขาว่าอย่างไร หรือในบางกรณี ก็อาจถึงขั้นหมายใจให้กระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ในเรื่องที่พวกเขาคาดหวังให้เกิด หรือไม่เกิดขึ้น หลังจากที่เขาจากไปด้วย (End-Game Strategies)
ตั้งแต่เริ่มเขียน เราได้นำเสนอมาแล้วทั้งเรื่อง “วาระสุดท้ายของโสกราตีส” และ “พระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” และ “The Death of Napolean” ทั้งหมดล้วนเกิดจากการค้นคว้าและตีความวาระสุดท้ายของท่านนั้นๆ อย่างละเอียดเท่าที่จะหาหลักฐานอ้างอิงได้ นับเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับพวกเรามาก ที่จะต้องค้นคว้าเอกสารจำนวนมากเพื่อประกอบการเขียนบทความเพียงแค่ 3-5 หน้าเท่านั้น
ทว่า ความชื่นชม ยกย่อง ให้กำลังใจ จากท่านผู้อ่าน และกัลยาณมิตรผู้หวังดี ที่มีมาถึงเราอย่างไม่ขาดสาย เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ยิ่งทำให้เราต้องเพิ่มความมุ่งมั่น และขยันขันแข็งขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ทั้งในแง่การขยายขอบเขตของการแสวงหาข้อมูล และการครุ่นคิดตีความ เพื่อนำเสนอเรื่องราวของคนใหม่ๆ และมุมมองใหม่ๆ ที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เมื่อท่าน “ได้รู้”
แน่นอน บทความแบบนี้ ยังไม่เคยมีใครทำอย่างเป็นจริงเป็นจังมาก่อนในภาคภาษาไทย
ฉบับนี้ เราเลือกเรื่องของ Sir Walter Raleigh เพราะเห็นว่าเดี๋ยวนี้ เรื่องราวของอังกฤษในช่วงที่ปกครองโดยราชวงศ์ Tudor ต่อด้วยราชวงศ์ Stuart กำลังได้รับความสนใจและนิยมในหมู่ชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ทั่วโลก สังเกตจากภาพยนตร์ Hollywood หลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ทั้ง Shakespeare in Love, Elizabeth (ที่สร้างถึงสองภาค), และ Other Boleyn Girl หรือแม้กระทั่งในเมืองไทยที่กำลังเป็นเรื่องเป็นราวกล่าวหาว่ารัฐมนตรีบางคนสนับสนุนให้เผยแพร่สารคดีชุด “ปฏิวัติฝรั่งเศส” (The French Revolution) และกรณี “สงครามกลางเมืองอังกฤษ” (The English Civil War) ที่จบลงด้วยการสำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชวงศ์ Stuart แล้วก็ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐอยู่ถึง 11 ปี
อันที่จริง ยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 16 ต่อ 17 เป็นยุคของความขัดแย้งทางศาสนาและสงครามศาสนา ระหว่างคาทอลิกและโปรแทสแตนส์ ทั้งสงครามเย็นและสงครามร้อน ตลอดจนสงครามกลางเมือง ทั้งผู้ยิ่งใหญ่และไม่ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น ถูกสำเร็จโทษและประหารชีวิตกันมาก มันเป็นยุคของ “State Murder” ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ค่อนข้างน่ากลัว น่าขนลุกขนพอง น่าสยดสยอง และน่าอนาถ ที่ผู้คนต้องมาล้มตายเพราะ “ความคิดเห็น” ที่ต่างกัน เป็นจำนวนมากมายขนาดนั้น
สัญลักษณ์ของความสยดสยองของยุคนั้นในอังกฤษก็คือ “หอคอยแห่งลอนดอน” (Tower of London) และวิธีประหารชีวิตอันโหดเหี้ยม ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการประหาร ที่รวมถึง ขวาน ดาบ มีด เคียว สำหรับควักไส้ หรือสำหรับฉีกกระชากร่างออกเป็นส่วนๆ ฯลฯ การประหารชีวิตส่วนใหญ่ทำอย่างเปิดเผย เป็นโชว์แบบหนึ่ง ต่อหน้าฝูงชนที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่างซึ่งต้องการความสะใจ ทั้งการแขวนคอ ตัดหัว เผาทั้งเป็น เพื่อทรมานให้ผู้ถูกประหารสามารถสูดกลิ่นเนื้อไหม้ของตัวเองได้ขณะที่ยังไม่สิ้นใจ ตลอดจนการฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ แล้วนำชิ้นส่วนเหล่านั้นไปประจานไว้ตามที่สาธารณะต่างๆ เป็นต้น
Shakespeare กวีเอกซึ่งมีชีวิตร่วมสมัยนั้น ถ่ายทอดเรื่องราวในวัยเด็กของชนชั้นสูงอังกฤษยุคนั้น ไว้โดยผ่านชีวิตของเจ้าชาย Hamlet ในบทละครเรื่อง Hamlet ของเขาว่า
Of carnal, bloody and unnatural acts,
Of accidental judgments, casual slaughters,
Of deaths put on by cunning and forced cause…….
