ชีวิตมนุษย์กับวงจรชีวิตของธุรกิจนั้น เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือดำเนินไปสู่ความสูญสลาย หรือ Entropy
แม้จะยิ่งใหญ่ มีชื่อเสียง เกียรติคุณสักเพียงใด ก็ต้องจากไปสักวันหนึ่ง
MBA เคยวิเคราะห์และรายงานถึงการจากไปขององค์กรธุรกิจมามากต่อมาก เราเลยอยากจะทยอยรายงานวาระสุดท้ายของผู้คนกันบ้าง โดยเฉพาะบุคคลสำคัญๆ ที่เรารู้จักกันดี เพราะความรู้เรื่องการจากไปของบุคคลสำคัญ น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่ยังอยู่ ให้ได้เกิดอนุสติ ถึงการครองชีวิตที่ยังเหลือ อีกทั้งยังสามารถสังเกตเห็นร่องรอยที่คนเหล่านั้น ต้องการทิ้งไว้ ให้คนรุ่นหลังพูดถึงพวกเขาว่าอย่างไร หรือในบางกรณี ก็อาจถึงขั้นหมายใจให้กระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ในเรื่องที่พวกเขาคาดหวังให้เกิด หรือไม่เกิดขึ้น หลังจากที่เขาจากไปด้วย (End-Game Strategies)
เราขอประเดิมด้วย โสกราตีส (Socrates) นักปรัชญากรีก สดมภ์หลักของปัญญาชนฝรั่ง ที่ตายด้วยยาพิษ เพราะถูกตัดสินประหารชีวิต เขาถูกหาว่าเป็นผู้ไร้ธรรม ทำให้เยาวชนเสียคน และละเลยเทวดา นัยว่า ถ้าเขายอมขออภัยหรือขอความกรุณาต่อศาล ก็คงไม่ต้องเสียชีวิต แต่เขาไม่ยอมขอ และไม่ยอมหนี ยอมตายด้วยความกล้า และอารมณ์อันสงบ
เปลโต้ (Plato) ลูกศิษย์คนสำคัญของโสกราตีส ได้บันทึกวาระสุดท้ายของโสกราตีสไว้ให้เราได้รับรู้ โดยผ่านบทสนทนาที่ชื่อ เฟโด (Phaedo) หนังสือเล่มเล็กๆ ที่ ส.ศิวรักษ์ ทำการถ่ายทอดเป็นสยามภาษาอย่างงดงาม และเราได้คัดลอกส่วนที่สุดมาให้อ่านดังนี้
..........................บัดนี้ ใกล้เวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว เพราะท่านเข้าไปอยู่ข้างในนานพอสมควร เมื่อท่านกลับออกมาหลังจากอาบน้ำแล้ว ท่านได้นั่งลงร่วมกับพวกเราอีก แต่ไม่ได้พูดอะไรกันมาก ไม่ช้า ผู้คุม ซึ่งเป็นบ่าวของผู้บัญชาการคุกทั้ง 11 ก็เข้ามายืนอยู่ข้างๆ ท่าน พูดว่า
โสกราตีส อย่างน้อยข้าพเจ้าก็รู้ว่า ท่านจะไม่วิวาทกับข้าพเจ้า ดังคนอื่นๆ ที่มักโกรธขึ้ง ด่าว่าข้าพเจ้า เวลาที่ข้าพเจ้าบอกให้เขาดื่มยาพิษตามคำสั่งของเจ้านาย ทั้งนี้ก็เพราะข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าในบรรดาผู้ที่เข้ามาอยู่ในที่นี้ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุด สุภาพที่สุด และกล้าที่สุด ในเวลาอย่างนี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าท่านย่อมไม่โกรธข้าพเจ้าอย่างคนอื่นๆ เพราะท่านย่อมรู้ดีว่าใครรับผิดชอบในเรื่องนี้ บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าวคำอำลาท่าน ขอท่านจงพยายามอดทนไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะท่านก็รู้อยู่แล้วว่าข้าพเจ้ามีหน้าที่อย่างไร ว่าแล้วผู้คุมนั้นก็ร้องไห้ หันหน้าหนี แลเดินออกไป
