จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2363 ราวปลายรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของเรา พระราชปรารภคำสุดท้ายที่เปล่งจากพระโอษฐ์ คือ ‘tete d’ armee’
ในเบื้องแรก พระบรมศพถูกฝังไว้ที่ Rupert Valley บนเกาะ Saint Helena ทรงฉลองพระองค์สีเขียวของกองทหารม้ารักษาพระองค์ และสวมทับด้วยฉลองพระองค์คลุมสีเทา ที่เรามักเห็นในภาพวาดเหมือนจริงของพระองค์ท่านเสมอ บนหลุมศพ เพียงสลักคำว่า CI-GIT (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Here Lies”) หรือ “ณ ใต้ผืนแผ่นดินแห่งนี้....” ส่วนคำบรรยายต่อจากนั้นไม่มี เพราะฝ่ายอังกฤษและฝ่ายฝรั่งเศส มหาอำนาจที่เห็นพ้องให้ควบคุมตัวองค์จักรพรรดิไว้ในบั้นปลายบนเกาะแห่งนั้น ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะให้เขียนบรรยายว่ากระไร
นโปเลียนจากไปอย่างผู้แพ้ สิ้นหวัง น่าสงสาร และสำนึกเสียใจ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น พระองค์ยิ่งใหญ่เกียงไกร จักรวรรดิฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระองค์ เข้มแข็ง ก้าวร้าว แผ่รังสีอำมหิตทั่วทั้งยุโรป
ทว่า หลังจากปราชัยครั้งที่สอง ต่อกองกำลังผสมของสัมพันธมิตรภายใต้การนำของ Duke of Wellington ที่ทุ่ง Waterloo ในเบลเยียมแล้ว พระองค์ก็ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะ Saint Helena ภายใต้การควบคุมของหน่วยทหารพิเศษอังกฤษบนเกาะแห่งนั้น
พระองค์เสด็จถึงเกาะแห่งนั้น เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2358 เมื่อพระชนมายุได้ 45 พรรษา สมัยนั้น ยังไม่มีสหประชาชาติและศาลโลก หากเป็นยุคนี้ พระองค์คงต้องถูกนำตัวขึ้นศาลในฐานะอาชญากรสงครามอย่างไม่ต้องสงสัย
มีคนเขียนถึงบั้นปลายของพระองค์จำนวนมาก ที่เด่นๆ และได้รับการอ้างอิงถึงมาก ก็คือ Napoleon Bonaparte: England’s Prisoner โดย Frank Giles (2001) และ Napoleon’s Surgeon โดย J. Henry Dibble (1970) ซึ่งบรรยายถึงปัญหาสุขภาพ และความเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนสวรรคต ตลอดจนรายงานการชันสูตรพลิกพระศพด้วยอย่างละเอียด
นโปเลียนล้มป่วยลงตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2363 พระอาการในบันทึกการแพทย์มีทั้ง อาหารไม่ย่อย พระชีพจรเต้นช้า อุณหภูมิพระวรกายไม่คงที่ ประเดี๋ยวร้อน ประเดี๋ยวเย็น ไอ คลื่นไส้ อาเจียน พระเสโทท่วม เพ้อ พระวรกายสั่นสะท้าน สะอึก และในที่สุดก็สูญเสียความทรงจำ รวมทั้งเห็นภาพหลอน
คณะแพทย์ให้เสวยพระโอสถหลายชนิด รวมทั้งปรอทและพระโอสถประจุ แต่เมื่อพระองค์ทรงรู้พระสติ ก็ทรงปฏิเสธการรักษา แม้กระทั่งหมอก็ไม่ยอมให้เฝ้า อีกทั้งพระสองรูปที่พระมารดาทรงขอให้มา ก็ไม่ยอมพบ พระองค์ว่าตัวเป็นคนไม่นับถือศาสนาใด แต่พระทั้งสองก็แอบประกอบพิธีให้พระองค์แบบลับๆ