นั่นเพราะชนชั้นสูงส่วนใหญ่ที่พวกเขาและเธอเคยรู้จักมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ล้วนถูกประหาร หรือไม่ก็มีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งด้วย “ราชภัย” และภัยทางการเมืองต่างๆ นาๆ เชื่อกันว่า Shakespeare แต่งบทนี้ เพราะได้แรงบันดาลใจจากชีวิตในวัยเด็กของพระนางเจ้าอลิซาเบธ นั่นเอง
ใครที่เคยไปเยี่ยมชมหอคอยแห่งลอนดอน คงทราบเรื่องราวของความสยดสยองเหล่านี้ ดีอยู่แล้ว
Sir Walter Raleigh ก็เคยถูกจองจำในหอคอยแห่งนั้นมาก่อน เช่นเดียวกับ Elizabeth Tudor ราชินีในอนาคตซึ่งเป็นผู้ชุบชีวิตและสนับสนุนเขาให้ได้ “เกิด” และมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา
Sir Walter Raleigh เป็นทั้งกวี นักเขียน ข้าราชสำนัก นักรบ นักผจญภัย เผชิญโชค โจรสลัด และนักล่าอาณานิคม เขาเป็นชนชั้นนำของอังกฤษรุ่นบุกเบิกที่ร่วมสร้างตำนานของ “British Empire” ทั้งนี้โดยการปล้นสดมภ์กองเรือสเปนและตีชิงที่มั่นสำคัญของสเปนใน “โลกใหม่” สมัยนั้นสเปนยังเป็นประเทศมหาอำนาจผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกเหมือนกับอเมริกาในสมัยนี้ ถ้าดูในภาพยนตร์เรื่อง “Elizabeth ภาค 2” จะเห็นว่าเขามีบทบาทอย่างมากในการเอาชนะกองเรืองสเปนในยุทธการที่เรียกว่า “Spanish Armada” อันโด่งดัง ทว่า ในความเป็นจริงแล้ว นักประวัติศาสตร์อังกฤษยังคงถกเถียงกันมากต่อบทบาทในช่วงนั้นของเขา
Sir Walter Raleigh เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าแห่งเมือง Devonshire ทว่ายากจนลงในยุคที่เขาเกิด เขาอ่อนกว่าพระนางเจ้าอลิซาเบธ 30 ปี ลืมตาดูโลกเมื่อปี 1544 ตรงกับสมัยที่แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์กุมอำนาจสูงสุดอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เขาไปรบตั้งแต่อายุ 15 แล้วเข้าเรียนที่วิทยาลัย Oriel หรือ King’s College แห่งมหาวิทยาลัย Oxford แล้วต่อเนติบัณฑิตที่สำนัก Middle Temple สำนักเดียวกับอดีตประธานองคมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ และนักคิดนักเขียนรุ่นใหญ่ สุลักษณ์ ศิวรักษ์
เขาท่องโลกทางทะเล ปล้นสะดมเรือสเปน ปราบกบฏในไอร์แลนด์ และบุกเบิกทำเกษตรกรรมในแถบ Roanoke ในอาณานิคมใหม่อเมริกา แล้วเขาก็ตั้งชื่อให้ดินแดนนั้นว่า “Virginia” (ปัจจุบันคือรัฐ Virginia ในสหรัฐอเมริกา) เพื่อเป็นเกียรติ์กับราชินีพรหมจรรย์ของอังกฤษ เรื่องเล่าที่เขาเอาเสื้อนอกวางทับโคลนไว้เพื่อให้พระราชินีเดินย่ำไปนั้น (มีฉากนี้ในหนังด้วย) เป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และการที่เขาเป็นคนสูงโปร่ง สมาร์ต หล่อเหลา และพูดจาฉะฉาน เล่าเรื่องเก่ง ทั้งมีความเป็นปัญญาชนในตัว ขณะเดียวกันก็มีบุคลิกโลดโผนดังนักรบ พระราชินีจึงโปรดเขา
พระราชินีทรงไถ่ถามประสบการณ์จากเขามากมาย พระนางทรงโปรดให้เขาเล่าเรื่องราวผจญภัยต่างๆ ในโลกใหม่ที่เขาเผชิญมา เขาเล่าอย่างได้น่าสนใจและน่าตื่นเต้น และไม่เบื่อที่จะตอบคำถามทุกคำถามของพระนาง เขาเป็นคนนำยาสูบและมันฝรั่งจากอเมริกามาเผยแพร่ในราชสำนักอังกฤษ และเขาต้องการให้พระนางสนับสนุนเขาในเชิงการล่าอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้อำนาจสิทธิขาดเขาปกครองโลกใหม่หรืออเมริกา และทั้งๆ ที่ข้าราชการระดับสูงในรัฐบาลของพระนางสนับสนุนเขาในเรื่องการสร้างจักรวรรดิอังกฤษ ทว่าพระนางก็หาได้สนับสนุนเขาอย่างจริงจังไม่ นั่นอาจเป็นเพราะพระนางเกรงว่าความกระทบกระทั่งกับสเปนจะรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้เขียนชีวประวัติของเขาส่วนใหญ่ล้วนลงความเห็นว่า หากพระนางทรงสนับสนุนเขาในเรื่องอเมริกา ก็อาจทำให้ประวัติศาสตร์ของอเมริกาพลิกผันไปจากเดิม เพระอังกฤษจะเอาใจใส่อเมริกามากขึ้น (ไม่ใช่อินเดียในตอนหลัง และเขาก็จะเป็นเสมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาณานิคมคนแรก) และอเมริกาก็จะพัฒนาหรือเจริญขึ้นก่อนที่ควรจะเป็น ส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษรุ่งเรืองและเป็นปึกแผ่นก่อนที่ควรจะเป็นอีกด้วย
พระนางทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าหน่วยทหารราชองค์รักษ์ ซึ่งมีเกียรติและราชสำนักยุโรปพากันเอาอย่าง แต่ก็ทรงกริ้วมากเมื่อเขาแอบแต่งงานกับ Elizabeth Throckmorton นางสนมคนหนึ่งของพระนาง (Ladies-in-waiting) โดยไม่ได้ทรงอนุญาต พระนางจึงส่งพวกเขาไปกักขังที่ “หอคอย” ทว่าไม่นาน พระนางก็ทรงให้อภัยโทษ แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้ให้ความสนิทสนมและไว้วางพระราชหฤทัยดังเดิม แม้กระนั้นเขาก็ยังคงร่ำรวยจนกระทั่งเสียชีวิต
เมื่อสิ้นพระนางเจ้าอลิซาเบธ กษัตริย์ James I แห่งราชวงศ์ Stuart ขึ้นครองราชย์ ไม่นาน Raleigh ก็ถูกจับกุมในข้อหาสมคบคิดเป็นกบฏ ตอนแรกเขาถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ก็ลดโทษให้เหลือแค่จำคุกตลอดชีวิต เขาถูกกักบริเวณอยู่ใน Tower of London นานถึง 12 ปี แรกๆ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ต่อมาก็ทำใจได้ เขาใช้เวลาเขียนหนังสือเล่มสำคัญของเขา History of the World ในช่วงนี้เอง เขากุเรื่อง “มนุษย์ทองคำ” หรือ “El Dorado” ขึ้น และขอให้กษัตริย์ปล่อยเขา เพื่อให้เขาไปตามล่าหาขุมทองคำ ตามลำน้ำ Orinoco ซึ่งปัจจุบันคือประเทศ Venezuela ทว่าบัดนั้นยังอยู่ใต้อิทธิพลของสเปนอย่างแข็งแรง
กษัตริย์ทรงเชื่อเขา และก็สนับสนุนตามคำขอของเขา ภายใต้ข้อแม้ว่าเขาต้องหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองกำลังสเปน ปฏิบัติการณ์ครั้งนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เขาไม่พบทองคำ แต่ได้เข้าประจัญบานกับกองเรือสเปนแทน ลูกชายคนหนึ่งของเขาเสียชีวิตในการรบครั้งนั้น เขากลับมาอย่างคนหมดอาลัยตายอยาก เพื่อเผชิญกับโทษทัณฑ์อย่างกล้าหาญ และด้วยความเกรงใจสเปนของรัฐบาลกษัตริย์ขณะนั้น เขาเลยถูกตัดสินให้ประหารชีวิต
วาระสุดท้ายของเขาถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดในเอกสารภาษาอังกฤษ ทั้งเอกสารทางราชการและบันทึกส่วนตัวของผู้ร่วมในเหตุการณ์ครั้งนั้น ตั้งแต่คืนก่อนประหารที่เขาถูกควบคุมตัวไว้ที่ Westminster แล้วก็ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกงที่ Palace Yard ในเช้าวันรุ่งขึ้น วันนั้นเขามีจิตใจปลอดโปร่ง และว่าตายบนลานประหารยังดีเสียกว่าตายเพราะพิษไข้ เขายังว่าอีกว่าเขาไม่กลัวที่จะต้องไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะต้องยกโทษให้เขาต่อบาปที่เขาเคยกระทำมา เขากินอาหารเช้ามื้อนั้นด้วยความร่าเริง แล้วก็สูบยาเส้นจากไปป์
เช้าวันที่ 29 ตุลาคม ปี 1618 ลานประหารเนืองแน่นไปด้วยผู้คน จนเขาเองยังต้องกระเสือกกระสนฝ่าฝูงชนเพื่อไปสู่ตะแลงแกง ชายคนหนึ่งส่งแก้วไวน์สเปน (Sack wine) ให้เขาดื่ม เขาดื่มรวดเดียว แล้วพูดอย่างเย้ยหยันแกมตลกว่า “It is a good drink, if a man might tarry by it.” เมื่ออยู่บนตะแลงแกง เขาทำความเคารพทุกคนที่เขารู้จัก ทั้งเพื่อนและศัตรู และเขายังกล่าวสุนทรพจน์อีกค่อนข้างยาว แล้วก็นั่งลงสวดมนตร์ เมื่อลุกขึ้นเขาถอดหมวกโยนให้ฝูงชนพร้อมกับเงินที่เขามีอยู่ทั้งหมด เขาจับมือกับเพชฌฆาตและเจ้าหน้าที่ทุกคนบนตะแลงแกง แล้วเข้าสวมกอด Lord Arundel เพื่อนของเขา และกล่าวกับเพื่อนว่า “I have a long journey to go, and therefore I take my leave.”