โสกราตีสหันไปยังเขาผู้นั้นแล้วพูดว่า ขอบใจมากสำหรับความปรารถนาดีของท่าน ข้าพเจ้าจะทำตามท่านสั่ง ว่าแล้วก็หันมาทางพวกเรา พลางกล่าวคำว่า ผู้คุมคนนี้สุภาพมาก จำเดิมแต่ข้าพเจ้าเข้าคุกมา เขาหมั่นมาดูข้าพเจ้าอยู่เสมอ และดีกับข้าพเจ้าเสมอ มาบัดนี้ก็ยังมาแสดงความเศร้าเสียใจอาลัยรักอีกเล่า เราต้องทำตามคำเขาไครโต ถ้าเตรียมยาพิษไว้แล้วก็ขอให้นำถ้วยเข้ามาเถิด ถ้ายังก็ขอให้เขาเตรียมยาพิษได้
ไครโตตอบว่า พระอาทิตย์ยังไม่ลับเหลี่ยมเขาเลย โสกราตีส ข้าพเจ้ารู้ดีว่าคนส่วนมากดื่มยาพิษล่า เมื่อได้รับคำเตือน ก็มักจะกินดื่มอย่างฟุ่มเฟือยถึงกับบางทีเสพกามมากด้วย ไม่มีใครเร่งร้อนกันเลย นี่ก็ยังมีเวลาอีกมาก
โสกราตีสกล่าวว่า ไครโต บุคคลที่ท่านว่า ทำเช่นนั้นก็ควรแล้ว เพราะเขาคิดว่าประวิงเวลาไว้ได้กำไร แต่ข้าพเจ้าไม่ควรทำตามอย่างเขา เพราะข้าพเจ้าไม่คิดว่าจะได้กำไรอะไรขึ้นมา ถ้าจะยืดเวลาดื่มยาพิษออกไป การกระทำเช่นนั้น ก็เท่ากับทำตนให้เป็นที่น่าเย้ยหยัน ต่อหน้าต่อตาตนเองเท่านั้น เพราะจะมีประโยชน์อะไรกับการหวงแหนชีวิตไว้ ในขณะที่ได้สละไปแล้ว ฉะนั้น ขอท่านได้โปรดทำตามคำของข้าพเจ้าเถิด อย่าปฏิเสธคำขอร้องของข้าพเจ้าเลย
ไครโตได้ฟังดังนั้น จึงหันไปให้อาณัติสัญญาณกับบ่าว ซึ่งยืนอยู่ใกล้ๆ บ่าวออกไปข้างนอกครู่หนึ่งก็กลับเข้ามากับผู้ซึ่งทำหน้าที่ผสมยาพิษ ถือถ้วยเข้ามาด้วย เมื่อโสกราตีสแลเห็น จึงพูดว่า นาย ท่านเป็นผู้ชำนาญในทางนี้ ท่านจะให้ข้าพเจ้าทำอย่างไร บุคคลผู้นั้นตอบว่า ท่านพียงแต่ต้องดื่มยาพิษและเดินจนยกขาไม่ไหว แล้วก็ไปนอน ตอนนี้ยาจะสำแดงเดชเอง ว่าพลางเขาผู้นั้นก็ยื่นถ้วยให้โสกราตีส ผู้ซึ่งรับเอามาอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่แสดงอาการสะทกสะท้าน เปลี่ยนสีหน้าแต่อย่างใด เป็นแต่เบิ่งตาจ้องหน้านายคนนั้น อันเป็นอากัปกิริยาของท่าน และพูดว่า ถ้าข้าพเจ้าจะหลั่งยาพิษลงถวายเทพบ้าง จะได้ไหม บุคคลผู้นั้นตอบว่า โสกราตีส เราเตรียมยามาแต่เท่าที่เห็นว่าพอแก่การ
โสกราตีสจึงว่า ข้าพเจ้าเข้าใจละ แต่ข้าพเจ้าก็ต้องขอให้เทพอวยชัยให้แก่ข้าพเจ้าในการเดินทางจากนี้ไปสู่ปรโลก นี้แหละคือคำสวดของข้าพเจ้า ขอให้เป็นไปตามคำสวดนี้เถิด ว่าแล้วโสกราตีสก็ยกถ้วยขึ้นจรดริมฝีปาก ดื่มยาพิษลงไปอย่างเต็มใจและอย่างเบิกบาน