บางช่วงที่ความคิดอ่านปลอดโปร่ง พระองค์ทรงพระราชดำริให้แก้ไขพระราชพินัยกรรมหลายข้อด้วยกัน ที่สำคัญคือ พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ทิ้งเงินจำนวน 10,000 ฟรังก์ ให้แก่ Andre’Cantillon นายทหารนอกราชการ ที่ต่อมาถูกจับกุมในข้อหาพยายามลอบสังหาร Wellington ที่ปารีสในปี 2361 แต่ก็ได้รับการปล่อยตัว เพราะศาลไร้หลักฐาน อีกข้อที่สำคัญ คือในย่อหน้าห้า ที่พระองค์ทรงระบุว่า “การตายของข้าพเจ้า ไม่ใช่การตายแบบปกติ ข้าพเจ้าถูกลอบสังหารโดยกลุ่มคณาธิปัตย์ของอังกฤษและคนที่พวกเขาจ้างมา (หมายเหตุบอกอ: พระองค์หมายถึง Hudson Lowe หัวหน้าผู้คุมบนเกาะ Saint Helena) คนอังกฤษจะไม่ยอมคอยนาน เพื่อจะแก้แค้นเอากับข้าพเจ้า” (“My death is not natural. I have been assassinated by English oligarchy and hired murderer. The English people will not be long in avenging me”) อีกทั้งพระองค์ยังมีพระประสงค์ให้ฝังร่างไว้บนฝั่งแม่น้ำแซน (Seine) ในปารีส อีกด้วย
จากข้อความในย่อหน้าห้านี้เอง ที่มีนักประวัติศาสตร์และนักเขียนรุ่นต่อมาจำนวนมาก เชื่อว่าพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะถูกลอบวางยาพิษ แต่จากหลักฐานทางการแพทย์ ไม่ได้ระบุเช่นนั้น
แพทย์ผู้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่าพระเจ้านโปเลียนสิ้นพระชนม์ คือนายแพทย์ชาวฟลอเรนซ์ นาม Francesco Antommarchi เขาเป็นผู้ผ่าพิสูจน์พระศพ โดยมีคณะแพทย์อังกฤษอีก 6 คน ยืนเป็นสักขีพยานอยู่ด้วย (Mitchell, Livingston, Arnott, Burton, Shortt, และ Henry) พวกเขาทั้ง 5 ยกเว้น Henry ที่ยังอาวุโสไม่ถึง ร่วมลงนามรับรองผลการชันสูตรอย่างเป็นทางการ ว่าพระองค์ท่านสวรรคตเพราะฝีมะเร็งในพระนาภี (Stomach cancerous ulcer or carcinoma) ส่วนนายแพทย์ Antommarchi ไม่ยอมลงนามกับคณะแพทย์อังกฤษ เขาได้จัดทำรายงานของตัวเอง เพื่อลงความเห็นว่า พระองค์สวรรคตเพราะพระยกนะอักเสบ (Hepatitis) เนื่องเพราะพระยกนะของพระองค์บวมเปล่งผิดปกติ
รายงานทางการแพทย์ทั้งสองฉบับ บ่งบอกสภาพอื่นที่เหมือนกันคือ พระทนต์และพระทาฐะแข็งแรง แต่เริ่มคล้ำเพราะการเขี้ยวชะเอมเทศ (Licorice) พระวักกะข้างซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาหนึ่งในสามส่วน พระวัตถิเล็กมากและพบนิ่วอยู่ด้วย พระกิโลมกะ (Mucosa) หนาและมีผื่นแดงเป็นปื้นๆ จำนวนมาก พระวรกายอ้วน พระมังสาเจือด้วยไขมันหลายชั้น พระโลมาน้อย พระถันย้อย พระอังสาแคบ พระโสณีผาย พระคุยหฐานและพระอัณฑะเล็ก (Small genitals)
จากรายงานทางการแพทย์ดังกล่าว ย่อมพิสูจน์ได้ว่าพระองค์ท่านมิได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เราอาจย้อนไปศึกษาสักนิดก็ได้ว่าประวัติทางการแพทย์ของพระองค์เป็นอย่างไร เพื่อหาจุดอ่อนในพระวรกาย