เขาขอให้เพชฌฆาตนำขวานมาให้เขาดูใกล้ๆ เขาเอาหัวแม่มือลูบคมมันดู แล้วก็พูดขึ้นว่า “This is a sharp medicine but it is a physician for all diseases.” ประโยคสุดท้ายที่เขาเปล่งออกจากปากได้คือ “Strike, man, strike!”
ศีรษะของเขาหลุดจากบ่าหลังจากเพชฌฆาตต้องลงขวานถึงสองครั้งสองครา ริมฝีปากเขายังขยับได้ หัวหน้าเจ้าพนักงานขย้ำเอาเส้นผมแล้วชูศีรษะของเขาขึ้นเพื่อให้เห็นได้ทั่วกัน และตามธรรมเนียมเขาจะต้องตะโกนว่า “Behold the head of a traitor.” แต่นี่เขามิได้กระทำ
เสียง “อือ” อื้ออึงขึ้นในหมู่ฝูงชนด้วยความไม่พอใจ และมีเสียงกล่าวขึ้นมาว่า “We have never had such a head cut off.”
การตายของเขานำมาซึ่งความไม่พอใจของขุนนางและประชาชนอังกฤษบางส่วนต่อกษัตริย์ หาว่ากษัตริย์ใจแคบและโหดร้ายเกินไป ชนชั้นสูงบางคนที่อยู่ในหมู่ฝูงชนวันนั้นด้วย ต่อมาก็ได้กลายมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ คนสำคัญที่เป็นหัวหอกต่อต้านราชวงศ์ Stuart อย่างเช่น John Pym และบางคนก็กลับกลายจากการเป็นกษัตริย์นิยม ไปเป็นพวกเกลียดกษัตริย์ อย่าง Sir John Eliot เป็นต้น
หลังจาก Raleigh ตายได้เกือบ 24 ปี (และหลังจากพระนางเจ้าอาลิซาเบธเสด็จสวรรคตได้ 39 ปี) ประเทศอังกฤษก็ลุกเป็นไฟ เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายกษัตริย์กับฝ่ายรัฐสภา ที่เรียกว่า “The English Civil War” แล้วก็จบลงโดยฝ่ายกษัตริย์พ่ายแพ้ และถูกสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1649 หลังจากนั้นประเทศอังกฤษก็ถูกปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐภายใต้การกุมอำนาจสูงสุดของผู้บัญชาการกองกำลังปฏิวัติ Oliver Cromwell (และต่อมาก็ลูกชายเขา) เป็นเวลาถึง 11 ปี (เราคงต้องมาหาคำตอบกันในโอกาสต่อไปว่าทำไม Cromwell ถึงไม่ยอมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แล้วตั้งราชวงศ์ใหม่ของตัวเอง เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงกระทำ)
แม้การตายของ Raleigh จะส่งให้เขากลายเป็นวีระบุรุษ ทว่า ชีวิตของเขาก็น่าศึกษา แม้เขาจะมีความสามารถหลากหลายและมีข้อดีหลายอย่าง แต่นิสัยมั่นใจในตัวเองจนเกินเหตุของเขา ก็ทำให้เขา “ล้ำเส้น” อยู่บ่อยๆ เท่ากับเป็นการเพาะศัตรูโดยไม่รู้ตัว นิสัยเสียอีกอันหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนสำคัญของเขา และทำให้เขาต้องตาย ก็คือ “ความขี้โอ่” หรือ “ขี้โม้” นั่นเอง เมื่อไม่มีพระราชินีคอยปกป้องเขา นิสัยพวกนั้นของเขาก็กลับมาทิ่มแทงเขา ให้ต้องประสบชะตากรรมอย่างที่กล่าวมา
ทว่า การเผชิญความตายอย่างกล้าหาญ สุขุม เยือกเย็น มีสติ และการแสดงตัวต่อฝูงชน ณ ลานประหารในเช้าวันนั้น นับเป็น “Showmanship” ที่ทำให้เขากลายเป็นตำนาน จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การตายแบบนั้น นับเป็น End-game Strategy ที่เหนือชั้นเป็นอย่างยิ่ง
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
พฤศภาคม 2551
**คลิกอ่านบทความชุด Final Exit บางอันที่น่าสนใจของผมได้ตามลิงก์ข้างล่าง
1. พระราชพินัยกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
2. วาระสุดท้ายของนโปเลียน
3. ศรีปราชญ์ ยักษ์ใหญ่ที่ไร้ตัวตน
นิตยสาร MBA ของเรา เคยวิเคราะห์และรายงานถึงการจากไปขององค์กรธุรกิจมามากต่อมาก เราเลยอยากจะทยอยรายงานวาระสุดท้ายของผู้คนกันบ้าง โดยเฉพาะบุคคลสำคัญๆ ที่เรารู้จักกันดี เพราะความรู้เรื่องการจากไปของบุคคลสำคัญ น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่ยังอยู่ ให้ได้เกิดอนุสสติ ถึงการครองชีวิตที่ยังเหลือ อีกทั้งยังสามารถสังเกตเห็นร่องรอยที่คนเหล่านั้น ต้องการทิ้งไว้ ให้คนรุ่นหลังพูดถึงพวกเขาว่าอย่างไร หรือในบางกรณี ก็อาจถึงขั้นหมายใจให้กระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ในเรื่องที่พวกเขาคาดหวังให้เกิด หรือไม่เกิดขึ้น หลังจากที่เขาจากไปด้วย (End-Game Strategies)