เท่าที่แล้วมา เพราะเราระงับโสกปริเทวะไว้ได้ แต่พอมาถึงตอนนี้ มาได้เห็นท่านดื่มยาพิษจนหมดถ้วย เราทนกันต่อไปอีกไม่ได้แล้ว ทั้งๆ ที่จะฝืนใจไว้อย่างไรก็ตาม น้ำตาก็ไหลหลั่งลงมาจากตาของข้าพเจ้าจนได้ ข้าพเจ้าจึงเอามือปิดหน้า ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ใช่ร้องเพื่อโสกราตีส หากร้องเพื่อตนเองที่ต้องสูญมิตรเช่นนี้ไป แต่ข้าพเจ้าก็มิได้เป็นคนแรกที่ทำเช่นนั้น ไครโตเอง เมื่อห้ามน้ำตาไว้ไม่อยู่ ก็ลุกขึ้น และข้าพเจ้าทำตาม ในเวลาเดียวกันนั้นอโพลโลโดรัส ซึ่งร้องไห้อยู่ตลอดเวลา ก็รำพันขึ้นมาด้วยเสียงอันดัง เป็นเหตุให้พวกเราทั้งหมดคุมสติไว้ไม่อยู่ เว้นแต่โสกราตีสคนเดียว
โสกราตีสเห็นดังนั้นจึงว่า นี่อะไรกันนี่ ท่านทำการดังหนึ่งเป็นคนแปลกหน้า ที่ข้าพเจ้าส่งพวกผู้หญิงกลับเรือน ก็เพราะไม่ประสงค์จะให้มาประพฤติเช่นนี้ ด้วยข้าพเจ้าได้รับคำสั่งสอนมาว่า คนเราควรจะตายในดุษณีภาพ ขอท่านจงได้โปรดสงบใจลงเถิด อดทนเอาไว้
เมื่อเราได้ฟังเช่นนั้น ก็พากันรู้สึกละอายใจและเช็ดน้ำตาเสีย ท่านเองเดินไปมาจนกระทั่งถึงเวลาที่ท่านว่าขาท่านเริ่มไม่ทำงานแล้ว ท่านจึงไปเอนหลัง ตามคำสั่ง คนที่ให้ยาพิษท่านดื่มมองดูอยู่ที่ขาและที่เท้าของท่านบ่อยๆ และแล้วก็บีบเท่าท่านอย่างหนัก และถามท่านว่ารู้สึกไหม ท่านว่าไม่รู้สึก เขาจึงบีบขาไล่เรื่อยขึ้นมา แสดงให้เห็นร่างกายส่วนนั้นแข็งและเย็นชืด แล้วก็บีบต่อไปและพูดขึ้นว่า เมื่อยาพิษแล่นถึงหัวใจ ก็จะถึงที่สุดเพียงนั้น
ร่างกายโสกราตีสเริ่มเย็นมาถึงบั้นเอว จนถึงกับท่านต้องเอาผ้าห่มคลุม และพูดเป็นปัจฉิมวาทะว่า “ไครโต เราควรเอาไก่ไปเซ่นแอสเคลปิอัส* ตัวหนึ่ง ท่านทำแทนข้าพเจ้าหน่อยได้ไหม” ไครโตตอบว่า ข้าพเจ้าจะทำตามนั้น และถามว่ามีอะไรอีกไหม แต่ก็ไม่มีคำตอบ หลังจากนั้นอีกไม่กี่นาที โสกราตีสขยับเขยื้อนกายอีกครั้ง แต่พอผู้คุมมาเลิกผ้าดู ตาก็ค้างเสียแล้ว ไครโตจึงปิดตาและปิดปากให้
นี่แล เอเคกราตีส คือที่สุดแห่งมิตรของเรา อันข้าพเจ้าอาจกล่าวได้จากใจจริงว่า ในบรรดาคนทั้งหมดที่ร่วมยุคร่วมสมัยที่ข้าพเจ้ารู้จักมานั้น ท่านผู้นี้เป็นคนฉลาดที่สุด และยุติธรรมที่สุด และดีที่สุด
*แอสเคลปิอัส คือเทพแห่งการรักษาพยาบาล โสกราตีสสั่งเช่นนั้นเป็นท่วงทำนองว่าตนฟื้นแล้วจากชีวิตนี้ จะเข้าสู่ชีวิตอันนิรันคร
(คัดลอกจาก “โสกราตีส” เปลโต้แต่ง ส.ศิวรักษ์ แปล โดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พ.ศ. 2507)
หมายเหตุ: สมัยก่อนยังไม่มีการชันสูตรพลิกศพ หรือ Autopsy จึงไม่มีรายงานทางการแพทย์ปรากฏอยู่ แต่แพทย์สมัยหลังลงความเห็นว่ายาพิษที่โสกราตีสดื่มนั้นน่าจะเป็น “น้ำเฮมล็อก” (Hemlock) ซึ่งสกัดจากพืชชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ตัดระบบประสาททั้งระบบ ทำให้ถึงแก่ความตายเพราะหัวใจวาย