แน่นอน พระบิดาของพระองค์ก็จากไปด้วยฝีในท้อง และคณะแพทย์ที่ชันสูตรพลิกพระศพก็มิได้ทราบกันมาก่อน อันที่จริง พระเจ้านโปเลียนเป็นคนที่โชคดีมาก เมื่อเทียบว่าพระองค์ทรงเสี่ยงชีวิตในราชการสงครามเกือบตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ทรงบัญชาการรบในรัศมีปืนใหญ่และปืนยาวเสมอ ม้าทรงอย่างน้อย 18 ตัวที่พระองค์เคยทรงออกรบ ตายกลางศึก ครั้งหนึ่ง ในการศึกที่ Toulon พระองค์ถูกสะเก็ดระเบิดที่พระพักตร์และถูกดาบปลายปืนแทงเข้าที่พระอูรุซ้าย พระองค์เคยทรงปรารภตลอดมาว่าแผลนั้นรบกวนพระองค์อยู่เสมอๆ นอกจากนั้นยังได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอีกหลายหน
นโปเลียนทรงกังวลเสมอว่าพระองค์จะประสบชะตากรรมเดียวกับพระบิดา พระองค์ทรงเจ็บพระนาภีบ่อยๆ พระองค์เสวยน้อย ไม่ทรงเสวยน้ำจัณฑ์ เสวยแต่ไวน์ผสมน้ำเปล่า เวลาเสวยเพียงสิบกว่านาทีก็แล้วเสร็จ
พระองค์ทรงออกกำลังพระวรกายเสมอบนหลังม้า เกือบจะตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นคนประเภท Active ทรงหากิจกรรมทำได้ตลอด ตรัสเร็ว เสวยเร็ว และทำอะไรๆ ด้วยความรวดเร็ว รวมทั้ง Made Love ด้วย
พระองค์ทรงเคยประชวรพระวาโยหลายครั้งขณะกำลัง Made Love นับแต่พระชนม์มายุได้ 30 พระวรกายเริ่มอ้วน คนที่เกลียดพระองค์เปรียบว่าเป็น “หมูจีน” (China Pig) พระองค์เคยปรารภว่าทรงเจ็บพระอุระเสมอ แต่ก็ไม่พบว่าทรงเป็นวัณโรค (ในยุคนั้นถือว่าเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนหนุ่มมากติดอันดับหนึ่งในสาม) และตั้งแต่ปี 2353 เป็นต้นมา พระองค์เริ่มมีปัญหานิ่ว ทรงพระบังคลเบายาก เป็นปัญหามากช่วงที่บุกรัสเซีย และช่วงที่หนีกลับมาจากเกาะ Elba ก่อนสิ้นพระชนม์ไม่นาน เคยมีคนแอบเห็นว่าพระองค์ทรงพระบังคลเบาขณะยืนพิงต้นไม้ และแสดงสีพระพักตร์เจ็บปวด พร้อมกับปรารภกับพระองค์เองว่า “นี่เป็นจุดอ่อนของเรา มันจะฆ่าเราในที่สุด” (“This is my week spot-this will kill me in the end”)
เป็นอันว่าผู้อ่าน MBA ที่ส่วนใหญ่คงไม่ใช่หมอ น่าจะตกลงใจได้แล้วว่านโปเลียนสวรรคตด้วยสาเหตุอันใด
ฟื้นคืนพระชนม์ชีพและเป็นอมตะ
นโปเลียน ตายเยี่ยงผู้แพ้และไร้ความสำคัญได้ไม่นาน ก็กลับมามีชื่อเสียง ทั้งในฐานะกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แม่ทัพผู้เก่งกล้าสามารถ และนักปกครองอัจฉริยะ ตำนานของพระองค์ท่านถูกสร้างใหม่ และเล่าขานซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง กระทั่งปัจจุบัน
นั่นเป็นเพราะเหตุอันใด
หลังยุคนโปเลียน กษัตริย์ Louis XVIII แห่งราชวงศ์บรูบอง (Bourbons) ก็ถูกอัญเชิญจากมติของสัมพันธมิตรให้ขึ้นครองราชย์แทน ที่อังกฤษ Duke of Wellington ซึ่งสร้างชื่อเสียงเพราะปราบนโปเลียนลงได้ ก็ลงเล่นการเมือง จนได้เป็นนายกรัฐมนตรี
กษัตริย์องค์นั้น ไม่เป็นที่ชื่นชอบของราษฎร คนฝรั่งเศสจึงโหยหานโปเลียน แม้แต่ Victor Hugo นักเขียนอัจฉริยะ ที่เคยเกลียดนโปเลียนเข้าไส้ ก็ยังหันกลับมาเห็นใจ และแต่งบทกวีให้เป็นเกียรติ Ode de la Colonne หลังจากนั้น วงวรรณกรรมของฝรั่งเศสก็เอาอย่าง มีการจัดพิมพ์ประวัติและเอกสารที่เกี่ยวกับวีรกรรมของนโปเลียนขนานใหญ่