ตั้งแต่เริ่มเขียน เราได้นำเสนอมาแล้วทั้งเรื่อง “วาระสุดท้ายของโสกราตีส” และ “พระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” และ “The Death of Napolean” ทั้งหมดล้วนเกิดจากการค้นคว้าและตีความวาระสุดท้ายของท่านนั้นๆ อย่างละเอียดเท่าที่จะหาหลักฐานอ้างอิงได้ นับเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับพวกเรามาก ที่จะต้องค้นคว้าเอกสารจำนวนมากเพื่อประกอบการเขียนบทความเพียงแค่ 3-5 หน้าเท่านั้น
ทว่า ความชื่นชม ยกย่อง ให้กำลังใจ จากท่านผู้อ่าน และกัลยาณมิตรผู้หวังดี ที่มีมาถึงเราอย่างไม่ขาดสาย เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ยิ่งทำให้เราต้องเพิ่มความมุ่งมั่น และขยันขันแข็งขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ทั้งในแง่การขยายขอบเขตของการแสวงหาข้อมูล และการครุ่นคิดตีความ เพื่อนำเสนอเรื่องราวของคนใหม่ๆ และมุมมองใหม่ๆ ที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เมื่อท่าน “ได้รู้”
แน่นอน บทความแบบนี้ ยังไม่เคยมีใครทำอย่างเป็นจริงเป็นจังมาก่อนในภาคภาษาไทย
ฉบับนี้ เราเลือกเรื่องของ Sir Walter Raleigh เพราะเห็นว่าเดี๋ยวนี้ เรื่องราวของอังกฤษในช่วงที่ปกครองโดยราชวงศ์ Tudor ต่อด้วยราชวงศ์ Stuart กำลังได้รับความสนใจและนิยมในหมู่ชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ทั่วโลก สังเกตจากภาพยนตร์ Hollywood หลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ทั้ง Shakespeare in Love, Elizabeth (ที่สร้างถึงสองภาค), และ Other Boleyn Girl หรือแม้กระทั่งในเมืองไทยที่กำลังเป็นเรื่องเป็นราวกล่าวหาว่ารัฐมนตรีบางคนสนับสนุนให้เผยแพร่สารคดีชุด “ปฏิวัติฝรั่งเศส” (The French Revolution) และกรณี “สงครามกลางเมืองอังกฤษ” (The English Civil War) ที่จบลงด้วยการสำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชวงศ์ Stuart แล้วก็ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐอยู่ถึง 11 ปี
อันที่จริง ยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 16 ต่อ 17 เป็นยุคของความขัดแย้งทางศาสนาและสงครามศาสนา ระหว่างคาทอลิกและโปรแทสแตนส์ ทั้งสงครามเย็นและสงครามร้อน ตลอดจนสงครามกลางเมือง ทั้งผู้ยิ่งใหญ่และไม่ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น ถูกสำเร็จโทษและประหารชีวิตกันมาก มันเป็นยุคของ “State Murder” ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ค่อนข้างน่ากลัว น่าขนลุกขนพอง น่าสยดสยอง และน่าอนาถ ที่ผู้คนต้องมาล้มตายเพราะ “ความคิดเห็น” ที่ต่างกัน เป็นจำนวนมากมายขนาดนั้น
สัญลักษณ์ของความสยดสยองของยุคนั้นในอังกฤษก็คือ “หอคอยแห่งลอนดอน” (Tower of London) และวิธีประหารชีวิตอันโหดเหี้ยม ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการประหาร ที่รวมถึง ขวาน ดาบ มีด เคียว สำหรับควักไส้ หรือสำหรับฉีกกระชากร่างออกเป็นส่วนๆ ฯลฯ การประหารชีวิตส่วนใหญ่ทำอย่างเปิดเผย เป็นโชว์แบบหนึ่ง ต่อหน้าฝูงชนที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่างซึ่งต้องการความสะใจ ทั้งการแขวนคอ ตัดหัว เผาทั้งเป็น เพื่อทรมานให้ผู้ถูกประหารสามารถสูดกลิ่นเนื้อไหม้ของตัวเองได้ขณะที่ยังไม่สิ้นใจ ตลอดจนการฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ แล้วนำชิ้นส่วนเหล่านั้นไปประจานไว้ตามที่สาธารณะต่างๆ เป็นต้น
Shakespeare กวีเอกซึ่งมีชีวิตร่วมสมัยนั้น ถ่ายทอดเรื่องราวในวัยเด็กของชนชั้นสูงอังกฤษยุคนั้น ไว้โดยผ่านชีวิตของเจ้าชาย Hamlet ในบทละครเรื่อง Hamlet ของเขาว่า
Of carnal, bloody and unnatural acts,
Of accidental judgments, casual slaughters,
Of deaths put on by cunning and forced cause…….