อนึ่ง การตายแบบโสกราตีสนี้ เปรียบไปก็เหมือนกับการสวรรคตของพระเยซูเจ้า ที่เกิดหลังจากนั้นอีกหลายร้อยปี คือเป็นการตายที่เป็นตำนาน ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจ และกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังทำให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ถึงเรื่องราวแต่หนหลังของคนผู้นั้น จนเป็นที่มาของขบวนการสาวกที่เห็นอกเห็นใจ และสามารถแยกแยะถูกผิด ดำขาว อันเนื่องมาแต่ Message ที่การตายแบบนั้นส่งต่อมาเป็นทอดๆ ว่ามันเป็นการตายเพื่อดำรงความเชื่อในความดีของตัว เป็นการตายเพราะต่อสู้กับความอยุติธรรมทั้งปวง และเป็นการตายเพราะได้ทำการต่อสู้เพื่อปกป้องความจริงหรือสัจจะ จากความเท็จและอาสัตย์ทั้งมวล
หากโสกราตีสยอมอ่อนข้อให้กับความกลัว ด้วยการร้องขอต่อศาลหรือทำตามคำของพรรคพวก ที่ขอให้หนีไปเสีย จะด้วยการติดสินบนผู้คุม หรือโดยวิธีใดก็ตาม เขาก็จะได้ชื่อว่า เป็นคนดีแต่พูด หาได้ยึดถือหรือเชื่อตามที่ตัวเองพูดไว้ไม่ และโอกาสที่คำสอนหรือปฏิปทาของเขาจะได้รับการยอมรับและกล่าวขวัญถึง ก็คงมิได้เป็น ดังที่เป็นอยู่
บทความนี้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับมกราคม 2551
***โปรดคลิกอ่านบทความชุด Final Exit บางส่วนได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
****วาระสุดท้ายของนโปเลียน
และ ***ศรีปราชญ์ ยักษ์ใหญ่ที่ไม่มีตัวตน
แม้จะยิ่งใหญ่ มีชื่อเสียง เกียรติคุณสักเพียงใด ก็ต้องจากไปสักวันหนึ่ง
MBA เคยวิเคราะห์และรายงานถึงการจากไปขององค์กรธุรกิจมามากต่อมาก เราเลยอยากจะทยอยรายงานวาระสุดท้ายของผู้คนกันบ้าง โดยเฉพาะบุคคลสำคัญๆ ที่เรารู้จักกันดี เพราะความรู้เรื่องการจากไปของบุคคลสำคัญ น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่ยังอยู่ ให้ได้เกิดอนุสติ ถึงการครองชีวิตที่ยังเหลือ อีกทั้งยังสามารถสังเกตเห็นร่องรอยที่คนเหล่านั้น ต้องการทิ้งไว้ ให้คนรุ่นหลังพูดถึงพวกเขาว่าอย่างไร หรือในบางกรณี ก็อาจถึงขั้นหมายใจให้กระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ในเรื่องที่พวกเขาคาดหวังให้เกิด หรือไม่เกิดขึ้น หลังจากที่เขาจากไปด้วย (End-Game Strategies)
เราขอประเดิมด้วย โสกราตีส (Socrates) นักปรัชญากรีก สดมภ์หลักของปัญญาชนฝรั่ง ที่ตายด้วยยาพิษ เพราะถูกตัดสินประหารชีวิต เขาถูกหาว่าเป็นผู้ไร้ธรรม ทำให้เยาวชนเสียคน และละเลยเทวดา นัยว่า ถ้าเขายอมขออภัยหรือขอความกรุณาต่อศาล ก็คงไม่ต้องเสียชีวิต แต่เขาไม่ยอมขอ และไม่ยอมหนี ยอมตายด้วยความกล้า และอารมณ์อันสงบ