ต่อมากษัตริย์ Louis-Phillippe ได้ทำการปราบดาภิเษกเมื่อปี 2373 และเรียกตัวเองว่า “King of the French” เอาอย่างนโปเลียน หลังจากนั้นสามปี พระองค์ก็สั่งให้สร้างรูปปั้นนโปเลียนไว้ในปารีส (ที่ Place Vendome) ในประเทศอังกฤษ นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็สามารถโค่นล้มรัฐบาลของ Wellington ลงได้ นักการเมืองเหล่านั้นหลายคนล้วนเป็นพระสหายของนโปเลียน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษทำตามพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ฝังพระองค์ไว้บนฝั่งแม่น้ำแซน ในที่สุดรัฐบาลก็อนุมัติให้ขุดพระบรมศพ
Louise-Phillipe จึงส่งพระราชโอรสขึ้นเรือรบไปรับพระศพมาทำพระราชพิธีอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติที่ปารีส และให้บรรจุพระบรมศพไว้ที่ Hotel Invalides ซึ่งยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ใครที่เคยไปที่นั่น คงสังเกตเห็นว่า การตกแต่งภายในนั้นสวยงาม ยิ่งใหญ่ ขลัง ตระการตา ภายใต้โดมประดับทอง สลักคำที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “The greatest soldier who ever live”
หลังจากนั้น Louise-Napoleon หลานชายของจักรพรรดินโปเลียน ก็ทำการรัฐประหารและต่อมาก็ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ Napoleon III พระองค์ได้สั่งให้รื้อฟื้นวีรกรรมและความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิองค์ก่อน จัดพิมพ์จดหมายโต้ตอบหลายเล่มสมุด ออกนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนให้เงินสนับสนุนให้เขียนพระราชประวัติของพระปิตุลา
บัดนี้ ความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียน มีค่าเท่ากับความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสไปเสียแล้ว พระองค์กลายเป็นความภูมิใจของชาติฝรั่งเศส ยิ่งเมื่อฝรั่งเศสเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐอย่างสมบูรณ์ และอ่อนแอลง จนพ่ายแพ้เยอรมนีหลายครั้งหลายครา คนก็จะยิ่งโหยหานโปเลียน ไม่เพียงเท่านั้น ผู้นำทางการเมือง นักการทหาร และนักธุรกิจชั้นนำคนสำคัญของโลกหลายคน ก็ได้กล่าวยกย่องและเลียนแบบนโปเลียน ไม่ว่าจะเป็นประธานเหมา เจ๋อ ตง ฟิเดล คาสโตร จอน เอฟ เคนเนดี้ นายพลดักลาส แม็กอาเธอร์ หรือแม้กระทั่ง บิล เกต ผู้ยิ่งใหญ่แห่งไมโครซอฟท์
หลายสิบปีมานี้ ประธานาธิบดีฟรังซัว มิเตอรัน และประธานาธิบดีชาค ชิรัก ก็ได้ส่งเสริมหลายโครงการที่เป็นการโปรโมทนโปเลียน นัยว่าต้องการใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านอเมริกาแบบอ้อมๆ นั่นเอง
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
20 กุมภาพันธุ์ 2551
**คลิกอ่านบทความชุด Final Exit ที่น่าสนใจบางอันของผมได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
1. พระราชพินัยกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