นั่นเพราะชนชั้นสูงส่วนใหญ่ที่พวกเขาและเธอเคยรู้จักมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ล้วนถูกประหาร หรือไม่ก็มีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งด้วย “ราชภัย” และภัยทางการเมืองต่างๆ นาๆ เชื่อกันว่า Shakespeare แต่งบทนี้ เพราะได้แรงบันดาลใจจากชีวิตในวัยเด็กของพระนางเจ้าอลิซาเบธ นั่นเอง
ใครที่เคยไปเยี่ยมชมหอคอยแห่งลอนดอน คงทราบเรื่องราวของความสยดสยองเหล่านี้ ดีอยู่แล้ว
Sir Walter Raleigh ก็เคยถูกจองจำในหอคอยแห่งนั้นมาก่อน เช่นเดียวกับ Elizabeth Tudor ราชินีในอนาคตซึ่งเป็นผู้ชุบชีวิตและสนับสนุนเขาให้ได้ “เกิด” และมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา
Sir Walter Raleigh เป็นทั้งกวี นักเขียน ข้าราชสำนัก นักรบ นักผจญภัย เผชิญโชค โจรสลัด และนักล่าอาณานิคม เขาเป็นชนชั้นนำของอังกฤษรุ่นบุกเบิกที่ร่วมสร้างตำนานของ “British Empire” ทั้งนี้โดยการปล้นสดมภ์กองเรือสเปนและตีชิงที่มั่นสำคัญของสเปนใน “โลกใหม่” สมัยนั้นสเปนยังเป็นประเทศมหาอำนาจผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกเหมือนกับอเมริกาในสมัยนี้ ถ้าดูในภาพยนตร์เรื่อง “Elizabeth ภาค 2” จะเห็นว่าเขามีบทบาทอย่างมากในการเอาชนะกองเรืองสเปนในยุทธการที่เรียกว่า “Spanish Armada” อันโด่งดัง ทว่า ในความเป็นจริงแล้ว นักประวัติศาสตร์อังกฤษยังคงถกเถียงกันมากต่อบทบาทในช่วงนั้นของเขา
Sir Walter Raleigh เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าแห่งเมือง Devonshire ทว่ายากจนลงในยุคที่เขาเกิด เขาอ่อนกว่าพระนางเจ้าอลิซาเบธ 30 ปี ลืมตาดูโลกเมื่อปี 1544 ตรงกับสมัยที่แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์กุมอำนาจสูงสุดอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เขาไปรบตั้งแต่อายุ 15 แล้วเข้าเรียนที่วิทยาลัย Oriel หรือ King’s College แห่งมหาวิทยาลัย Oxford แล้วต่อเนติบัณฑิตที่สำนัก Middle Temple สำนักเดียวกับอดีตประธานองคมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ และนักคิดนักเขียนรุ่นใหญ่ สุลักษณ์ ศิวรักษ์
เขาท่องโลกทางทะเล ปล้นสะดมเรือสเปน ปราบกบฏในไอร์แลนด์ และบุกเบิกทำเกษตรกรรมในแถบ Roanoke ในอาณานิคมใหม่อเมริกา แล้วเขาก็ตั้งชื่อให้ดินแดนนั้นว่า “Virginia” (ปัจจุบันคือรัฐ Virginia ในสหรัฐอเมริกา) เพื่อเป็นเกียรติ์กับราชินีพรหมจรรย์ของอังกฤษ เรื่องเล่าที่เขาเอาเสื้อนอกวางทับโคลนไว้เพื่อให้พระราชินีเดินย่ำไปนั้น (มีฉากนี้ในหนังด้วย) เป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และการที่เขาเป็นคนสูงโปร่ง สมาร์ต หล่อเหลา และพูดจาฉะฉาน เล่าเรื่องเก่ง ทั้งมีความเป็นปัญญาชนในตัว ขณะเดียวกันก็มีบุคลิกโลดโผนดังนักรบ พระราชินีจึงโปรดเขา
พระราชินีทรงไถ่ถามประสบการณ์จากเขามากมาย พระนางทรงโปรดให้เขาเล่าเรื่องราวผจญภัยต่างๆ ในโลกใหม่ที่เขาเผชิญมา เขาเล่าอย่างได้น่าสนใจและน่าตื่นเต้น และไม่เบื่อที่จะตอบคำถามทุกคำถามของพระนาง เขาเป็นคนนำยาสูบและมันฝรั่งจากอเมริกามาเผยแพร่ในราชสำนักอังกฤษ และเขาต้องการให้พระนางสนับสนุนเขาในเชิงการล่าอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้อำนาจสิทธิขาดเขาปกครองโลกใหม่หรืออเมริกา และทั้งๆ ที่ข้าราชการระดับสูงในรัฐบาลของพระนางสนับสนุนเขาในเรื่องการสร้างจักรวรรดิอังกฤษ ทว่าพระนางก็หาได้สนับสนุนเขาอย่างจริงจังไม่ นั่นอาจเป็นเพราะพระนางเกรงว่าความกระทบกระทั่งกับสเปนจะรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้เขียนชีวประวัติของเขาส่วนใหญ่ล้วนลงความเห็นว่า หากพระนางทรงสนับสนุนเขาในเรื่องอเมริกา ก็อาจทำให้ประวัติศาสตร์ของอเมริกาพลิกผันไปจากเดิม เพระอังกฤษจะเอาใจใส่อเมริกามากขึ้น (ไม่ใช่อินเดียในตอนหลัง และเขาก็จะเป็นเสมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาณานิคมคนแรก) และอเมริกาก็จะพัฒนาหรือเจริญขึ้นก่อนที่ควรจะเป็น ส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษรุ่งเรืองและเป็นปึกแผ่นก่อนที่ควรจะเป็นอีกด้วย
พระนางทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าหน่วยทหารราชองค์รักษ์ ซึ่งมีเกียรติและราชสำนักยุโรปพากันเอาอย่าง แต่ก็ทรงกริ้วมากเมื่อเขาแอบแต่งงานกับ Elizabeth Throckmorton นางสนมคนหนึ่งของพระนาง (Ladies-in-waiting) โดยไม่ได้ทรงอนุญาต พระนางจึงส่งพวกเขาไปกักขังที่ “หอคอย” ทว่าไม่นาน พระนางก็ทรงให้อภัยโทษ แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้ให้ความสนิทสนมและไว้วางพระราชหฤทัยดังเดิม แม้กระนั้นเขาก็ยังคงร่ำรวยจนกระทั่งเสียชีวิต
เมื่อสิ้นพระนางเจ้าอลิซาเบธ กษัตริย์ James I แห่งราชวงศ์ Stuart ขึ้นครองราชย์ ไม่นาน Raleigh ก็ถูกจับกุมในข้อหาสมคบคิดเป็นกบฏ ตอนแรกเขาถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ก็ลดโทษให้เหลือแค่จำคุกตลอดชีวิต เขาถูกกักบริเวณอยู่ใน Tower of London นานถึง 12 ปี แรกๆ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ต่อมาก็ทำใจได้ เขาใช้เวลาเขียนหนังสือเล่มสำคัญของเขา History of the World ในช่วงนี้เอง เขากุเรื่อง “มนุษย์ทองคำ” หรือ “El Dorado” ขึ้น และขอให้กษัตริย์ปล่อยเขา เพื่อให้เขาไปตามล่าหาขุมทองคำ ตามลำน้ำ Orinoco ซึ่งปัจจุบันคือประเทศ Venezuela ทว่าบัดนั้นยังอยู่ใต้อิทธิพลของสเปนอย่างแข็งแรง
กษัตริย์ทรงเชื่อเขา และก็สนับสนุนตามคำขอของเขา ภายใต้ข้อแม้ว่าเขาต้องหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองกำลังสเปน ปฏิบัติการณ์ครั้งนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เขาไม่พบทองคำ แต่ได้เข้าประจัญบานกับกองเรือสเปนแทน ลูกชายคนหนึ่งของเขาเสียชีวิตในการรบครั้งนั้น เขากลับมาอย่างคนหมดอาลัยตายอยาก เพื่อเผชิญกับโทษทัณฑ์อย่างกล้าหาญ และด้วยความเกรงใจสเปนของรัฐบาลกษัตริย์ขณะนั้น เขาเลยถูกตัดสินให้ประหารชีวิต
วาระสุดท้ายของเขาถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดในเอกสารภาษาอังกฤษ ทั้งเอกสารทางราชการและบันทึกส่วนตัวของผู้ร่วมในเหตุการณ์ครั้งนั้น ตั้งแต่คืนก่อนประหารที่เขาถูกควบคุมตัวไว้ที่ Westminster แล้วก็ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกงที่ Palace Yard ในเช้าวันรุ่งขึ้น วันนั้นเขามีจิตใจปลอดโปร่ง และว่าตายบนลานประหารยังดีเสียกว่าตายเพราะพิษไข้ เขายังว่าอีกว่าเขาไม่กลัวที่จะต้องไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะต้องยกโทษให้เขาต่อบาปที่เขาเคยกระทำมา เขากินอาหารเช้ามื้อนั้นด้วยความร่าเริง แล้วก็สูบยาเส้นจากไปป์
เช้าวันที่ 29 ตุลาคม ปี 1618 ลานประหารเนืองแน่นไปด้วยผู้คน จนเขาเองยังต้องกระเสือกกระสนฝ่าฝูงชนเพื่อไปสู่ตะแลงแกง ชายคนหนึ่งส่งแก้วไวน์สเปน (Sack wine) ให้เขาดื่ม เขาดื่มรวดเดียว แล้วพูดอย่างเย้ยหยันแกมตลกว่า “It is a good drink, if a man might tarry by it.” เมื่ออยู่บนตะแลงแกง เขาทำความเคารพทุกคนที่เขารู้จัก ทั้งเพื่อนและศัตรู และเขายังกล่าวสุนทรพจน์อีกค่อนข้างยาว แล้วก็นั่งลงสวดมนตร์ เมื่อลุกขึ้นเขาถอดหมวกโยนให้ฝูงชนพร้อมกับเงินที่เขามีอยู่ทั้งหมด เขาจับมือกับเพชฌฆาตและเจ้าหน้าที่ทุกคนบนตะแลงแกง แล้วเข้าสวมกอด Lord Arundel เพื่อนของเขา และกล่าวกับเพื่อนว่า “I have a long journey to go, and therefore I take my leave.”