เปลโต้ (Plato) ลูกศิษย์คนสำคัญของโสกราตีส ได้บันทึกวาระสุดท้ายของโสกราตีสไว้ให้เราได้รับรู้ โดยผ่านบทสนทนาที่ชื่อ เฟโด (Phaedo) หนังสือเล่มเล็กๆ ที่ ส.ศิวรักษ์ ทำการถ่ายทอดเป็นสยามภาษาอย่างงดงาม และเราได้คัดลอกส่วนที่สุดมาให้อ่านดังนี้
..........................บัดนี้ ใกล้เวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว เพราะท่านเข้าไปอยู่ข้างในนานพอสมควร เมื่อท่านกลับออกมาหลังจากอาบน้ำแล้ว ท่านได้นั่งลงร่วมกับพวกเราอีก แต่ไม่ได้พูดอะไรกันมาก ไม่ช้า ผู้คุม ซึ่งเป็นบ่าวของผู้บัญชาการคุกทั้ง 11 ก็เข้ามายืนอยู่ข้างๆ ท่าน พูดว่า
โสกราตีส อย่างน้อยข้าพเจ้าก็รู้ว่า ท่านจะไม่วิวาทกับข้าพเจ้า ดังคนอื่นๆ ที่มักโกรธขึ้ง ด่าว่าข้าพเจ้า เวลาที่ข้าพเจ้าบอกให้เขาดื่มยาพิษตามคำสั่งของเจ้านาย ทั้งนี้ก็เพราะข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าในบรรดาผู้ที่เข้ามาอยู่ในที่นี้ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุด สุภาพที่สุด และกล้าที่สุด ในเวลาอย่างนี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าท่านย่อมไม่โกรธข้าพเจ้าอย่างคนอื่นๆ เพราะท่านย่อมรู้ดีว่าใครรับผิดชอบในเรื่องนี้ บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าวคำอำลาท่าน ขอท่านจงพยายามอดทนไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะท่านก็รู้อยู่แล้วว่าข้าพเจ้ามีหน้าที่อย่างไร ว่าแล้วผู้คุมนั้นก็ร้องไห้ หันหน้าหนี แลเดินออกไป
โสกราตีสหันไปยังเขาผู้นั้นแล้วพูดว่า ขอบใจมากสำหรับความปรารถนาดีของท่าน ข้าพเจ้าจะทำตามท่านสั่ง ว่าแล้วก็หันมาทางพวกเรา พลางกล่าวคำว่า ผู้คุมคนนี้สุภาพมาก จำเดิมแต่ข้าพเจ้าเข้าคุกมา เขาหมั่นมาดูข้าพเจ้าอยู่เสมอ และดีกับข้าพเจ้าเสมอ มาบัดนี้ก็ยังมาแสดงความเศร้าเสียใจอาลัยรักอีกเล่า เราต้องทำตามคำเขาไครโต ถ้าเตรียมยาพิษไว้แล้วก็ขอให้นำถ้วยเข้ามาเถิด ถ้ายังก็ขอให้เขาเตรียมยาพิษได้
ไครโตตอบว่า พระอาทิตย์ยังไม่ลับเหลี่ยมเขาเลย โสกราตีส ข้าพเจ้ารู้ดีว่าคนส่วนมากดื่มยาพิษล่า เมื่อได้รับคำเตือน ก็มักจะกินดื่มอย่างฟุ่มเฟือยถึงกับบางทีเสพกามมากด้วย ไม่มีใครเร่งร้อนกันเลย นี่ก็ยังมีเวลาอีกมาก
โสกราตีสกล่าวว่า ไครโต บุคคลที่ท่านว่า ทำเช่นนั้นก็ควรแล้ว เพราะเขาคิดว่าประวิงเวลาไว้ได้กำไร แต่ข้าพเจ้าไม่ควรทำตามอย่างเขา เพราะข้าพเจ้าไม่คิดว่าจะได้กำไรอะไรขึ้นมา ถ้าจะยืดเวลาดื่มยาพิษออกไป การกระทำเช่นนั้น ก็เท่ากับทำตนให้เป็นที่น่าเย้ยหยัน ต่อหน้าต่อตาตนเองเท่านั้น เพราะจะมีประโยชน์อะไรกับการหวงแหนชีวิตไว้ ในขณะที่ได้สละไปแล้ว ฉะนั้น ขอท่านได้โปรดทำตามคำของข้าพเจ้าเถิด อย่าปฏิเสธคำขอร้องของข้าพเจ้าเลย