2. ความประทับใจ ณ ลานประหาร ต่อกรณี Sir Walter Ralegh
3. ศรีปราชญ์ ยักษ์ใหญ่ที่ไม่มีตัวตน
ในเบื้องแรก พระบรมศพถูกฝังไว้ที่ Rupert Valley บนเกาะ Saint Helena ทรงฉลองพระองค์สีเขียวของกองทหารม้ารักษาพระองค์ และสวมทับด้วยฉลองพระองค์คลุมสีเทา ที่เรามักเห็นในภาพวาดเหมือนจริงของพระองค์ท่านเสมอ บนหลุมศพ เพียงสลักคำว่า CI-GIT (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Here Lies”) หรือ “ณ ใต้ผืนแผ่นดินแห่งนี้....” ส่วนคำบรรยายต่อจากนั้นไม่มี เพราะฝ่ายอังกฤษและฝ่ายฝรั่งเศส มหาอำนาจที่เห็นพ้องให้ควบคุมตัวองค์จักรพรรดิไว้ในบั้นปลายบนเกาะแห่งนั้น ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะให้เขียนบรรยายว่ากระไร
นโปเลียนจากไปอย่างผู้แพ้ สิ้นหวัง น่าสงสาร และสำนึกเสียใจ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น พระองค์ยิ่งใหญ่เกียงไกร จักรวรรดิฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระองค์ เข้มแข็ง ก้าวร้าว แผ่รังสีอำมหิตทั่วทั้งยุโรป
ทว่า หลังจากปราชัยครั้งที่สอง ต่อกองกำลังผสมของสัมพันธมิตรภายใต้การนำของ Duke of Wellington ที่ทุ่ง Waterloo ในเบลเยียมแล้ว พระองค์ก็ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะ Saint Helena ภายใต้การควบคุมของหน่วยทหารพิเศษอังกฤษบนเกาะแห่งนั้น
พระองค์เสด็จถึงเกาะแห่งนั้น เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2358 เมื่อพระชนมายุได้ 45 พรรษา สมัยนั้น ยังไม่มีสหประชาชาติและศาลโลก หากเป็นยุคนี้ พระองค์คงต้องถูกนำตัวขึ้นศาลในฐานะอาชญากรสงครามอย่างไม่ต้องสงสัย
มีคนเขียนถึงบั้นปลายของพระองค์จำนวนมาก ที่เด่นๆ และได้รับการอ้างอิงถึงมาก ก็คือ Napoleon Bonaparte: England’s Prisoner โดย Frank Giles (2001) และ Napoleon’s Surgeon โดย J. Henry Dibble (1970) ซึ่งบรรยายถึงปัญหาสุขภาพ และความเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนสวรรคต ตลอดจนรายงานการชันสูตรพลิกพระศพด้วยอย่างละเอียด
นโปเลียนล้มป่วยลงตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2363 พระอาการในบันทึกการแพทย์มีทั้ง อาหารไม่ย่อย พระชีพจรเต้นช้า อุณหภูมิพระวรกายไม่คงที่ ประเดี๋ยวร้อน ประเดี๋ยวเย็น ไอ คลื่นไส้ อาเจียน พระเสโทท่วม เพ้อ พระวรกายสั่นสะท้าน สะอึก และในที่สุดก็สูญเสียความทรงจำ รวมทั้งเห็นภาพหลอน
คณะแพทย์ให้เสวยพระโอสถหลายชนิด รวมทั้งปรอทและพระโอสถประจุ แต่เมื่อพระองค์ทรงรู้พระสติ ก็ทรงปฏิเสธการรักษา แม้กระทั่งหมอก็ไม่ยอมให้เฝ้า อีกทั้งพระสองรูปที่พระมารดาทรงขอให้มา ก็ไม่ยอมพบ พระองค์ว่าตัวเป็นคนไม่นับถือศาสนาใด แต่พระทั้งสองก็แอบประกอบพิธีให้พระองค์แบบลับๆ