เขาขอให้เพชฌฆาตนำขวานมาให้เขาดูใกล้ๆ เขาเอาหัวแม่มือลูบคมมันดู แล้วก็พูดขึ้นว่า “This is a sharp medicine but it is a physician for all diseases.” ประโยคสุดท้ายที่เขาเปล่งออกจากปากได้คือ “Strike, man, strike!”
ศีรษะของเขาหลุดจากบ่าหลังจากเพชฌฆาตต้องลงขวานถึงสองครั้งสองครา ริมฝีปากเขายังขยับได้ หัวหน้าเจ้าพนักงานขย้ำเอาเส้นผมแล้วชูศีรษะของเขาขึ้นเพื่อให้เห็นได้ทั่วกัน และตามธรรมเนียมเขาจะต้องตะโกนว่า “Behold the head of a traitor.” แต่นี่เขามิได้กระทำ
เสียง “อือ” อื้ออึงขึ้นในหมู่ฝูงชนด้วยความไม่พอใจ และมีเสียงกล่าวขึ้นมาว่า “We have never had such a head cut off.”
การตายของเขานำมาซึ่งความไม่พอใจของขุนนางและประชาชนอังกฤษบางส่วนต่อกษัตริย์ หาว่ากษัตริย์ใจแคบและโหดร้ายเกินไป ชนชั้นสูงบางคนที่อยู่ในหมู่ฝูงชนวันนั้นด้วย ต่อมาก็ได้กลายมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ คนสำคัญที่เป็นหัวหอกต่อต้านราชวงศ์ Stuart อย่างเช่น John Pym และบางคนก็กลับกลายจากการเป็นกษัตริย์นิยม ไปเป็นพวกเกลียดกษัตริย์ อย่าง Sir John Eliot เป็นต้น
หลังจาก Raleigh ตายได้เกือบ 24 ปี (และหลังจากพระนางเจ้าอาลิซาเบธเสด็จสวรรคตได้ 39 ปี) ประเทศอังกฤษก็ลุกเป็นไฟ เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายกษัตริย์กับฝ่ายรัฐสภา ที่เรียกว่า “The English Civil War” แล้วก็จบลงโดยฝ่ายกษัตริย์พ่ายแพ้ และถูกสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1649 หลังจากนั้นประเทศอังกฤษก็ถูกปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐภายใต้การกุมอำนาจสูงสุดของผู้บัญชาการกองกำลังปฏิวัติ Oliver Cromwell (และต่อมาก็ลูกชายเขา) เป็นเวลาถึง 11 ปี (เราคงต้องมาหาคำตอบกันในโอกาสต่อไปว่าทำไม Cromwell ถึงไม่ยอมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แล้วตั้งราชวงศ์ใหม่ของตัวเอง เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงกระทำ)
แม้การตายของ Raleigh จะส่งให้เขากลายเป็นวีระบุรุษ ทว่า ชีวิตของเขาก็น่าศึกษา แม้เขาจะมีความสามารถหลากหลายและมีข้อดีหลายอย่าง แต่นิสัยมั่นใจในตัวเองจนเกินเหตุของเขา ก็ทำให้เขา “ล้ำเส้น” อยู่บ่อยๆ เท่ากับเป็นการเพาะศัตรูโดยไม่รู้ตัว นิสัยเสียอีกอันหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนสำคัญของเขา และทำให้เขาต้องตาย ก็คือ “ความขี้โอ่” หรือ “ขี้โม้” นั่นเอง เมื่อไม่มีพระราชินีคอยปกป้องเขา นิสัยพวกนั้นของเขาก็กลับมาทิ่มแทงเขา ให้ต้องประสบชะตากรรมอย่างที่กล่าวมา
ทว่า การเผชิญความตายอย่างกล้าหาญ สุขุม เยือกเย็น มีสติ และการแสดงตัวต่อฝูงชน ณ ลานประหารในเช้าวันนั้น นับเป็น “Showmanship” ที่ทำให้เขากลายเป็นตำนาน จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การตายแบบนั้น นับเป็น End-game Strategy ที่เหนือชั้นเป็นอย่างยิ่ง
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
พฤศภาคม 2551
**คลิกอ่านบทความชุด Final Exit บางอันที่น่าสนใจของผมได้ตามลิงก์ข้างล่าง
1. พระราชพินัยกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
2. วาระสุดท้ายของนโปเลียน
3. ศรีปราชญ์ ยักษ์ใหญ่ที่ไร้ตัวตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น