ไครโตได้ฟังดังนั้น จึงหันไปให้อาณัติสัญญาณกับบ่าว ซึ่งยืนอยู่ใกล้ๆ บ่าวออกไปข้างนอกครู่หนึ่งก็กลับเข้ามากับผู้ซึ่งทำหน้าที่ผสมยาพิษ ถือถ้วยเข้ามาด้วย เมื่อโสกราตีสแลเห็น จึงพูดว่า นาย ท่านเป็นผู้ชำนาญในทางนี้ ท่านจะให้ข้าพเจ้าทำอย่างไร บุคคลผู้นั้นตอบว่า ท่านพียงแต่ต้องดื่มยาพิษและเดินจนยกขาไม่ไหว แล้วก็ไปนอน ตอนนี้ยาจะสำแดงเดชเอง ว่าพลางเขาผู้นั้นก็ยื่นถ้วยให้โสกราตีส ผู้ซึ่งรับเอามาอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่แสดงอาการสะทกสะท้าน เปลี่ยนสีหน้าแต่อย่างใด เป็นแต่เบิ่งตาจ้องหน้านายคนนั้น อันเป็นอากัปกิริยาของท่าน และพูดว่า ถ้าข้าพเจ้าจะหลั่งยาพิษลงถวายเทพบ้าง จะได้ไหม บุคคลผู้นั้นตอบว่า โสกราตีส เราเตรียมยามาแต่เท่าที่เห็นว่าพอแก่การ
โสกราตีสจึงว่า ข้าพเจ้าเข้าใจละ แต่ข้าพเจ้าก็ต้องขอให้เทพอวยชัยให้แก่ข้าพเจ้าในการเดินทางจากนี้ไปสู่ปรโลก นี้แหละคือคำสวดของข้าพเจ้า ขอให้เป็นไปตามคำสวดนี้เถิด ว่าแล้วโสกราตีสก็ยกถ้วยขึ้นจรดริมฝีปาก ดื่มยาพิษลงไปอย่างเต็มใจและอย่างเบิกบาน
เท่าที่แล้วมา เพราะเราระงับโสกปริเทวะไว้ได้ แต่พอมาถึงตอนนี้ มาได้เห็นท่านดื่มยาพิษจนหมดถ้วย เราทนกันต่อไปอีกไม่ได้แล้ว ทั้งๆ ที่จะฝืนใจไว้อย่างไรก็ตาม น้ำตาก็ไหลหลั่งลงมาจากตาของข้าพเจ้าจนได้ ข้าพเจ้าจึงเอามือปิดหน้า ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ใช่ร้องเพื่อโสกราตีส หากร้องเพื่อตนเองที่ต้องสูญมิตรเช่นนี้ไป แต่ข้าพเจ้าก็มิได้เป็นคนแรกที่ทำเช่นนั้น ไครโตเอง เมื่อห้ามน้ำตาไว้ไม่อยู่ ก็ลุกขึ้น และข้าพเจ้าทำตาม ในเวลาเดียวกันนั้นอโพลโลโดรัส ซึ่งร้องไห้อยู่ตลอดเวลา ก็รำพันขึ้นมาด้วยเสียงอันดัง เป็นเหตุให้พวกเราทั้งหมดคุมสติไว้ไม่อยู่ เว้นแต่โสกราตีสคนเดียว
โสกราตีสเห็นดังนั้นจึงว่า นี่อะไรกันนี่ ท่านทำการดังหนึ่งเป็นคนแปลกหน้า ที่ข้าพเจ้าส่งพวกผู้หญิงกลับเรือน ก็เพราะไม่ประสงค์จะให้มาประพฤติเช่นนี้ ด้วยข้าพเจ้าได้รับคำสั่งสอนมาว่า คนเราควรจะตายในดุษณีภาพ ขอท่านจงได้โปรดสงบใจลงเถิด อดทนเอาไว้
เมื่อเราได้ฟังเช่นนั้น ก็พากันรู้สึกละอายใจและเช็ดน้ำตาเสีย ท่านเองเดินไปมาจนกระทั่งถึงเวลาที่ท่านว่าขาท่านเริ่มไม่ทำงานแล้ว ท่านจึงไปเอนหลัง ตามคำสั่ง คนที่ให้ยาพิษท่านดื่มมองดูอยู่ที่ขาและที่เท้าของท่านบ่อยๆ และแล้วก็บีบเท่าท่านอย่างหนัก และถามท่านว่ารู้สึกไหม ท่านว่าไม่รู้สึก เขาจึงบีบขาไล่เรื่อยขึ้นมา แสดงให้เห็นร่างกายส่วนนั้นแข็งและเย็นชืด แล้วก็บีบต่อไปและพูดขึ้นว่า เมื่อยาพิษแล่นถึงหัวใจ ก็จะถึงที่สุดเพียงนั้น