บางช่วงที่ความคิดอ่านปลอดโปร่ง พระองค์ทรงพระราชดำริให้แก้ไขพระราชพินัยกรรมหลายข้อด้วยกัน ที่สำคัญคือ พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ทิ้งเงินจำนวน 10,000 ฟรังก์ ให้แก่ Andre’Cantillon นายทหารนอกราชการ ที่ต่อมาถูกจับกุมในข้อหาพยายามลอบสังหาร Wellington ที่ปารีสในปี 2361 แต่ก็ได้รับการปล่อยตัว เพราะศาลไร้หลักฐาน อีกข้อที่สำคัญ คือในย่อหน้าห้า ที่พระองค์ทรงระบุว่า “การตายของข้าพเจ้า ไม่ใช่การตายแบบปกติ ข้าพเจ้าถูกลอบสังหารโดยกลุ่มคณาธิปัตย์ของอังกฤษและคนที่พวกเขาจ้างมา (หมายเหตุบอกอ: พระองค์หมายถึง Hudson Lowe หัวหน้าผู้คุมบนเกาะ Saint Helena) คนอังกฤษจะไม่ยอมคอยนาน เพื่อจะแก้แค้นเอากับข้าพเจ้า” (“My death is not natural. I have been assassinated by English oligarchy and hired murderer. The English people will not be long in avenging me”) อีกทั้งพระองค์ยังมีพระประสงค์ให้ฝังร่างไว้บนฝั่งแม่น้ำแซน (Seine) ในปารีส อีกด้วย
จากข้อความในย่อหน้าห้านี้เอง ที่มีนักประวัติศาสตร์และนักเขียนรุ่นต่อมาจำนวนมาก เชื่อว่าพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะถูกลอบวางยาพิษ แต่จากหลักฐานทางการแพทย์ ไม่ได้ระบุเช่นนั้น
แพทย์ผู้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่าพระเจ้านโปเลียนสิ้นพระชนม์ คือนายแพทย์ชาวฟลอเรนซ์ นาม Francesco Antommarchi เขาเป็นผู้ผ่าพิสูจน์พระศพ โดยมีคณะแพทย์อังกฤษอีก 6 คน ยืนเป็นสักขีพยานอยู่ด้วย (Mitchell, Livingston, Arnott, Burton, Shortt, และ Henry) พวกเขาทั้ง 5 ยกเว้น Henry ที่ยังอาวุโสไม่ถึง ร่วมลงนามรับรองผลการชันสูตรอย่างเป็นทางการ ว่าพระองค์ท่านสวรรคตเพราะฝีมะเร็งในพระนาภี (Stomach cancerous ulcer or carcinoma) ส่วนนายแพทย์ Antommarchi ไม่ยอมลงนามกับคณะแพทย์อังกฤษ เขาได้จัดทำรายงานของตัวเอง เพื่อลงความเห็นว่า พระองค์สวรรคตเพราะพระยกนะอักเสบ (Hepatitis) เนื่องเพราะพระยกนะของพระองค์บวมเปล่งผิดปกติ
รายงานทางการแพทย์ทั้งสองฉบับ บ่งบอกสภาพอื่นที่เหมือนกันคือ พระทนต์และพระทาฐะแข็งแรง แต่เริ่มคล้ำเพราะการเขี้ยวชะเอมเทศ (Licorice) พระวักกะข้างซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาหนึ่งในสามส่วน พระวัตถิเล็กมากและพบนิ่วอยู่ด้วย พระกิโลมกะ (Mucosa) หนาและมีผื่นแดงเป็นปื้นๆ จำนวนมาก พระวรกายอ้วน พระมังสาเจือด้วยไขมันหลายชั้น พระโลมาน้อย พระถันย้อย พระอังสาแคบ พระโสณีผาย พระคุยหฐานและพระอัณฑะเล็ก (Small genitals)
จากรายงานทางการแพทย์ดังกล่าว ย่อมพิสูจน์ได้ว่าพระองค์ท่านมิได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เราอาจย้อนไปศึกษาสักนิดก็ได้ว่าประวัติทางการแพทย์ของพระองค์เป็นอย่างไร เพื่อหาจุดอ่อนในพระวรกาย
แน่นอน พระบิดาของพระองค์ก็จากไปด้วยฝีในท้อง และคณะแพทย์ที่ชันสูตรพลิกพระศพก็มิได้ทราบกันมาก่อน อันที่จริง พระเจ้านโปเลียนเป็นคนที่โชคดีมาก เมื่อเทียบว่าพระองค์ทรงเสี่ยงชีวิตในราชการสงครามเกือบตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ทรงบัญชาการรบในรัศมีปืนใหญ่และปืนยาวเสมอ ม้าทรงอย่างน้อย 18 ตัวที่พระองค์เคยทรงออกรบ ตายกลางศึก ครั้งหนึ่ง ในการศึกที่ Toulon พระองค์ถูกสะเก็ดระเบิดที่พระพักตร์และถูกดาบปลายปืนแทงเข้าที่พระอูรุซ้าย พระองค์เคยทรงปรารภตลอดมาว่าแผลนั้นรบกวนพระองค์อยู่เสมอๆ นอกจากนั้นยังได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอีกหลายหน
นโปเลียนทรงกังวลเสมอว่าพระองค์จะประสบชะตากรรมเดียวกับพระบิดา พระองค์ทรงเจ็บพระนาภีบ่อยๆ พระองค์เสวยน้อย ไม่ทรงเสวยน้ำจัณฑ์ เสวยแต่ไวน์ผสมน้ำเปล่า เวลาเสวยเพียงสิบกว่านาทีก็แล้วเสร็จ
พระองค์ทรงออกกำลังพระวรกายเสมอบนหลังม้า เกือบจะตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นคนประเภท Active ทรงหากิจกรรมทำได้ตลอด ตรัสเร็ว เสวยเร็ว และทำอะไรๆ ด้วยความรวดเร็ว รวมทั้ง Made Love ด้วย
พระองค์ทรงเคยประชวรพระวาโยหลายครั้งขณะกำลัง Made Love นับแต่พระชนม์มายุได้ 30 พระวรกายเริ่มอ้วน คนที่เกลียดพระองค์เปรียบว่าเป็น “หมูจีน” (China Pig) พระองค์เคยปรารภว่าทรงเจ็บพระอุระเสมอ แต่ก็ไม่พบว่าทรงเป็นวัณโรค (ในยุคนั้นถือว่าเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนหนุ่มมากติดอันดับหนึ่งในสาม) และตั้งแต่ปี 2353 เป็นต้นมา พระองค์เริ่มมีปัญหานิ่ว ทรงพระบังคลเบายาก เป็นปัญหามากช่วงที่บุกรัสเซีย และช่วงที่หนีกลับมาจากเกาะ Elba ก่อนสิ้นพระชนม์ไม่นาน เคยมีคนแอบเห็นว่าพระองค์ทรงพระบังคลเบาขณะยืนพิงต้นไม้ และแสดงสีพระพักตร์เจ็บปวด พร้อมกับปรารภกับพระองค์เองว่า “นี่เป็นจุดอ่อนของเรา มันจะฆ่าเราในที่สุด” (“This is my week spot-this will kill me in the end”)
เป็นอันว่าผู้อ่าน MBA ที่ส่วนใหญ่คงไม่ใช่หมอ น่าจะตกลงใจได้แล้วว่านโปเลียนสวรรคตด้วยสาเหตุอันใด
ฟื้นคืนพระชนม์ชีพและเป็นอมตะ
นโปเลียน ตายเยี่ยงผู้แพ้และไร้ความสำคัญได้ไม่นาน ก็กลับมามีชื่อเสียง ทั้งในฐานะกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แม่ทัพผู้เก่งกล้าสามารถ และนักปกครองอัจฉริยะ ตำนานของพระองค์ท่านถูกสร้างใหม่ และเล่าขานซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง กระทั่งปัจจุบัน
นั่นเป็นเพราะเหตุอันใด
หลังยุคนโปเลียน กษัตริย์ Louis XVIII แห่งราชวงศ์บรูบอง (Bourbons) ก็ถูกอัญเชิญจากมติของสัมพันธมิตรให้ขึ้นครองราชย์แทน ที่อังกฤษ Duke of Wellington ซึ่งสร้างชื่อเสียงเพราะปราบนโปเลียนลงได้ ก็ลงเล่นการเมือง จนได้เป็นนายกรัฐมนตรี
กษัตริย์องค์นั้น ไม่เป็นที่ชื่นชอบของราษฎร คนฝรั่งเศสจึงโหยหานโปเลียน แม้แต่ Victor Hugo นักเขียนอัจฉริยะ ที่เคยเกลียดนโปเลียนเข้าไส้ ก็ยังหันกลับมาเห็นใจ และแต่งบทกวีให้เป็นเกียรติ Ode de la Colonne หลังจากนั้น วงวรรณกรรมของฝรั่งเศสก็เอาอย่าง มีการจัดพิมพ์ประวัติและเอกสารที่เกี่ยวกับวีรกรรมของนโปเลียนขนานใหญ่