ร่างกายโสกราตีสเริ่มเย็นมาถึงบั้นเอว จนถึงกับท่านต้องเอาผ้าห่มคลุม และพูดเป็นปัจฉิมวาทะว่า “ไครโต เราควรเอาไก่ไปเซ่นแอสเคลปิอัส* ตัวหนึ่ง ท่านทำแทนข้าพเจ้าหน่อยได้ไหม” ไครโตตอบว่า ข้าพเจ้าจะทำตามนั้น และถามว่ามีอะไรอีกไหม แต่ก็ไม่มีคำตอบ หลังจากนั้นอีกไม่กี่นาที โสกราตีสขยับเขยื้อนกายอีกครั้ง แต่พอผู้คุมมาเลิกผ้าดู ตาก็ค้างเสียแล้ว ไครโตจึงปิดตาและปิดปากให้
นี่แล เอเคกราตีส คือที่สุดแห่งมิตรของเรา อันข้าพเจ้าอาจกล่าวได้จากใจจริงว่า ในบรรดาคนทั้งหมดที่ร่วมยุคร่วมสมัยที่ข้าพเจ้ารู้จักมานั้น ท่านผู้นี้เป็นคนฉลาดที่สุด และยุติธรรมที่สุด และดีที่สุด
*แอสเคลปิอัส คือเทพแห่งการรักษาพยาบาล โสกราตีสสั่งเช่นนั้นเป็นท่วงทำนองว่าตนฟื้นแล้วจากชีวิตนี้ จะเข้าสู่ชีวิตอันนิรันคร
(คัดลอกจาก “โสกราตีส” เปลโต้แต่ง ส.ศิวรักษ์ แปล โดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พ.ศ. 2507)
หมายเหตุ: สมัยก่อนยังไม่มีการชันสูตรพลิกศพ หรือ Autopsy จึงไม่มีรายงานทางการแพทย์ปรากฏอยู่ แต่แพทย์สมัยหลังลงความเห็นว่ายาพิษที่โสกราตีสดื่มนั้นน่าจะเป็น “น้ำเฮมล็อก” (Hemlock) ซึ่งสกัดจากพืชชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ตัดระบบประสาททั้งระบบ ทำให้ถึงแก่ความตายเพราะหัวใจวาย
อนึ่ง การตายแบบโสกราตีสนี้ เปรียบไปก็เหมือนกับการสวรรคตของพระเยซูเจ้า ที่เกิดหลังจากนั้นอีกหลายร้อยปี คือเป็นการตายที่เป็นตำนาน ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจ และกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังทำให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ถึงเรื่องราวแต่หนหลังของคนผู้นั้น จนเป็นที่มาของขบวนการสาวกที่เห็นอกเห็นใจ และสามารถแยกแยะถูกผิด ดำขาว อันเนื่องมาแต่ Message ที่การตายแบบนั้นส่งต่อมาเป็นทอดๆ ว่ามันเป็นการตายเพื่อดำรงความเชื่อในความดีของตัว เป็นการตายเพราะต่อสู้กับความอยุติธรรมทั้งปวง และเป็นการตายเพราะได้ทำการต่อสู้เพื่อปกป้องความจริงหรือสัจจะ จากความเท็จและอาสัตย์ทั้งมวล
หากโสกราตีสยอมอ่อนข้อให้กับความกลัว ด้วยการร้องขอต่อศาลหรือทำตามคำของพรรคพวก ที่ขอให้หนีไปเสีย จะด้วยการติดสินบนผู้คุม หรือโดยวิธีใดก็ตาม เขาก็จะได้ชื่อว่า เป็นคนดีแต่พูด หาได้ยึดถือหรือเชื่อตามที่ตัวเองพูดไว้ไม่ และโอกาสที่คำสอนหรือปฏิปทาของเขาจะได้รับการยอมรับและกล่าวขวัญถึง ก็คงมิได้เป็น ดังที่เป็นอยู่
บทความนี้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับมกราคม 2551
***โปรดคลิกอ่านบทความชุด Final Exit บางส่วนได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
****วาระสุดท้ายของนโปเลียน
และ ***ศรีปราชญ์ ยักษ์ใหญ่ที่ไม่มีตัวตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น