ต่อมากษัตริย์ Louis-Phillippe ได้ทำการปราบดาภิเษกเมื่อปี 2373 และเรียกตัวเองว่า “King of the French” เอาอย่างนโปเลียน หลังจากนั้นสามปี พระองค์ก็สั่งให้สร้างรูปปั้นนโปเลียนไว้ในปารีส (ที่ Place Vendome) ในประเทศอังกฤษ นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็สามารถโค่นล้มรัฐบาลของ Wellington ลงได้ นักการเมืองเหล่านั้นหลายคนล้วนเป็นพระสหายของนโปเลียน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษทำตามพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ฝังพระองค์ไว้บนฝั่งแม่น้ำแซน ในที่สุดรัฐบาลก็อนุมัติให้ขุดพระบรมศพ
Louise-Phillipe จึงส่งพระราชโอรสขึ้นเรือรบไปรับพระศพมาทำพระราชพิธีอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติที่ปารีส และให้บรรจุพระบรมศพไว้ที่ Hotel Invalides ซึ่งยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ใครที่เคยไปที่นั่น คงสังเกตเห็นว่า การตกแต่งภายในนั้นสวยงาม ยิ่งใหญ่ ขลัง ตระการตา ภายใต้โดมประดับทอง สลักคำที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “The greatest soldier who ever live”
หลังจากนั้น Louise-Napoleon หลานชายของจักรพรรดินโปเลียน ก็ทำการรัฐประหารและต่อมาก็ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ Napoleon III พระองค์ได้สั่งให้รื้อฟื้นวีรกรรมและความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิองค์ก่อน จัดพิมพ์จดหมายโต้ตอบหลายเล่มสมุด ออกนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนให้เงินสนับสนุนให้เขียนพระราชประวัติของพระปิตุลา
บัดนี้ ความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียน มีค่าเท่ากับความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสไปเสียแล้ว พระองค์กลายเป็นความภูมิใจของชาติฝรั่งเศส ยิ่งเมื่อฝรั่งเศสเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐอย่างสมบูรณ์ และอ่อนแอลง จนพ่ายแพ้เยอรมนีหลายครั้งหลายครา คนก็จะยิ่งโหยหานโปเลียน ไม่เพียงเท่านั้น ผู้นำทางการเมือง นักการทหาร และนักธุรกิจชั้นนำคนสำคัญของโลกหลายคน ก็ได้กล่าวยกย่องและเลียนแบบนโปเลียน ไม่ว่าจะเป็นประธานเหมา เจ๋อ ตง ฟิเดล คาสโตร จอน เอฟ เคนเนดี้ นายพลดักลาส แม็กอาเธอร์ หรือแม้กระทั่ง บิล เกต ผู้ยิ่งใหญ่แห่งไมโครซอฟท์
หลายสิบปีมานี้ ประธานาธิบดีฟรังซัว มิเตอรัน และประธานาธิบดีชาค ชิรัก ก็ได้ส่งเสริมหลายโครงการที่เป็นการโปรโมทนโปเลียน นัยว่าต้องการใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านอเมริกาแบบอ้อมๆ นั่นเอง
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
20 กุมภาพันธุ์ 2551
**คลิกอ่านบทความชุด Final Exit ที่น่าสนใจบางอันของผมได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
1. พระราชพินัยกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
2. ความประทับใจ ณ ลานประหาร ต่อกรณี Sir Walter Ralegh
3. ศรีปราชญ์ ยักษ์ใหญ่ที่ไม่มีตัวตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น